ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพ รวมโปรแกรมสุขภาพ บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิดบริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event Health Economy ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร และ มูลนิธิโรงพยาบาลพระจอมเกล้าฯ

โรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร และ มูลนิธิโรงพยาบาลพระจอมเกล้าฯ Thumb HealthServ.net
โรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร และ มูลนิธิโรงพยาบาลพระจอมเกล้าฯ ThumbMobile HealthServ.net

โรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร และ มูลนิธิโรงพยาบาลพระจอมเกล้าฯ

มูลนิธิโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร 


เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2563 ได้มีการจัดตั้งมูลนิธิโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงรับมูลนิธิโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารไว้ในพระสังฆราชูปถัมภ์ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
              1.1 จัดสร้างโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร
              1.2 ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา การค้นคว้าวิจัย และการดำเนินการกิจการพิเศษที่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)
              1.3 ให้ทุนการศึกษา ฝึกอบรม วิจัย ของคณาจารย์ นักศึกษา ข้าราชการ และพนักงาน สจล.
              1.4 สนับสนุนการพัฒนาของโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร
              1.5 ดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์หรือร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่นๆ เพื่อสาธารณประโยชน์ มูลนิธิอาจจะบริจาคเงินและทรัพย์สินให้กับมูลนิธิอื่นได้หรือรับบริจาคจากมูลนิธิอื่นด้วย
              1.6 ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด

 

โรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร โรงพยาบาลแห่งอนาคต


              การจัดสร้างโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารมีเป้าหมายในการพัฒนาไปสู่การเป็นโรงพยาบาลแห่งอนาคต (Future Hospital) ซึ่งเป็นแนวคิดของโรงพยาบาลที่ผู้ป่วยจำนวนมากไม่จำเป็นต้องนอนที่โรงพยาบาลและสามารถพักรักษาตัวที่บ้านได้ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เนื่องจากโรงพยาบาลแห่งอนาคตจะมีห้องที่แพทย์และผู้เชี่ยวชาญสามารถใช้สำหรับการพูดคุยกับผู้ป่วยผ่านสมาร์ทโฟน ส่งผลให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคในระดับสาธารณสุขมูลฐาน (Primary Healthcare) ไม่จำเป็นต้องมาพบหมอผู้เชี่ยวชาญที่ให้บริการสาธารณสุขระดับสูง (Tertiary Healthcare) ซึ่งการรักษาพยาบาลจะมีต้นทุนสูงและหากเป็นผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลพิเศษจะยิ่งมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ โรงพยาบาลจะมีเครื่องตรวจร่างกายที่ทันสมัย มีห้องตรวจสำหรับติดตามอาการหลังผ่าตัดระยะสั้นและห้องฉุกเฉินเท่านั้น และข้อมูลทั้งหมดของคนไข้จะถูกวิเคราะห์โดยซอฟต์แวร์โปรแกรมที่ทันสมัย เช่น การอ่านฟิล์มจากเครื่องตรวจได้อย่างแม่นยำแทนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำแนะนำ เพื่อเป็นข้อมูลให้แพทย์สามารถตัดสินใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งนี้ การเปลี่ยนโฉมนวัตกรรมทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วย ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ให้บริการด้านสุขภาพจะก่อให้เกิดเครือข่ายการแพทย์ระบบดิจิทัล (Digital Healthcare) ที่ครอบคลุมและเชื่อมต่อระบบการปฏิบัติงานทางการแพทย์ทุกแขนงด้วยดิจิทัลหรือคอมพิวเตอร์ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการ เช่น               การบริหารจัดการผู้ป่วย การจัดทำข้อมูลประวัติการรักษาผู้ป่วยในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การจัดการด้านเวชภัณฑ์ การวินิจฉัยโรค โดยนำนวัตกรรมการบริการด้านสุขภาพมาใช้ในการให้บริการทางการแพทย์ในอนาคต (Innovative Hospital) ได้แก่ การแพทย์แม่นยำ (Precision Medicine) การแพทย์ทางไกล (Telemedicine) และการแพทย์แห่งอนาคต (Future Medicine) มาใช้ในกระบวนการจัดการซึ่งจะเป็นรากฐานสำหรับระบบการแพทย์ที่มีคนไข้เป็นจุดศูนย์กลาง
                     3. ผลการดำเนินการที่ผ่านมา
                               3.1 โรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารได้รับงบประมาณสนับสนุนจากโครงการสลากการกุศลเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 665.10 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร (อาคารหลังใหม่) จำนวน 1 หลัง พื้นที่ 29,834.60 ตารางเมตร แบ่งออกเป็น 5 ชั้น ประกอบด้วย
                               ชั้นใต้ดิน ได้แก่ ส่วนบริการและสนับสนุน
                               ชั้นที่ 1 ได้แก่ ส่วนบริการ OPD ส่วนวินิจฉัยและบำบัดรักษา ส่วนอเนกประสงค์และบริการกลาง (Service core)4
                               ชั้นที่ 2 ได้แก่ ส่วนพิเคราะห์และบำบัดโรค ส่วนอเนกประสงค์และบริการกลาง (Service core)
                               ชั้นที่ 3 ได้แก่ ส่วนวิจัยและทดสอบ และส่วนหอ IPD
                               ชั้นที่ 4 ได้แก่ ส่วนหอ IPD
                               ชั้นที่ 5 ได้แก่ ส่วนหอ IPD
ทั้งนี้ ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2565 โดยส่งมอบงวดงานแล้ว 11 งวดงาน จากทั้งหมด 15 งวดงาน และคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จและพร้อมเปิดให้บริการผู้ป่วยภายในเดือนสิงหาคม 2567
                               3.2 โรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารเปิดให้บริการผู้ป่วยนอก
(Out-Patient Department: OPD) ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2563 โดยใช้อาคารของ สจล. (อาคารหลังเดิม) เป็นที่ทำการสำหรับให้บริการในส่วนต่าง ๆ ได้แก่ คลินิกทั่วไป ศูนย์กายภาพบำบัดและฝังเข็ม แผนกรังสีวิทยา ศูนย์การนอนหลับ ศูนย์ส่องกล้องทางเดินอาหาร ศูนย์ตรวจสมรรถภาพหัวใจ คลินิกกุมารเวชและโรคภูมิแพ้ และคลินิกให้คำปรึกษา/จิตเวช ทั้งนี้ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563-2566 มีผู้เข้ารับบริการ สรุปได้ ดังนี้
ผู้มารับบริการ จำนวนผู้มารับบริการด้านสุขภาพในแต่ละปีงบประมาณ (คน/ปี)
พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2564 พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2566
ผู้ป่วย OPD 16,733 14,982 37,776 38,280นอกจากนี้ ยังมีศูนย์วิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ ประกอบด้วย งานวิจัยและนวัตกรรมและงานทดสอบมาตรฐานเครื่องมือแพทย์ โดยใช้เป็นศูนย์สำหรับการเรียนการสอนในพื้นที่ห้องปฏิบัติการ การบริการวิชาการร่วมกันของคณะแพทยศาสตร์และคณะต่าง ๆ รวมถึงการค้นคว้าวิจัย โดยเป็นการบูรณาการภารกิจตามนโยบายการใช้ทรัพยากรร่วมกันของ สจล. ซึ่งที่ผ่านมามีการวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมที่มีความสำคัญในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เช่น ตู้ตรวจเชื้อชนิดความดันลบและชนิดความดันบวก หุ่นยนต์ฆ่าเชื้อด้วยแสง UVC5 เครื่องสแกนอุณหภูมิด้วยระบบสแกนใบหน้าและปัญญาประดิษฐ์
                               3.3 ปัจจุบันโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารมีอัตรากำลังบุคลากรรวมทั้งสิ้น                     49 อัตรา แบ่งเป็น ฝ่ายบริหาร 10 อัตรา ฝ่ายบริการทางการแพทย์ 18 อัตรา บุคลากรแพทย์ 20 อัตรา (สังกัดคณะแพทยศาสตร์ สจล.) และฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม 1 อัตรา
                     4. การก่อตั้งโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารจะทำให้เกิดการกระจายระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยไปยังพื้นที่ห่างไกล ลดการกระจุกตัวของผู้ป่วยในเขตเมือง และให้บริการที่มีคุณภาพด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ รวมทั้งจะช่วยในการผลิตแพทย์ การฝึกอบรมแพทย์ การกระจายตัวของแพทย์ และการรองรับการส่งต่อผู้ป่วยในพื้นที่กรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก ดังนั้น เพื่อเป็นการรองรับการดำเนินงานและเตรียมความพร้อมในการเปิดบริการโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร (อาคารหลังใหม่) ในเดือนสิงหาคม 2567 โรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารจึงได้จัดทำแผนอัตรากำลังฯ ประกอบด้วย ฝ่ายบริหาร ฝ่ายบริการทางแพทย์และฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม เพื่อมุ่งสู่การเป็นโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิขนาด 60 เตียง ซึ่งสภา สจล. มีมติเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2567 เห็นชอบแผนอัตรากำลังฯ ฉบับปรับปรุง เดือนมีนาคม 2567 ด้วยแล้ว สรุปได้ ดังนี้
                               4.1 วัตถุประสงค์
                                         (1) เป็นโรงพยาบาลสำหรับดูแลรักษาผู้ป่วย นักศึกษา บุคลากรและประชาชนทั่วไปในขั้นทุติยภูมิ รวมถึงการป้องกันและฟื้นฟูโดยเฉพาะผู้สูงอายุ
                                         (2) เป็นศูนย์วิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์
                                         (3) เป็นสถานที่สำหรับฝึกอบรมนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก
                                         (4) เป็นศูนย์กลางต้นแบบในการศึกษาดูงานให้แก่โรงพยาบาล หรือหน่วยงานที่สนใจ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด