Pisutsan และคณะ ดำเนินการศึกษาเชิงสังเกตชนิดติดตามผลลัพธ์ไปข้างหน้า เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามนักท่องเที่ยวในกลุ่มรายได้สูงที่เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แบ่งการเก็บข้อมูลออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่
ณ เวลา 2 สัปดาห์หลังจากเข้ามาท่องเที่ยว และ
ณ เวลา 2 สัปดาห์หลังจากกลับประเทศแล้ว
ผลการศึกษาพบว่า
จากวันท่องเที่ยวทั้งหมดที่ถูกนำมาวิเคราะห์ผลจำนวน 6,094 วัน
- พบอุบัติการณ์เกิดภาวะท้องร่วงเฉียบพลันต่อเดือนต่อ 1,000 นักท่องเที่ยว คิดเป็น 217 เหตุการณ์ (95% CI 189-248) โดยพบอุบัติการณ์มากในช่วง 2 สัปดาห์แรกที่มาท่องเที่ยวมากที่สุด,
- การเกิดโรคในระบบทางเดินหายใจส่วนบน 133 เหตุการณ์ (95% CI 111-158),
- ภาวะไข้ 49 เหตุการณ์ (95% CI 36-65),
- การถูกสุนัขหรือสัตว์มีเขี้ยวกัด 34 เหตุการณ์ (95% CI 24-48)
- และพบการต้องเข้ารับการรักษาตัวแบบผู้ป่วยนอกและต้องนอนโรงพยาบาลคิดเป็น 49 (95% CI 36-65) และ 5 (95% CI 2-10) เหตุการณ์ ตามลำดับ
การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าปัญหาทางสุขภาพอันเกี่ยวเนื่องมาจากการมาท่องเที่ยวในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สำคัญเกี่ยวเนื่องกับ
- ความสะอาดของอาหารและคุณภาพของสิ่งแวดล้อม ซึ่งนักท่องเที่ยวควรระมัดระวังตนเอง
- บุคลากรทางการแพทย์ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ควรให้คำแนะนำในการป้องกันและรักษาอย่างเหมาะสม
- และรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรดำเนินการในเชิงนโยบายเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้นต่อไป
ที่มา: Pisutsan P, Soonthornworasiri N, Matsee W, Phumratanaprapin W, Punrin S, Leowattana W, et al. Incidence of health problems in travelers to Southeast Asia: a prospective cohort study. J Travel Med. 2019 Oct 14;26(7). pii: taz045. doi: 10.1093/jtm/taz045.