ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศกพ.)

ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศกพ.) Thumb HealthServ.net
ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศกพ.) ThumbMobile HealthServ.net

ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศกพ.) จัดตั้งโดยคณะอนุกรรมการสื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ โดย นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ
ในฐานะประธาน ศกพ. ได้แถลงข่าวการเตรียมความพร้อมรับมือปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง

ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศกพ.) HealthServ
 

ซึ่งความคืบหน้าในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบในการทบทวนแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” และเห็นชอบกำหนด 12 มาตรการเฉพาะกิจการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 พร้อมทั้งเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการสื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ซึ่งต่อมาได้มีคำสั่งจัดตั้งศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ เพื่อเป็นศูนย์ในการบูรณาการประสานงานรวบรวมข้อมูลจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ประชาชน ในรูปแบบ One Voice One Team และกำลังจะนำเสนอที่ประชุม ครม. เพื่อรับทราบ
 
นายอรรถพล เปิดเผยว่า ศกพ. ได้การทบทวนแผนปฏิบัติการฯ เดิม และเพิ่มเติมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเพิ่มเติมแนวทางการดำเนินงานตามความเห็นจากการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อให้แผนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งมีแนวทางการดำเนินงานตามแผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ดังนี้
  1. การสื่อสารประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย
  2. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ภายคณะกรรมการคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ
  3. การบริหารจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่ป่า
  4. สร้างเครือข่าย อาสาสมัคร และจิตอาสา เป็นกลไกหลักเข้าถึงพื้นที่ ทั้งสื่อสาร ติดตามเฝ้าระวัง และดับไฟ
  5. เร่งขับเคลื่อนโครงการปลูกป่าและป้องกันไฟป่า ภายใต้ศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน
  6. เร่งรัดการเพิ่มประสิทธิภาพการถ่ายโอนภารกิจการควบคุมไฟป่าให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
  7. การพยากรณ์ฝุ่นละอองล่วงหน้า 3 วัน เพื่อแจ้งเตือนประชาชน
  8. ประยุกต์ใช้ภาพถ่ายดาวเทียมในการรายงานปริมาณฝุ่นละอองเชิงพื้นที่
  9. พัฒนาระบบคาดการณ์ และระบบสนับสนุนการตัดสินใจ รวมถึงการพัฒนาและใช้งาน Application บัญชากาการดับไฟป่า
  10. บริหารจัดการเชื้อเพลิงโดยใช้ Application ลงทะเบียนจัดการเชื้อเพลิง
  11. ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลป่าไม้ และลดการเผาป่า ผ่านการจัดที่ดินทำกิน และเ
  12. จรจาสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งระดับอาเซียน ระดับทวิภาคี และระดับพื้นที่ชายแดน
 
ศกพ. ได้เปิดตัวนายศิวัช พงษ์เพียจันทร์ โฆษกศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ และนางสาวศิวพร
รังสิยานนท์ รองโฆษก ศกพ. ซึ่งจะทำหน้าที่ในการแถลงข่าวชี้แจงการดำเนินงาน และรายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการแจ้งเตือนประชาชนในการรับมือและเตรียมความพร้อมในการป้องกันผลกระทบจากปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่ที่ฝุ่นละอองมีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐาน

กรมควบคุมมลพิษ

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

อัพเดตความเคลื่อนไหว
    • วันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 การประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการเคาท์ดาวน์ PM2.5 จังหวัดเชียงใหม่
      นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดี กรมควบคุมมลพิษ ได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการเคาท์ดาวน์ PM2.5 จังหวัดเชียงใหม่ ครั้งที่ 3 ณ โรงแรมนอร์ธฮิลล์ซิตี้รีสอร์ท อ.หางดง จังหวัดเชียงใหม่ โดยเป็นแขกรับเชิญร่วมกับผู้อำนวยการกองพยากรณ์สภาพอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา ประธานสภาลมหายใจ เชียงใหม่ และผู้แทนจากสำนักงานสนับสนุนกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ  

      การประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการเคาท์ดาวน์ PM2.5 จังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดมาอย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ อาจารย์ ผู้นำชุมชน ท้องถิ่น NGO และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับปัญหา PM2.5 ได้มาร่วมกันจัดทำแผนในการดำเนินการแก้ไขปัญหา PM2.5 ในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจากการระดมความคิดเห็นผ่านกระบวนการคิดเชิงระบบจากผู้เข้าร่วมสัมมนา ได้เกิดภาพอนาคตที่พึงประสงค์ชื่อว่า “สมดุลราษฎร์-รัฐ” โดยรัฐจะต้องมีเจตจำนงในการแก้ไขปัญหาและเป็นแกนกลางให้กับประชาชนและสังคมที่มีความหลากหลายสูง ผ่านกลไกระดับชาติที่มาจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการออกแบบการแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่ทั้งระบบ โดยตั้งเป้าหมายให้ฝุ่นควันในจังหวัดเชียงใหม่ลดลงร้อยละ 40 ใน 5 ปี และได้กำหนดมาตรการในการไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ เพื่อสร้างแผนการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม

      ทั้งนี้ อคพ. และแขกรับเชิญท่านอื่นๆ ได้มานำเสนอถึงการดำเนินงานในปัจจุบัน ให้ความคิดเห็นต่อมาตรการ แนวทางการแก้ไขปัญหา และการดำเนินงานที่ภาครัฐที่พร้อมสนับสนุน รวมถึงตอบประเด็นข้อซักถามจากผู้เข้าร่วมสัมมนา พร้อมทั้งขอความร่วมมือจากทุกฝ่ายให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 อย่างยั่งยืนต่อไป

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด