ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพ รวมโปรแกรมสุขภาพ บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิดบริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event Health Economy ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ราชกิจจาฯ บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ. 2566

ราชกิจจาฯ บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ. 2566 Thumb HealthServ.net
ราชกิจจาฯ บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ. 2566 ThumbMobile HealthServ.net

2 มิถุนายน 2566 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ. 2566 ฉบับใหม่ มีผลแล้ว

 
 
คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติได้ออกประกาศ ณ วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ. 2566 โดย
 
ให้ยกเลิก

(1) ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2564

(2) ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 13 กันยายน 2565
 
ให้ใช้รายการยาจากสมุนไพรในบัญชีแนบท้ายประกาศนี้ เป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร
ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอนพิเศษ 130 ง วันที่ 2 มิถุนายน 2566 หน้า 45)

ลงนามโดย นายอนุทิน ชาญวีรกูล 
รองนายกรัฐมนตรี
ประธานกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาต


รายการบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร (จากบัญชีแนบท้าย)


    รายการยาจากสมุนไพรที่เป็นรายการบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพรตามประกาศฉบับนี้ หมายถึง รายการยาจากสมุนไพรสำหรับใช้ในโรงพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุข โดยมีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้ เป็นไปตามที่หน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมายได้อนุมัติไว้ หรือเป็นรายการยาจากสมุนไพรที่เป็นเภสัชตำรับโรงพยาบาล (รพ.) ที่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย หรือเป็นไปตามโครงการที่ได้รับอนุมัติโดยคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลัก แห่งชาติด้านสมุนไพร ซึ่งประกอบด้วย บัญชีย่อย 3 บัญชี ได้แก่ บัญชีรายการยาพื้นฐาน บัญชีรายการยาเฉพาะ และบัญชีรายการยาพิเศษ

 
บัญชีรายการยาพื้นฐาน หมายความถึง รายการยาที่ผู้ประกอบวิชาชีพสั่งใช้ได้โดยทั่วไป
 
บัญชีรายการยาเฉพาะ หมายความถึง รายการยาที่ต้องอาศัยการตรวจวินิจฉัยและสั่งใช้ยา โดยแพทย์แผนไทย หรือ แพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ แพทย์แผนปัจจุบันที่ผ่านการอบรมหรือผู้อำนวยการสถานพยาบาลนั้น ๆ มอบหมาย
 
บัญชีรายการยาพิเศษ หมายความถึง รายการยาที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ทางวิทยาศาสตร์จำกัด
และต้องมีการติดตามประสิทธิผล ความปลอดภัย เพื่อนำมาใช้ทบทวนสถานการณ์การบรรจุรายการยาในบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร อย่างน้อยทุก 6 เดือน หรือเมื่อมีข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ทางวิทยาศาสตร์ใหม่ที่เปลี่ยนไปจากที่พิจารณาไว้เดิม
 
โดยรายการยาจากสมุนไพรประกอบด้วย ชื่อยา รูปแบบยา สรรพคุณ/ข้อบ่งใช้และบัญชีย่อย
ปรากฏตามภาคผนวก 1 และมีตัวยาในสูตรตำรับ รายละเอียดของยาแต่ละรายการตามภาคผนวก 2
 
 
 
คำอธิบายรายการยาจากสมุนไพรในบัญชีสำหรับใช้ในโรงพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุข ตามบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ. 2566 ลงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

“ชื่อยา” หมายความว่า ชื่อภาษาไทยที่ใช้เรียกทั่วไปจนเป็นที่รู้จัก หรือที่ระบุไว้ในตำราแพทย์แผนไทย หรือตามที่คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพรกำหนด

“รูปแบบยา” หมายความว่า รูปแบบที่ปรากฏในตำรับที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือตำรับที่ผลิตโดยสถานพยาบาลในสังกัดกระทรวง ทบวง กรมที่ทำหน้าที่ป้องกัน หรือบำบัดโรค โดยในกรณีที่เป็นการผลิตในสถานพยาบาลดังกล่าวจะระบุตัวอักษร "รพ." ไว้ในวงเล็บท้ายรูปแบบยา เช่น ยาเม็ด (รพ.) หมายถึงรูปแบบยาเม็ดที่สถานพยาบาลฯ ผลิต

“เงื่อนไขการใช้ยา” หมายความว่า เงื่อนไขที่ระบุสำหรับการใช้ยาจากสมุนไพรรายการนั้นๆ แล้วแต่กรณี เพื่อเป็นแนวทางในการสั่งใช้ หรือเพื่อประกอบการจัดระบบกำกับ ติดตาม ให้เกิดการใช้อย่างสมเหตุผล เช่น คุณสมบัติของแพทย์ผู้สั่งใช้สถานพยาบาล
 
เสนอเป็น “เงื่อนไขการใช้ยา” หมายความว่า เงื่อนไขที่ระบุสำหรับการใช้ยาจากสมุนไพรรายการนั้นๆ ตามบัญชีแล้วแต่กรณี เพื่อเป็นแนวทางในการสั่งใช้ หรือเพื่อประกอบการจัดระบบกำกับ ติดตาม ให้เกิดการใช้อย่างสมเหตุผล เช่น คุณสมบัติของแพทย์ผู้สั่งใช้สถานพยาบาล

“สูตรตำรับ” หมายความว่า ส่วนประกอบสำคัญของยาจากสมุนไพรรายการนั้นๆ โดยแสดงปริมาณในหน่วยเมตริก ทั้งนี้ไม่รวมส่วนประกอบอื่นที่เป็นสารช่วยในการผลิตยา (pharmaceutical necessities) เช่น สารยึดเกาะสารหล่อลื่น วัตถุกันเสีย วัตถุแต่งสี กลิ่น รส

“สรรพคุณ/ข้อบ่งใช้” หมายความว่า สรรพคุณ/ข้อบ่งใช้ที่อ้างอิงมาจาก

1. สรรพคุณ/ข้อบ่งใช้ตามตำรับยาที่อยู่ในตำราการแพทย์แผนไทย หรือตำรายาที่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติหรือสากล หรือเป็นยาที่เตรียมขึ้นตามหลักการแพทย์แผนไทยและมีการใช้อย่างแพร่หลายตั้งแต่ดั้งเดิมสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน

2. สรรพคุณ/ข้อบ่งใช้ที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์จากการศึกษาฤทธิ์เภสัชวิทยาในสัตว์ทดลองหรือการศึกษาทางคลินิกที่สนับสนุนว่ายาจากสมุนไพรนั้นสามารถบำบัดหรือบรรเทาอาการเจ็บป่วยตามที่ระบุ

“ขนาดและวิธีใช้” หมายความว่า ขนาดการใช้ยาจากสมุนไพรในผู้ป่วย ทั้งผู้ใหญ่และ/หรือเด็ก ระบุปริมาณเป็นช่วงการใช้ยา โดยมีหน่วยของน้ำหนักและปริมาตรเป็นหน่วยเมตริก ยาที่ไม่ระบุการใช้ในเด็ก หมายถึงเป็นยาสำหรับผู้ใหญ่เท่านั้น ทั้งนี้กรณียาแผนไทยที่ไม่มีการระบุน้ำกระสายยาไว้เป็นการเฉพาะ ให้ใช้น้ำสุกเป็นน้ำกระสายยา
 
“คำเตือน” หมายความว่า ข้อมูลสำคัญที่เตือนให้ผู้ใช้ยาทราบถึงความเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดขึ้นหลังจากใช้ยา

“อันตรกริยา” หมายความว่า ปฏิกิริยาระหว่างการใช้ยามากกว่า 2 ชนิดร่วมกันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับยาในเลือด หรือส่งผลต่อผลการรักษาและความปลอดภัยในการใช้ยา ดังนั้นจึงควรระมัดระวังในการใช้ยาที่เกิดอันตรกริยากัน และติดตามการใช้ยาอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้หมายความรวมถึงทั้งการใช้ยาจากสมุนไพร ร่วมกับยาแผนปัจจุบัน หรือการใช้ร่วมกับยาจากสมุนไพรชนิดอื่น

“ข้อห้ามใช้” หมายความว่า ข้อมูลที่อธิบายว่ายาจากสมุนไพรนี้ห้ามใช้ในกรณีใด เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ได้รับอันตรายที่อาจเกิดขึ้น เช่น ยาที่มีส่วนผสมของเจตมูลเพลิงแดง ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากอาจทำให้แท้งหรือเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้

“ข้อควรระวัง” หมายความว่า ข้อมูลที่อธิบายว่ายาจากสมุนไพรนี้ ควรระวังการใช้ในกรณีใดเพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา

“อาการไม่พึงประสงค์” หมายความว่า การตอบสนองต่อยาจากสมุนไพรที่เป็นอันตรายและไม่ได้จงใจให้เกิดขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นในขนาดการใช้ยาตามปกติโดยไม่รวมถึงการใช้ยาเกินขนาด (overdose) หรือการจงใจใช้ยาในทางที่ผิด (abuse) จนเกิดอันตราย

“ข้อมูลเพิ่มเติม” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับยาจากสมุนไพรเฉพาะบางรายการที่ควรทราบ เช่น คำแนะนำและคำอธิบายเพิ่มเติม คุณลักษณะของพืชสมุนไพร การใช้ประโยชน์และวิธีการเตรียมตำรับยาในทางการแพทย์แผนไทยหากคำอธิบายรายละเอียดยาใด ที่ไม่มีข้อมูลหรือยังไม่มีรายงานอาการไม่พึงประสงค์ ให้ถือว่ายาจากสมุนไพรที่มีคุณสมบัติตรงตามรายการยาจากสมุนไพรในภาคผนวก 1 และ 2 เป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร





 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด