โดยผู้ที่มีอาการพาร์กินสัน ร้อยละ 36 เกิดจากโรคพาร์กินสัน ร้อยละ 36 เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง ร้อยละ 22 เกิดจากยา และร้อยละ 5 เกิดจากอุบัติเหตุที่สมอง และพบว่ามีเพียงส่วนน้อย คือ เพียงร้อยละ 8 ของคนที่มีอาการพาร์กินสันและร้อยละ 22 ของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน เท่านั้น ที่เคยได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์มาก่อน
ผู้ที่เป็นโรคนี้มักมีอาการค่อยเป็นค่อยไป โดยมีมือสั่น ทําอะไรช้าลง เดินลําบากก้าวขาไม่ค่อยออกเวลาก้าวออกแล้วจะเดินก้าวเท้าสั้นๆ ซอยเท้าถี่ กลับตัวลําบากเวลาเดินและหยุดเดินไม่ได้ทันที การทรงตัวลําบาก หลังคู้งออาจเกิดการหกล้มได้ง่าย เวลานอนจะพลิกตัวลําบาก แขนขาเกร็งแข็ง จนบ่อยครั้งทําให้เกิดอาการปวดหรืออาจเกิดตะคริวขึ้นได้ การใช้มือไม่คล่องเหมือนเก่า เช่น กลัดกระดุม เปิดฝาขวดน้ำ เขียนหนังสือ เป็นต้น ใบหน้าดูเฉยเมย ไม่ค่อยกระพริบตา พูดเสียงเบาลง การกลืนไม่คล่องเหมือนเดิม อาจมีน้ำลายไหล หรือสําลักง่ายขึ้น นอกจากอาการของแขนขาและการเคลื่อนไหวแล้วยังมีอาการของอวัยวะส่วนอื่นด้วย เช่น คิดช้าลง ความจําไม่ดี อารมณ์ซึมเศร้า นอนหลับไม่สนิท ฝันบ่อยๆ ท้องผูก เป็นต้น
เนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัย และอยู่ในชุมชน ที่บ้าน มีการศึกษาพบว่าแพทย์ทั่วไปตรวจอาการของโรคนี้ได้ถูกต้องเพียงไม่ถึงร้อยละ 60 แต่โอกาสที่ผู้ป่วยจะได้ไปตรวจกับแพทย์เฉพาะทางทําได้ค่อนข้างยากในพื้นที่ห่างไกล นอกจากนั้นประชาชนมักไม่ตระหนักถึงอาการของโรคนี้เพราะคิดว่าเกิดจากอายุที่ มากขึ้น ทําให้เกิดผลเสียจากตัวโรคตามมา เช่น หกล้ม กลืนอาหารลําบาก เป็นต้นการคัดกรองเบื้องต้นอย่างง่ายโดยตัวเอง ครอบครัวหรือบุคคลากรสาธารณสุข สามารถทําให้ค้นพบผู้ป่วยได้มากขึ้น โดยวิธีการคัดกรองคือ ตรวจเช็กอาการใน 11 ข้อ ตามแบบคัดกรองอาการโรคพาร์กินสัน หากมีอาการดังกล่าว 5 ข้อขึ้นไป ควรไปพบแพทย์ แต่หากอาการน้อยกว่า 5 ข้อ อาจประเมินเป็นระยะด้วยตนเอง
Source:
คัดกรองโรคพาร์กินสัน
ศ.นพ.วีรศักดิ์ เมืองไพศาล
ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล