ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพ รวมโปรแกรมสุขภาพ บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิดบริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event Health Economy ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

มะเร็งรักษาได้ทุกที่..ที่พร้อม (CA Anywhere) ทำงานอย่างไร

มะเร็งรักษาได้ทุกที่..ที่พร้อม (CA Anywhere) ทำงานอย่างไร Thumb HealthServ.net
มะเร็งรักษาได้ทุกที่..ที่พร้อม (CA Anywhere) ทำงานอย่างไร ThumbMobile HealthServ.net

ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ กล่าวถึงสถานการณ์คนไข้บัตรทองเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งไว้ว่า ในปี 2565 จำนวนคนไข้ 2.5 แสนราย เพิ่มขึ้นกว่าแสนรายจากปี 2560 คิดเป็นค่ารักษาพยาบาลกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท (ข้อมูลนี้มาจากฐานข้อมูลการจ่ายค่ารักษาพยาบาลของ สปสช.)

 การรักษาโรคมะเร็งมีความยาก ง่าย แตกต่างกันและเป็นที่ทราบกันดีว่า มะเร็งรักษาได้ และจะได้ผลดีมากถ้ารักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
 
สปสช.จึงพัฒนาสิทธิประโยชน์ในการคัดกรองโรคมะเร็งหลายรายการ เช่น คัดกรองมะเร็งปากมดลูก เต้านม ลำไส้ใหญ่ ฯลฯ มุ่งหวังให้ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ ไม่ต้องรอให้มีอาการ
 
หากผลคัดกรองเป็น “บวก” ก็ไป รพ.ให้เร็วเพื่อตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมและเข้าสู่ขั้นตอนการรักษา
 
พูดง่ายครับ แต่ชีวิตจริงไม่ง่ายอย่างนั้น เพราะ รพ.ที่รักษาโรคมะเร็งได้ ต้องมีแพทย์/พยาบาลเฉพาะด้าน ต้องมีเครื่องมือ อุปกรณ์และทรัพยากรเฉพาะด้าน
 
มะเร็งรักษาได้ทุกที่..ที่พร้อม (CA Anywhere) ทำงานอย่างไร HealthServ
 
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และ สปสช.จึงร่วมกันขับเคลื่อนนโยบาย “มะเร็งรักษาได้ทุกที่..ที่พร้อม” หรือ CA Anywhere ภายใต้การสนับสนุนของคุณอนุทิน ชาญวีรกูล ประธานบอร์ด สปสช. เริ่มให้บริการแล้วตั้งแต่ 1 มกราคม 2565 
 
กระทรวงสาธารณสุขออกแบบบริการไว้แบบนี้ครับ
 
เริ่มจาก กรมการแพทย์จัดอบรมให้แต่ละ รพ.มีผู้ประสานงานด้านมะเร็งประจำโรงพยาบาล หรือ Cancer Coordinator เมื่อพบผู้ป่วยรายใหม่ ก็จะทำหน้าที่ประสานงาน จัดคิวและให้ข้อมูลกับผู้ป่วย แทนที่ผู้ป่วยหรือญาติจะต้องไปดำเนินการเอง เพราะผู้ประสานงานจะมีข้อมูลเชิงลึกและมีเครือข่ายการส่งต่อที่มีประสิทธิภาพ จึงทำให้สามารถลดคิวการรอคอยรักษา ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัด การให้เคมีบำบัด และบริการรังสีรักษา
 
ข้อมูลปี 2565 พบว่า ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดภายใน 4 สัปดาห์ร้อยละ 73.89  ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดภายใน 6 สัปดาห์ร้อยละ 74.32 และได้รับการรักษาด้วยรังสีรักษาภายใน 6 สัปดาห์ร้อยละ 65.63 ถึงแม้ว่าการผ่าตัดและเคมีบำบัดจะยังไม่ถึงเป้าหมายร้อยละ 75 แต่ถือว่าใกล้เคียง ส่วนรังสีรักษาทำได้มากกว่าเป้าหมายที่ร้อยละ 60
 
นอกจากนั้นยังอำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยมะเร็งที่ต้องรับการรักษาต่อเนื่องสามารถไปได้โดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัว
 
ส่วนวิธีการรักษาก็เป็นไปตามโปรโตคอลที่กำหนดโดยราชวิทยาลัยแพทย์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทำให้มียาใหม่ๆที่ได้รับบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติรวมอยู่ด้วย ยาบางตัวมีราคาแพงมาก แต่ สปสช.มีกลไกการต่อรอง ทำให้สามารถนำยาดังกล่าวมาใช้ในการรักษาคนไข้บัตรทองได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมแต่อย่างใด
 
อย่างไรก็ตาม การป้องกันย่อมดีกว่าการรักษา แต่ถ้าพบว่าเป็นมะเร็งก็ไม่ต้องตกใจ สามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกที่ แต่หากพบข้อติดขัด สามารถโทรแจ้งสายด่วน สปสช.1330 ได้ตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อช่วยประสานงานนะครับ 

ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ
รองเลขาธิการ สปสช.
11 มีนาคม 2566
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด