ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ตลาดวัคซีนพลิกกลับสู่ผู้บริโภค เปลี่ยนมือจากเดิมผู้ผลิตกุมอำนาจ

ตลาดวัคซีนพลิกกลับสู่ผู้บริโภค เปลี่ยนมือจากเดิมผู้ผลิตกุมอำนาจ Thumb HealthServ.net
ตลาดวัคซีนพลิกกลับสู่ผู้บริโภค เปลี่ยนมือจากเดิมผู้ผลิตกุมอำนาจ ThumbMobile HealthServ.net

ปริมาณการฉีดวัคซีนโควิดในประชากรโลกกว่า 8000 ล้านโดส พลิกสถานการณ์โควิดมาอยู่การควบคุมได้บ้างแล้ว และที่สำคัญ ตลาดวัคซีนกำลังพลิกกลับสู่ผู้บริโภค จากเดิมที่เป็นตลาดของผู้ผลิตเท่านั้น

ตลาดวัคซีนพลิกกลับสู่ผู้บริโภค เปลี่ยนมือจากเดิมผู้ผลิตกุมอำนาจ HealthServ
 
ในช่วงแรกของการระบาดโควิดในโลกและในประเทศไทย ในยุคก่อนมีวัคซีนโควิดรุ่นแรกๆ ออกมาในโลก ความประหวั่นพรั่นพรึงมีอยู่ทั่วทุกหัวระแหง และวัคซีนคือความหวังเดียวกันของทั้งโลกที่แสวงหาหนทางรอดจากโรคระบาดที่คร่าวชีวิต การปิดประเทศและมือมืดที่ฉุดเศรษฐกิจสังคมให้ระส่ำระสายและถดถอยลง  
 

เมื่อวัคซีนรุ่นแรกออกมาในราวปลายปี 2020 โลกเริ่มมีความหวังอีกครั้ง แม้จะเป็นวัคซีนที่อนุมัติเพื่อใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินด้วยเหตุที่วัคซีนเหล่านี้ ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการตามมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์อย่างที่เคยเป็นมา แต่เพราะความจำเป็นที่เร่งด่วนที่สุดของมนุษยชาติ องค์กรผู้มีอำนาจการอนุมัติทั้งในสหรัฐ ยุโรป อังกฤษ และรัฐบาลทุกประเทศจึงได้ดำเนินการไปในทิศทางเดียวกัน คือ การประกาศให้วัคซีนสามารถใช้ได้ในภาวะฉุกเฉิน 
 
 
สถานะการอนุมัติในภาวะฉุกเฉิน หมายถึง เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องรับผิดชอบในการใช้และผลที่จะเกิดจากการใช้วัคซีนเหล่านี้ บริษัทผู้ผลิตมีสิทธิและมีความได้เปรียบในทุกด้านทุกระดับ ในการให้ผลิตและนำวัคซีนไปใช้ จึงเกิดเป็นนิยามคุ้นหูที่น่าขุ่นเคืองและยากจะยอมรับได้ในโลกการค้าเสรี  
 
"ตลาดของวัคซีนเป็นของผู้ขาย"
 
 
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น 

เพราะวัคซีนเป็นความต้องการสำคัญสูงของโลกในเวลานั้น 
การจะได้มาซึ่งวัคซีนในระยะแรก นานาประเทศในโลกเร่งดำเนินนโยบายแข่งขันช่วงชิงและแข่งกับเวลา เพื่อให้ได้มาซึ่งวัคซีน มากที่สุด และเร็วที่สุด เพื่อประชาชนของตน 

ประเทศที่มีอำนาจและมีเงินมากจึงมีโอกาสเข้าถึง สั่งจองและได้สิทธิก่อนประเทศที่รองๆ ลงไป ขณะที่ในอีกหลายประเทศในบางภูมิภาคดูจะไม่มีโอกาสเข้าถึงเลยด้วยซ้ำ

ความเป็นวัคซีนใหม่ จึงยังไม่มีการผลิตสู่ตลาดอย่างเป็นปกติ  แต่จะผลิตไปตามความต้องการของผู้ซื้อ เมื่อใดที่ผู้ซื้อต้องการ จึงส่งคำสั่งซื้อพร้อมกับ "ต้องชำระเงินล่วงหน้า" ไปพร้อมกัน ในภาวะเช่นนี้ ผู้ผลิตไม่มีความจำเป็นต้องเสี่ยงผลิตเพื่อตลาดที่ไม่แน่นอน และการเรียกร้องชำระเงินทั้งหมดล่วงหน้ายังสามารถทำได้ด้วยเช่นกัน 
 
และที่เหนือไปกว่านั้น "ไม่มีการรับประกันความสำเร็จของวัคซีนว่าจะได้ผลเพียงใด หรือแม้แต่จะผลิตได้สำเร็จหรือไม่ และที่สำคัญไม่คืนเงิน" 
 
