ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สธ.-จุฬาฯ ลงนาม MOU วิชาการ Digital Health - วิจัยนวัตกรรม

สธ.-จุฬาฯ ลงนาม MOU วิชาการ Digital Health - วิจัยนวัตกรรม HealthServ.net
สธ.-จุฬาฯ ลงนาม MOU วิชาการ Digital Health - วิจัยนวัตกรรม ThumbMobile HealthServ.net

กระทรวงสาธารณสุข จับมือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำความร่วมมือด้านวิชาการ ออกแบบการเรียนการสอน/อบรมระยะสั้นเรื่อง Digital Health และวิชาการต่างๆ พัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถดูแลสุขภาพประชาชนในยุคดิจิทัล ทั้งด้านรักษา ป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 
 
        
 
          8 กุมภาพันธ์ 2567 ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ศรศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และสร้างบุคลากรทางการแพทย์รองรับการดูแลสุขภาพของประชาชน
 
สธ.-จุฬาฯ ลงนาม MOU วิชาการ Digital Health - วิจัยนวัตกรรม HealthServ
 

         นพ.ชลน่านกล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพประชาชน ตามนโยบายยกระดับ 30 บาทของรัฐบาล ที่มุ่งเน้นให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดประเด็นดิจิทัลสุขภาพ (Digital Health) เป็นหนึ่งในนโยบายการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุข ปี 2567 โดยเฉพาะการพัฒนาให้โรงพยาบาลในสังกัดเป็นโรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Hospital) และการเดินหน้า 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว ที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพของทุกหน่วยบริการเป็นข้อมูลสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้เกิดความสะดวกทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ พร้อมกันนี้ ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องของการพัฒนาศักยภาพและขวัญกำลังใจของบุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขด้วย ซึ่งนับเป็นเรื่องน่ายินดีที่สถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศเช่นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีความร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขในการพัฒนางานส่วนนี้
 
 
          ด้าน นพ.โอภาสกล่าวว่า ตามบันทึกข้อตกลงครั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะร่วมกันพัฒนาและออกแบบบทเรียนหรือสื่อการสอน การจัดโปรแกรมระยะสั้น เปิดรายวิชาและการจัดการเรียนการสอนในหัวข้อ Digital Health รวมถึงการทำวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง มีการนำเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและแนวคิดด้านการบริหารจัดการอย่างเป็นองค์รวม มาสร้างบุคลากรทางการแพทย์รองรับการดูแลด้านสุขภาพของประชาชน ทั้งด้านการรักษา การป้องกันและการส่งเสริมสุขภาพ ถือเป็นการนำความเข้มแข็งของทั้งสององค์กรมาช่วยในการพัฒนาการเรียนการสอนและบริการวิชาการ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการพัฒนาสุขภาพของประชาชน โดยจะมีความร่วมมือกันเป็นระยะเวลา 5 ปี

 
 
          ทั้งนี้ ในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ยังให้ความสำคัญกับเรื่องการรักษาความลับของข้อมูลทั้งสองฝ่าย ขณะที่การบริหารจัดการในทรัพย์สินทางปัญญาและการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ได้จากการดำเนินงานร่วมกันภายใต้บันทึกข้อตกลงนี้ จะถือเป็นสิทธิร่วมกัน
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด