คนไทยต้องกังวลโควิด จากนักท่องเที่ยวจีนหรือไม่
คิดว่าไม่ควรต้องกังวลมากนัก ตระหนักแต่ใช่ต้องตื่นกลัวโดยใช่เหตุ
มีเหตุผลหลายประการด้วยกัน คือหากเรากลัวประเทศจีน ก็ต้องถามตัวเราเองว่ากลัวประเทศญี่ปุ่นไหม กลัวประเทศในยุโรปหรือสหรัฐอเมริกาหรือไม่ ถ้ามาดูตัวเลขลักษณะนี้เอง ในญุี่ปุ่นนั้นติดเชื้อวันมากกว่าสหรัฐด้วยซ้ำ ทั้งที่ประชากรอย่างน้อยกว่าประมาณสามเท่า แต่ก็ติดเชื้อประเมิน 3-4 หมื่นคนต่อวัน
ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าหากว่าเราดูในเรื่องของตัวเลขต่างๆ เหล่านี้ ถ้าเรากลัว เราก็คงจะไปไหนไม่ได้ นักท่องเที่ยวของเราก็คงไปไหนไม่ได้เลย
ประการที่สอง เรื่องของตัวเชื้อเอง ซึ่งหลายสถาบัน ไม่ว่า ศูนย์จีโนมของรามาธิบดี ในประเทศไทย หรือทางต่างประเทศก็ตาม ในสายพันธุ์ที่แพร่ระบาดขณะนี้ ที่จริงแล้วประเทศต่างๆ ผ่านมาหมดกระทั่งประเทศไทย ดังนั้นคนจีนที่มีสายพันธุ์ต่างๆ เหล่านี้เข้ามา ถ้ามาเจอคนไทย ซึ่งจริงๆ เราก็มีของดีอยู่เรียบร้อย คือเราสะสม ไม่ว่าจะเป็น ภูมิจากวัคซีนที่ฉีดกันมาแล้ว หรือภูมิจากการติดเชื้อตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมหรือสายพันธุ์โอมิครอนใหม่
ซึ่งก็ต้องยอมรับนะครับว่า สายพันธุ์ปัจจุบันมีความสามารถในการแพร่ได้เร็วมาก 1 คน สามารถแพร่ไปได้ 18 ถึง 20 คน ซึ่งตรงนี้เราไม่ตกใจ เพราะเราทราบดีว่าถ้าติดไปแล้วจะไม่มีอาการหนักมาก เป็นไข้หวัดนิดๆหน่อยๆ แล้วก็หายเองได้ด้วยซ้ำ
ฉะนั้นเอง ภูมิคุ้มกันที่เน้นย้ำ โดยเฉพาะภูมิคุ้มกันที่ได้จากเชื้อธรรมชาติ มีความหมายหรือเก่งกว่าแวคซีนด้วยซ้ำ
สำหรับการฉีดวัคซีน ผมก็เห็นด้วยร้อยเปอร์เซ็นต์ที่เราฉีดกันสามเข็ม แต่ว่าก็มีคำถามมาว่า ฉีดแล้วเจ็ดเข็ม ต้องฉีดเข็มที่แปดด้วยไหม ซึ่งต้องนำเรียนว่า มีหลักฐานมาเรื่อยๆ ว่า ถ้าเราฉีดมากเกินไปนั้น ภูมิคุ้มกันที่ได้จากวัคซีนอาจเบี่ยงเบนไปทำให้ระบบ "นักฆ่า" ของเรานั้นไม่เก่งพอ (หมายถึงภูมิคุ้มกันในตัวตามธรรมชาติ)
เรื่องวัคซีนอย่างน้อยๆ ควรต้องฉีดกี่เข็ม
อย่างน้อยๆ ตามสูตรที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศคือ 3 เข็ม ก็จะอุ่นใจได้พอสมควร แต่ถ้าเป็น 3 + 1 คือฉีดแล้ว 3 บวก ติดเชื้อเองไปอีกหนึ่ง โดยที่ไม่ได้มีลองโควิด (Long Covid) แถมมาด้วย ยิ่งดีใหญ่