ความเสี่ยงของโรคระบาด ผลักดันให้รัฐบาลทุกแห่งในโลกจำเป็นต้องเสี่ยง แม้จะประสบความล้มเหลวก็ตาม
 
ในด้านพลเมืองเอง ความรู้ต่อโรคและวัคซีนยังมีจำกัด การรับรู้ที่ยังไม่มากพอ ความเป็นวัคซีนชนิดใหม่ในสถานะและที่มาที่แตกต่างไปจากมาตฐานที่ควรจะเป็น ย่อมเป็นอีกแง่ของความไม่มั่นใจ ความกังวลต่อประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ผลกระทบในมุมอื่นได้ 
และเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ง่ายที่จะสร้างการยอมรับในระยะหรือตลอดช่วงเวลาของการระบาด ต่อๆไปอีกด้วย
 
การบริหารการจัดการยิ่งมีความสำคัญ  ทั้งก่อนได้รับวัคซีน เมื่อได้รับวัคซีนแล้ว จนกระทั่งการจัดเก็บ กระจายวัคซีน หน่วยฉีด บุคลากร และมาตรการรองรับ ทั้งหมดล้วนเป็นสิ่งจำเป็นที่มาคู่กับวัคซีน เฉพาะอย่างยิ่งกับวัคซีนเทคโนโลยีใหม่ ที่ต้องพึ่งพิงการบริหารจัดการอย่างใหม่และซับซ้อนกว่าที่เคยเป็นมา ความล้มเหลวหรือสูญเสียย่อมมีอยู่ จึงต้องการความรอบคอบในระดับสูงสุด
 
 
 

ตลาดของวัคซีนกำลังจะเป็นของผู้บริโภค


ธันวาคม 2564 โลกฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 8000 ล้านโดส ประเทศไทยฉีดไปแล้วรวมกว่า 97 ล้านโดสในทุกกลุ่มเป้าหมาย มีวัคซีนสำรองในประเทศกว่า 10 ล้านโดสในแทบทุกชนิดที่โลกมีให้ฉีด แม้การมาปรากฏตัวของโอมิครอนจะเป็นความหวาดหวั่นต่อการระบาดครั้งใหม่ที่ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดถึงความร้ายแรง แต่กระนั้นโลกสามารถเดินต่อไปข้างหน้าได้ เพราะประชากรโลกหลายล้านคนมีวัคซีนดั้งเดิมเป็นพื้นฐานแล้ว นโยบายใหม่ที่จะออกมาเพื่อปกป้องดูแล สามารถเดินหน้าต่อยอดไปจากรากฐาน "การได้รับวัคซีน" จากเดิมได้ นั่นคือแสงสว่าง
 
"ตลาดของวัคซีนกำลังจะเป็นของผู้บริโภค" 
 
สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปทำให้ฉากทัศน์เปลี่ยนตาม เมื่อผู้คนส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนไปแล้ว มีภูมิคุ้มกัน ลดการติดเชื้อ จำกัดการแพร่โรค หรือหากมีการติดเชื้อ ความรุนแรงจะลดลง ผู้ป่วยรุนแรงและผู้เสียชีวิตลดน้อยลง ทรัพยากรที่เคยจำกัดที่เตรียมไว้รองรับดูแลผู้ป่วยที่อาการรุนแรง ก็เริ่มมีเหลือและเพียงพอ เมื่อการแพร่ระบาดลดลง ประชาชนผ่อนคลายต่อสถานการณ์ มีประสบการณ์และตระหนักถึงการสูญเสีย ความระมัดระวังต่อตนเองและสังคมเป็นการเรียนรู้ที่มีค่าและเริ่มเป็นปกติวิสัยของการป้องกัน อัตราการฉีดย่อมชะลอลงจึงไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด
 
ตลาดของวัคซีนกำลังจะเป็นของผู้บริโภค
 
"การขาดแคลนของวัคซีนไม่ได้เป็นปัญหาในปัจจุบัน ปัญหาอยู่ที่ว่าทำอย่างไรที่จะให้คนที่ยังไม่ได้ฉีดได้รับบริการ การฉีดวัคซีนเป็นการสมัครใจ ในผู้ไม่ประสงค์จะฉีดก็ไม่สามารถที่จะบังคับได้"
 
หากสังคมของเรา เลือกมองไปข้างหน้าร่วมกัน เลือกเดินหน้าสู่การพลิกฟื้นฟื้นฟูเศรษฐกิจสังคมร่วมกัน ร่วมรับผิดชอบต่อกันและกัน เพื่อเป็นพลังผลักดันให้กันและกัน   แนวคิดการต้องมีเกราะป้องกันตนเองเพื่อมีชีวิตร่วมไปกับโควิดย่อมไม่ใช่การบังคับแต่เป็นความเต็มใจที่ทำเพื่อเพื่อนคนไทยด้วยกัน
 
 
 
 
 
***************

อ่านเพิ่มเติม
 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด