องค์การอนามัยโลก และสมาคมต่อต้านมะเร็งสากลได้กำหนดให้วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็นวันมะเร็งโลก ในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งราว 8.2 ล้านคน เพื่อรณรงค์ให้คนทั่วโลกตระหนักถึงภัยร้ายจากโรคมะเร็ง รวมถึงหันมาใส่ใจสุขภาพของตนเอง
สสส.ร่วมกับภาคีเครือข่าย สนับสนุนให้คนไทยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและการออกกำลังกายที่เหมาะสม ซึ่งสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ใหญ่ หลังพบข้อมูลคนไทยมีแนวโน้มเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่สูงขึ้น 2.4 เท่าทั้งเพศหญิงและชาย
ด้วยการตรวจสุขภาพ เป็นประจำทุกปี และผู้ที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไปหรือผู้ที่มีความเสี่ยงควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็ง
▪ มะเร็งเต้านม แนะนำให้ผู้หญิงตรวจคัดกรองโดยคลำเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำ และการทำแมมโมแกรม (mammogram)
▪ มะเร็งปอด แนะนำในคนอายุมากกว่า 55 ปี ที่สูบบุหรี่วันละประมาณ 1 ซอง
มาเป็นระยะเวลาประมาณ 30 ปี หยุดสูบบุหรี่ไม่เกิน 15 ปี คัดกรองโดยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ปอดรังสีปริมาณต่ำ
▪ มะเร็งลำไส้ใหญ่ แนะนำในคนทั่วไป อายุตั้งแต่ 45-50 ปี คัดกรองโดยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ หรือการตรวจเลือดคัดกรองมะเร็ง
▪ มะเร็งต่อมลูกหมาก แนะนำในผู้ชายอายุ 45 ปีขึ้นไป คัดกรองโดยการตรวจเลือด ดูค่ามะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA)
▪ มะเร็งตับ คัดกรองในผู้ที่มีภาวะตับอักเสบหรือคนที่มีเป็นพาหะไวรัสตับอักเสบ บี ควรตรวจคัดกรองโดยการอัลตราซาวด์ท้องช่วงบน และการตรวจค่ามะเร็งตับ (AFP)
▪ มะเร็งช่องปาก ควรตรวจสุขภาพฟันและช่องปากอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อดูแลเหงือก ฟัน และความผิดปกติในช่องปาก หรือสังเกตรอยโรคด้วยตนเอง
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก แนะนำการปฏิบัติตนตามหลักธรรมานามัยเพื่อส่งเสริมสุขภาพประชาชนห่างไกลโรคมะเร็ง เนื่องในวันมะเร็งโลก
นายแพทย์ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันที่องค์การอนามัยโลกและสมาคมต่อต้านมะเร็งสากลกำหนดให้เป็นวันมะเร็งโลก (World Cancer Day) ในปัจจุบันโรคมะเร็งเป็นโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับต้น ๆ และเพื่อเป็นเกราะป้องกันโรคมะเร็ง กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ขอแนะนำหลักการดูแลสุขภาพตามวิถีแห่งธรรมชาติ ด้วยหลักธรรมานามัย รวมถึงการรับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยป้องกันและยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ซึ่งพบในสมุนไพรพื้นบ้านหลายชนิด
ตามหลัก “ธรรมานามัย”เป็นการดูแลสุขภาพผู้ป่วยมะเร็งแบบองค์รวมที่ครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ สังคม และสิ่งแวดล้อม สามารถนำมาใช้เสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย ป้องกันการเกิดโรคที่ต้นเหตุ ซึ่งประกอบด้วยการดูแลสุขภาพ 3 องค์ประกอบดังนี้
1.กายานามัย (Healthy body) เป็นการดูแลสุขภาพด้านร่างกายให้แข็งแรง เริ่มตั้งแต่อาหารการกิน โดยเน้นอาหารที่ดีและมีประโยชน์จะช่วยส่งเสริมสุขภาพได้ อีกทั้งยังมีผักพื้นบ้านที่มีสารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยป้องกันและยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ เช่น สะเดา มีการศึกษาวิจัยคุณสมบัติของสารสกัดดอกสะเดา พบว่าสามารถยับยั้งการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ผักแพว มีสารต้านอนุมูลอิสระต่อร่างกาย ป้องกันมะเร็งได้หลายชนิด มะขามป้อม มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง จึงทำให้สามารถยับยั้งการก่อให้เกิดเซลล์มะเร็งภายในร่างกายได้ อีกทั้งยังมีผลยับยั้งเซลล์ผิดปกติบางชนิด ที่อาจจะก่อให้เกิดมะเร็งในอนาคตได้ สมอไทยมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงช่วยยับยั้งการเกิดและเจริญเติบโตของเซลมะเร็ง รวมถึงการการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ และการออกกำลังกายตามความเหมาะสมของร่างกาย
2.จิตตานามัย (Healthy mind) เป็นการดูแลด้านจิตใจ โดยใช้หลักการที่ว่า“จิตเป็นนายกายเป็นบ่าว”ด้วยกิจกรรมบำบัดต่าง ๆ ได้แก่ สมาธิบำบัด, สวดมนต์บำบัด, ศิลปะบำบัด, ดนตรีบำบัด, หัวเราะบำบัด ซึ่งกิจกรรมข้างต้นจะช่วยให้จิตใจสงบปราศจากความเครียดส่งเสริมให้มีสุขภาพจิตที่ดีและคุณภาพชีวิตดีขึ้น
3.ชีวิตานามัย (Healthy behavior) เป็นการดูแลด้านการดำเนินชีวิตในทางที่ชอบ สุจริตตามบริบทของสังคม วัฒนธรรม ประเพณี การประกอบอาชีพที่ดีและการปรับสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น การปลูกต้นไม้ ดูแลความสะอาดของบ้านเรือน และจัดวางวัสดุอุปกรณ์ต่างๆให้เหมาะสม หากทำได้ดังนี้ ชีวิตจะห่างไกลจากการเกิดโรคมะเร็งและโรคอื่นๆ อีกด้วย
นายแพทย์ขวัญชัย กล่าวในตอนท้ายว่า การเฝ้าระวังโรคมะเร็งที่สำคัญควรตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง และหากประชาชนท่านใดมีความสนใจการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยตามหลักธรรมานามัย
4 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น #วันมะเร็งโลก WorldCancerDay โดยองค์การอนามัยโลกและสมาคมต่อต้านมะเร็งสากลกำหนดให้เป็นวันมะเร็งโลก เพื่อบรรเทาปัญหาการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง
เช็ก 9 สัญญาณเตือนภาวะเสี่ยง #โรคมะเร็ง หลังองค์การอนามัยโลกได้คาดการณ์ไว้ว่า อีก 20 ปีข้างหน้า อาจมีผู้ป่วยโรคมะเร็งเพิ่มสูงขึ้น 28.9 ล้านคน จากล่าสุดเมื่อปี 2020 พบผู้ป่วยมะเร็งทั่วโลกแล้ว กว่า 19.3 ล้านคน