แต่ว่าประการหนึ่งที่สำคัญ ก็คือเรื่องของต้นทุนสุขภาพของเรา ถ้าเราดูต้นทุนสุขภาพของเราแล้ว คืออยากให้ระมัดระวังเรื่องสุขอนามัย เรื่องการดูแลโรคประจำตัว ไม่ว่าจะอ้วน เบาหวาน ความดัน ไขมัน เส้นเลือดตีบตัน อะไรต่างๆ เหล่านี้ ถ้าจัดการได้ นั้นก็คือจัดการการอักเสบที่ซ่อนอยู่ในร่างกายนั่นเอง
ถามถึงเรื่องของมาตรการด้านสาระสุขของไทย ตั้งแต่เจ้าภาพในการคัดกรองคนที่จะเข้าประเทศเรื่องของยาและวัคซีน ถือว่าเรามีเพียงพอรับมือกับสถานการณ์ปัจจุบันหรือไม่
มาตราการสาธารณสุขที่ประกาศออกมาเราก็เห็นด้วยร้อยเปอร์เซ็นต์ การให้ตรวจก่อนออกเดินทาง 48 ชั่วโมง ถึงแม้ว่าจะมีหลายท่านบอกว่าให้ตรวจภายในก่อนขึ้นเครื่อง แต่ว่าในทางปฏิบัติจะไม่สะดวกเท่าไหร่ แต่ต้องเข้าใจว่า ถึงตรวจอย่างไรก็ตาม ไม่สามารถป้องกันได้ 100%
หน้ากากอนามัยยังจำเป็นมั้ยคะ
หน้ากากอนามัยยังจำเป็นมากสำหรับคนที่รู้ตัวว่าตัวเองไม่สบาย ก็คือป้องกันไม่ให้เชื้ออะไรก็ตามแต่ ไม่ใช่แค่โควิด แพร่ไปถึงกลุ่มเปราะบาง ไปถึงญาติผู้ใหญ่ที่อยู่ที่บ้านเรา หรือลูกหลานเราเป็นต้น ส่วนประการที่สอง หากรู้สึกว่าเราไม่ค่อยแข็งแรงเท่าไหร่ ย้อนกลับไปว่าต้นทุนสุขภาพเราไม่ค่อยดีนัก เวลาไปพบปะสังสรรค์ อยู่ที่ชุมชนหนาแน่น เราก็ป้องกันตนเองอย่างดีที่สุดไม่ให้(โรค) มาเข้าเรา
ในกรณีอีกกรณีนึงก็คือ ถ้าเรามี 2 + 1 3+1 4+1 และตรวจตราสุขภาพเราได้ดี ก็อาจปล่อยตัวได้หลวมๆ ตามสถานการณ์
กรณีมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเยอะๆ ในประเทศไทย ไม่ใช่แค่คนจีน จะมีสถานที่ที่จะกลายเป็นสถานที่เสี่ยง ตรงนี้แหละอาจจะเป็นจุดเสี่ยงที่ทำให้เกิดการระบาดได้ง่าย มีแนวทางดูแลป้องกันเชื้อหรือแนวทางปฏิบัติอย่างไร
แนวทางเหมือนเดิม ก็คือ ใส่หน้ากากตามสถานการณ์ ล้างมือบ่อยๆ ไม่ว่าจะสัมผัสอะไรก็ตาม เชื้ออาจติดตามพื้นผิว ตรวจตราคนรอบๆ ตัวเราว่ามีอาการไม่สบายผิดปกติอะไรบ้างหรือปล่าว
สิ่งสำคัญอีกประการคือ ในไทยโดยกระทรวงสาธารณสุขมีการติดตามสถานการณ์อยู่ตลอด มีความผิดปกติหรือปล่าว โดยที่ ณ วันนี้เวลานี้ สถานการณ์เองดูว่าคนเป็นโควิดไม่ร้ายแรง ไม่รุนแรง หายได้ จากการติดตามเชื้อที่เปลี่ยนไป การติดตามความรุนแรงที่เกิดขึ้น ถ้าติดตามการแถลงข่าวจากนักวิทยาศาสตร์ของประเทศจีน นั้น ก็มีการติดตามสายพันธุ์ย่อยอย่างเข้มข้น มีการรายงานจากสถานพยาบาลระดับ 1-2-3 มาที่ศูนย์กลาง เป็นข้อมูลที่เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวทั่วโลกและรายงานเกือบทุกวันอยู่แล้ว
ไขข้อข้องใจกับ ศ.นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5 มกราคม 2566