CANNABIS cook book คือคู่มือที่จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมสูตรตำรับ อาหาร ทั้งคาวหวาน เครื่องดื่ม และสูตรผลิตภัณฑ์จากกัญชา เพื่อเป็นแนวทางให้กับประชาชนที่สนใจ อันจะทำให้เกิดการใช้อย่างปลอดภัยและเหมาะสม
ข้อควรรู้
การนำส่วนของกัญชาและกัญชง ที่ไม่เป็นยาเสพติดมาใช้
- ต้องผลิตในประเทศไทย
- ผู้ผลิต/ปลูกต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
- ช่อดอกและเมล็ดเป็นยาเสพติด
- ผู้ปลูกกัญชาต้องเป็นวิสาหกิจฯขออนุญาตร่วมกับภาครัฐผู้ใช้ประโยชน์ส่วนของกัญชาต้องรับจากผู้ปลูกที่ขออนุญาตถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น
การใช้ใบกัญชาในอาหาร
- ใบกัญชา มีประวัติการใช้เป็นอาหาร ของคนไทยมาอย่างยาวนานเป็นสมุนไพรชูรสเพื่อทำให้รสชาติอร่อยกลมกล่อมนิยมใส่แกง ก๋วยเตี๋ยว หรือผัด
- ปริมาณที่ใช้ต่อหนึ่งหม้อมื้ออาหารจะอยู่ประมาณ 3 ยอด หรือ 5-8 ใบ
- สารออกฤทธิ์สำคัญ ในกัญชา คือ delta-9-tetra-hydrocanabinol (THC) ซึ่งมีฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือชาวบ้านเรียกว่า "สารเมา" และ สาร cannabidiol (CBD) ไม่มีฤทธิ์ต่อจิตและประสาทซึ่งในต่างประเทศนิยมใช้ในเมนูอาหาร
- ในกัญชาไทยจะมี THC มากกว่า CBD
- จากการวิเคราะห์ใบกัญชาแห้งสายพันธุ์ไทย มีปริมาณสาร THC โดยเฉลี่ย 1-2 มิลลิกรัม/ใบ
- ใบสดของกัญชามีสาร Tetrahydrocannabinolic acid หรือ THCA ไม่มีฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ไม่มีสารเมา)
ความปลอดภัยกัญชาในอาหาร
ใบสด
จะมีสาร THCA ไม่มีฤทธิ์เมา และเมื่อถูกแสงหรือความร้อนจะทำให้เกิดกระบวน
การเปลี่ยนแปลง จาก THCA เป็น THCหรือที่เรียกกันว่า "สารเมา"การศึกษาเบื้องต้น พบว่า THCA มีฤทธิ์ลดอักเสบ ปกป้องสมอง ต้านการชัก ต้านอาเจียน ในต่างประเทศ นำใบูสดมาบริโภค ในรูปของอาหารและเครื่องดื่ม เช่น น้ำคั้น น้ำปั่น ผักเคียง และสลัด
ใบแห้ง
มีสาร THC หรือ สารเมา มื่อผ่านความร้อนสูงหรือมีส่วนประกอบไขมันสูง ระยะเวลาในการปรุงที่นาน จะยิ่งทำให้สาร THC เพิ่มขึ้นได้
Tip : ใบอ่อนเมื่อแห้งแล้วมี "สารเมา" มากกว่าใบแก่
"ภูมิปัญญาดั้งเดิมใช้ใบกัญชาช่วยชูรสในอาหาร และทำให้กินข้าวได้ นอนหลับ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาสมัยใหม่ ที่พบว่าในใบกัญชา มี Glutamio acid (กรดกลูตามิก) ที่ทำให้อาหารมีรสอมามิ และสาร THC ช่วยเพิ่มความอยากอาหารและนอนหลับ แต่ยังคงต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในเรื่องนี้เพื่อให้เกิดการใช้ที่ปลอดภัยและ มีประโยชน์ต่อุขภาพอย่างแท้จริง"
อร่อยและปลอดภัย มั่นใจ ครัว ตำรับยิ้ม
- ใบสด อุดมด้วยแร่ธาตุ และโอสถสาร มี THCA..
- การปรุงด้วยน้ำ ในน้ำจะมี THC ละลายอยู่น้อยมาก
- การทอดด้วยน้ำมัน สาร THC จากใบละลาย อยู่ในน้ำมันส่วนหนึ่งด้วย
- ใบแห้ง 1 ใบ หนัก = 200 มิลลิกรัม มี THC = 1-2 มิลลิกรัม (ใบแห้งมี THC = 0.5-1%)
- การปรุงที่ผ่านความร้อน ทำให้สาร THCA ในใบสด เปลี่ยนเป็น THC
- ระยะเวลาการปรุง ปรุงนานขึ้น ทำให้ THCA ในใบสด เปลี่ยนเป็น THC ได้สมบูรณ์ขึ้น
- ในต่างประเทศ เช่น แคนาดา เนเธอแลนด์ มีการใช้สารสกัดกัญชา/กัญชง ใส่ในผลิตภัณฑ์ที่กินได้หลายรูปแบบ เช่น กัมมี่ เยลลี่ ช็อกโกแลต บราวนี่
• มีจำกัดปริมาณ THC หรือ สารเมา ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค
• ในแคนาดา กำหนดที่ 10 มิลลิกรัม ต่อหนึ่งขนาดบรรจุและอยู่ในภาชนะที่เด็กเข้าถึงได้ยาก
• มีการให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับผู้บริโภค
ในต่างประเทศมีคำแนะนำ ในผู้ที่เคยรับประทานกัญชามาก่อน ให้เริ่มที่ขนาดต่ำๆ การรับ THC ขนาดสูงอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น สับสน เสียการทรงตัว
กินกัญอย่างไร ให้ปลอดภัยและมีผลดีต่อสุขภาพ
- กินใบสด กินเป็นผัก กินเป็นน้ำคั้นสด
- กินแบบไม่ผ่านความร้อนนานๆ เช่น ใส่แบบใบกะเพรา
- อาหารตุ๋นต้มแกง กินแต่น้ำ ไม่กินใบที่ใส่ลงไป
- ใบที่กินทั้ง ใบ ใส่ลงในอาหาร ใบที่ผ่านความร้อน ไม่ควรเกิน 5-8 ใบ/วัน
ผู้ที่ไม่ควรรับประทาน
- ผู้ที่อายุ ต่ำกว่า 25 ปี
- หญิงตั้งครรภ์ ให้นมบุตร
- ตับและไตบกพร่อง ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
- ใช้ยาวาร์ฟาริน และใช้ยาที่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง
ฉลาดใช้ "กัญ" ให้อร่อยและปลอดภัย
ความเป็นมา
โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เป็นหน่วยงานที่มีการดำเนินงานด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรมาอย่างต่อเนื่องเป็นพื้นที่ต้นแบบในการน่านโยบายลงมาสู่การปฏิบัติ ในพื้นที่ โดยทำงานร่วมกับหน่วยงานในส่วนกลาง
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล ได้ลงนามปลดส่วนของ ใบ ราก ลำต้น ของกัญชา ออกจากรายการยาเสพติด เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2563 โดยมีเจตนารมย์ให้ประชาชน ใช้เพื่อการดูแลสุขภาพและสร้างมูลคำเพิ่มทางเศรษฐกิจในชุมชนนั้นๆ ทำให้ทางโรงพยาบาลได้เริ่มพัฒนารูปแบบธุรกิจอาหาร ที่มีส่วนผสมของ ใบกัญชา เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้อาหารไทย อันเป็นที่ยอมรับของคนทั่ว โลก ในคุณค่าด้านวัฒนธรรมและสุขภาพ
โรงพยาบาลได้ศึกษาค้นคว้าความรู้ดั้งเดิม และการวิจัยสมัยใหม่ของการใช้กัญชาทำให้พบว่า บรรพบุรุษของเรามีความเฉลียวฉลาดในการเลือกใช้พืชพรรณเพื่อดูแลสุขภาพ เพราะความรู้ของบรรพบุรุษช่างสอดคล้องกับการวิจัยสมัยใหม่ จึงนำมาสู่โครงการมาชิมกัญ มีคนเรือนหมึนที่เดินทางมาชิมอาหารเหล่านี้ และมีสื่อต่างชาติ
มากมายเดินทางมาถ่ายและเผยแพร่ข้อมูลออกไปให้ประชาชนได้ทราบในครั้งถัดไป
ทางโรงพยาบาลยังได้ดำเนินการติดตามความปลอดภัยในการรับประทานอาหารที่ปรุงจากกัญชาด้วย เพื่อให้มีข้อมูลอย่างรอบด้านสนับสนุนให้เกิดรูปแบบธุรกิจอย่างยั่งยืน จากการทำงานของเราก็พบว่า ตำรับเมนูกัญชามีความปลอดภัยดีและน่าจะมีประ โยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งนำมาต่อยอดทางธุรกิจ
หนังสือเล่มนี้เป็นการถ่ายทอดชุดความรู้และประสบการณ์ที่โรงพยาบาลได้ค้นคว้าขึ้นในระหว่างการดำเนินโครงการมาชิมกัญ และหวังว่าจะเป็นข้อมูลที่ประชาชนและชุมชนรวมถึงผู้ประกอบการได้ใช้ประโยชน์เพื่อดูแลสุขภาพและเพื่อการประกอบธุรกิจ
ขณะเดียวกันทางโรงพยาบาลกำลังตำเนินการศึกษาวิจัยเรื่องประโยชน์ต่อสุขภาพของอาหารที่มีส่วนผสมของกัญชาเหล่านี้ให้ชัดเจนยิ่งเพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนให้กับภาคธุรกิจหากได้ผลลัพธ์แล้วจะนำมาจัดทำเป็นเอกสารให้ประชาชนทราบในครั้งถัดไป
พญ. โศรยา ธรรมรักษ์
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
*HealthServ.net เป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ข้อมูลนี้ไปสู่ผู้ชมเท่านั้น ไม่ได้เป็นไปเพื่อการค้า และไม่ได้เป็นเจ้าลิขสิทธิ์ของเนื้อหา