ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เวียนหัว "บ้านหมุน" (vertigo) ความผิดปกติของระบบประสาทการรับสัมผัส

เวียนหัว "บ้านหมุน" (vertigo) ความผิดปกติของระบบประสาทการรับสัมผัส HealthServ.net
เวียนหัว "บ้านหมุน" (vertigo) ความผิดปกติของระบบประสาทการรับสัมผัส ThumbMobile HealthServ.net

อาการเวียนหัวบ้านหมุน เป็นอาการที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติทั่วไป และเวชปฏิบัติเฉพาะทางโสตประสาทวิทยา (Neuro-otology) มีความผิดปกติของระบบประสาทการรับสัมผัส เช่น ตาลาย มึนงง เดินเซ อาเจียน ฯลฯ จะส่งผลต่อกิจวัตรประจําวันของผู้ป่วยคล้ายคนพิการต้องพึ่งพาคนอื่น โดยเฉพาะในระยะเฉียบพลัน ผลกระทบรุนแรงของอาการเวียนศีรษะหมุนหรือเดินเซเรื้อรัง จะเพิ่มความเสี่ยงในการหกล้ม ซึ่งอาจมีกระดูกหักหรืออาจถึงแก่ชีวิตในผู้สูงอายุ

เวียนหัว "บ้านหมุน" (vertigo) ความผิดปกติของระบบประสาทการรับสัมผัส HealthServ
เวียนศีรษะหมุน (vertigo) หรือทั่วไปรู้จักกันว่า "อาการบ้านหมุน"
 
เป็นความรู้สึกหลอนว่าตัวเองมีการเคลื่อนไหว (illusion of movement) ซึ่งมักเคลื่อนไหวในเชิงหมุน (rotation) ผู้ป่วยอาจรู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมรอบตัวหมุน หรือตัวเองหมุน บางรายอาจมีอาการโยกในแนวตรง (linear) หรือรู้สึกคล้ายจะพลิกตกลงจากเตียง แต่ในความเป็นจริง ทั้งตัวเราเองและสิ่งแวดล้อมไม่ได้เคลื่อนไหวร้อยละ 85 ของผู้ป่วยมีพยาธิสภาพอยู่ในระบบประสาท vestibular ส่วนปลาย และร้อยละ 15 จะมีพยาธิสภาพอยู่ในระบบประสาท vestibular ส่วนกลาง อาการเวียนศีรษะหมุน จะต้องแยกออกจากอาการเวียนศีรษะ (dizziness) ซึ่งเป็นอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง ป่วยมักใช้อธิบายความรู้สึกไม่สบายที่เกิดจากการรบกวนสภาวะรับรู้การทรงตัวของร่างกายโดยระบบประสาทการรับสัมผัสระบบใดระบบหนึ่งหรือหลายระบบ ได้แก่ระบบประสาทการมองเห็น (visual) ระบบประสาทรับความรู้สึกของข้อต่อทั่วร่างกาย (proprioceptive) ระบบประสาท vestibular และ สมองน้อย (cerebellum) รวมทั้งทางเดินประสาทเชื่อมโยงซึ่งทําหน้าที่รวบรวมสัญญาณประสาทสัมผัสขาเข้าจากระบบทั้ง 3 
 
นอกจากนี้ต้องแยกอาการเวียนศีรษะหมุน ออกจากอาการหน้ามืดคล้ายจะเป็นลม (presyncopal lightheadedness) และอาการเดินเซ (dysequilibrium) โดยไม่มีอาการเวียนศีรษะหมุนโดยอาศัยการซักประวัติ และสังเกตุอาการทางพยาธิสรีรวิทยาดังจะกล่าวต่อไป
กลไกทางพยาธิสรีรวิทยาของอาการเวียนศีรษะหมุน เวียนศีรษะชนิดต่างๆ และเดินเซ

ประเภท กลไก
1. Vertigo เสียสมดุลอย่างเฉียบพลันของสัญญาณประสาท vestibular สองข้าง
 
2. Fainting, lightheadedness, floating, pre-syncope เลือดขึ้นสมองไม่ทัน หรือสมองขาดเลือด ไม่ใช่เส้นเลือดตีบ อาจเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนท่าจากนอนเป็นนั่ง นั่งเป็นยืน หรือจากสาเหตุ
ทางเมตาบอลิซึม ขาดสารอาหารในเลือด เช่น น้ําตาล
 
3. Dizziness
3.1 Physiologic
สัญญาณประสาทที่รับสิ่งเร้าตามสรีรวิทยาเข้าจากระบบทั้ง 3 ไม่เข้ากัน (mismatch) ทําให้ ขาดสมดุล และมีอาการทางระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น เมารถ เรือ กลัวความสูง
 
3.2 Psychophysical
มึนลอย หมุนในหัว คิดอะไรไม่ออก ไม่แจ่มใส ไม่สมดุล โยกเยก หรือรู้สึกจะล้ม ความสัมพันธ์รับรู้สิ่งแวดล้อมลดลง หรือประสาทรับรู้เสื่อม สมองตื้อ คล้ายกับคนนอนไม่พอ เกี่ยวข้องกับอาการทางจิตใจ ไม่เป็นตัวของ
ตัวเอง พบบ่อยหลังความเครียดหรือการเจ็บป่วยทางกาย อาจเป็นติดต่อกันเป็นเวลานาน มักมีอาการทางกายอื่น เช่น อ่อนเพลีย และมักเกิดอาการขณะที่มีสิ่งเร้า หรือขณะเข้าสังคม
 
3.3 Visual dizziness
มึนงง ตาลาย เคลื่อนไหวช้า ประสาทรับภาพเสื่อมลงหรือ ระบบประสาทควบคุมการกลอกตาไม่ทัน
กับสภาพที่เคลื่อนที่เร็ว
 
3.4 Multi-system dizziness
มึนงง เซ ขาดความมั่นใจ ระบบรับสัมผัสหลายระบบเสื่อม โรคทางกายที่เป็นเรื้อรัง หรืออาจเป็น
ผลจากยาที่ได้รับ
 
4. Dysequilibrium, instability
ทรงตัวไม่ปกติ ความผิดปกติของสมองใหญ่ สมองน้อย ทางเดินประสาทไปยังกล้ามเนื้อแขนและขา หรือทางเดินประสาทที่รับสัมผัสจากแขน-ขา และข้อต่อหรือระบบประสาท vestibular สองข้าง 
 
 
 

อาการและอาการแสดง

นอกจากอาการเวียนศีรษะหมุน, เวียนศีรษะลักษณะต่างๆ และอาการเดินเซ ดังกล่าวไว้ข้างต้น ผู้ป่วยอาจมีความผิดปกติอื่นที่มักเกิดร่วม ได้แก่อาการทางหูและการได้ยิน อาการทางระบบประสาท ระบบประสาทอัตโนมัติ อาการทางจิตใจ และอาการทั่วไปอื่น (15)
 
1. อาการทางหูและการได้ยิน (otologic symptoms) ได้แก่ หูอื้อ การได้ยินลดลง (hearing loss) อาจเกิดทันทีทันใดร่วมกับอาการเวียนศีรษะหมุน หรือเกิดนํามาก่อน ลักษณะสูญเสียการได้ยินอาจเป็นๆ หายๆ (fluctuating) หรือแบบ ลุกลาม (progressive) อาการปวดหู (otalgia) แน่นหู (aural fullness) เสียงดัง
รบกวนในหู (tinnitus) มีของเหลวไหลออกจากหู หรืออาจมีความผิดปกติของการได้ยินชนิดอื่นๆ ได้แก่ ความไวของการได้ยินมากกว่าปกติ (hyperacusis) ได้ยินเสียงเป็นสองเสียง (diplacusis) ได้ยินเสียงเพี้ยนไม่สบายหู (dysacusis) ได้ยินเสียงดังมากผิดปกติเมื่อเพิ่มความดังขึ้นเพียงเล็กน้อย (recruitment) กลัวเสียง
(phonophobia) อาการเวียนศีรษะหมุนเมื่อได้ยินเสียงดังมาก หรือปรากฏการณ์Tullio

 
2. อาการทางระบบประสาท (neurologic symptoms) ได้แก่ ปวดศีรษะอาการไมเกรน ตาพร่า ตามัวชั่วครู่ (amaurosis fugax) กลัวแสง (photophobia)เห็นภาพซ้อน (diplopia) ตากระตุก ตาลาย มองภาพไม่ชัด (oscillopsia) หลับตาไม่สนิท ใบหน้าเบี้ยว ใบหน้าชา กลืนลําบาก สําลักอาหาร เคี้ยวอาหารลําบาก เสียงแหบ พูดลําบาก พูดไม่ชัด มือสั่น แขน-ขาไม่มีแรง เป็นอัมพาต หรือชา เดินเซ ล้มบ่อย ชัก เกร็ง กระตุก คอแข็ง ก้มลําบาก มีปัญหาความจําหรือสมาธิ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หมดสติหรือ drop attacks oscillopsia คืออาการเห็นภาพสั่นไหว มองภาพไม่ชัด โฟกัสไม่ได้ ในการตรวจสายตาจะมีค่าปกติ มีอาการมากขณะเคลื่อนไหวศีรษะหรือขณะเดิน มักพบในโรคระบบประสาท vestibular ส่วนกลางหรือภาวะ bilateral vestibulopathy
ส่วนปลายชนิดเฉียบพลัน แต่ในผู้ป่วยที่มีภาวะ unilateral vestibulopathy ส่วนปลายอักเสบเฉียบพลัน อาจพบอาการตากระตุก (nystagmus) ที่ทําให้เห็นภาพสั่นไหวได้
 
3. อาการทางระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic symptoms) ได้แก่ อาการใจสั่น เหงื่อออกมาก (diaphoresis) หน้าซีด และอาการทางระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว ฯลฯ นอกจากนี้ระบบประสาทอัติโนมัติทํางานผิดปกติ หรือล้มเหลว (dysautonomia) พบความดันโลหิตลดลงมากกว่า
หรือเท่ากับ 20 มิลลิเมตรปรอท ขณะลุกยืนนานกว่า 60 วินาที (postural/orthostatic hypotension) พบบ่อยในผู้สูงอายุ เกิดจากการไหลเวียนโลหิตไม่ปกติ ขาดน้ําและเกลือแร่ ผลข้างเคียงจากยาหรือ ได้รับยาหลายขนาน

4. อาการทางจิตใจ (psychiatric symptoms) ได้แก่ อาการวิตกกังวล เครียดซึมเศร้า หงุดหงิดง่าย อยู่ไม่สุข ไม่อยากให้ใครรบกวน หวาดกลัว ตื่นตระหนก
 
5. อาการทั่วไปอื่น (vegetative symptoms) ได้แก่ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ใจเต้นแรง แน่นหน้าอก คล้ายจะเป็นลม ภาวะระบายลมหายใจเร็วเกิน (hyperventilation) ตัวรุมๆ คล้ายเป็นไข้ ขี้ร้อน (temperature intolerance) อาการและอาการแสดงที่แตกต่างกันไปตามตําแหน่งพยาธิสภาพ และพยาธิกําเนิด จะช่วยให้แพทย์สามารถแยกตําแหน่งรอยโรคได
 
 


การวินิจฉัย และการวินิจฉัยแยกโรค

จากการซักประวัติ และตรวจร่างกายอย่างละเอียด สามารถให้การวินิจฉัยโรคที่เป็นสาเหตุของอาการเวียนศีรษะหมุนที่ถูกต้องได้ถึงร้อยละ 80-90 (1, 2, 4, 14) ซึ่งสามารถให้การวินิจฉัยและทําการรักษาได้ในระดับปฐมภูมิ (primary care)
 
 
 
ในการซักประวัติเพื่อแยกชนิดของสาเหตุ หรือรอยโรคของผู้ป่วยเวียนศีรษะหมุน นิยมใช้ชุดคําถามต่อไปนี้ 
1. อาการเวียนศีรษะหมุนหรือไม่หมุน เพื่อแยกชนิดของอาการเวียนศีรษะ
 
2. อาการเวียนศีรษะหมุนเกิดขึ้นเองหรือเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนท่าศีรษะ โดยเฉพาะการพลิกตะแคงตัวบนที่นอน เงยศีรษะ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรค BPPV หรือ อาจเกี่ยวข้องกับโรคของกระดูกต้นคอ ในการตรวจด้วย Dix-Hallpike maneuver จะต้องแยกลักษณะของ nystagmus ที่เกิดจากรอยโรคในระบบประสาทส่วนปลาย (BPPV)และส่วนกลางออกจากกัน
 
3. อาการเวียนศีรษะหมุนเป็นมาครั้งแรกหรือเคยเป็นมาก่อนซ้ําๆ (recurrent attacks)ในผู้ป่วยที่มีอาการเวียนศีรษะหมุนครั้งแรก ไม่ควรให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคเมนิแอร์เนื่องจากในเกณฑ์การวินิจฉัย จะต้องมีอาการเป็นครั้งที่สอง จึงจะเข้าได้กับโรคdefinite Meniere&’s disease
 
4. อาการที่เกิดร่วมด้วย (associated symptoms) จากตารางที่ 3 สามารถช่วยแยกตําแหน่งรอยโรคและแสดงถึงความรุนแรงของการลุกลาม หากมีอาการที่เกิดร่วมมาก
 
5. ระยะเวลาของอาการเวียนศีรษะหมุน (duration of attacks) มีความสําคัญในการบอกพยาธิกําเนิด (ตารางที่ 5) หากอาการเวียนศีรษะหมุนเป็นวินาที มักเกิดจากการเปลี่ยนท่าของศีรษะในโรค BPPV ซึ่งต้องมีประวัติสัมพันธ์กับท่าที่เฉพาะ หรืออาจเกิดจากโรคVBI ถ้าอาการเวียนศีรษะหมุนนานเป็นนาทีจนถึงชั่วโมง อาจเกิดจาก VBI, vestibularmigraine หรือโรคเมนิแอร์ ถ้ามีอาการนานเป็นวัน อาจเกิดจากโรค vestibular neuronitis โรคหลอดเลือดอุดตันของหูชั้นใน ก้านสมอง หรือสมองน้อย ส่วนความถี่ต่อสัปดาห์หรือเดือน (frequency of attacks) จะแสดงความรุนแรงของโรคที่ลุกลามมากขึ้น และใช้ในการประเมินการรักษา ซึ่งความถี่ควรจะลดลง
 
6. ปัจจัยที่ทําให้เกิดอาการ (provoking factors) จากตารางที่ 6 สามารถช่วยแยกสาเหตุของโรค หรือตัวกระตุ้นให้โรคกําเริบได้ ซึ่งจะเกิดประโยชน์ทั้งในการวินิจฉัยแยกโรคและการป้องกันการกําเริบของอาการเวียนศีรษะหมุนในอนาคต ส่งผลดีต่อการดูแลรักษาผู้ป่วย
 
7. ประวัติโรคประจําตัว และการใช้ยาประจํา โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ และผู้ป่วยเรื้อรัง เป็นที่ทราบกันดีว่า มียากว่า 300 ชนิดที่มีผลข้างเคียงทําให้เกิดอาการเวียนศีรษะ/เวียนศีรษะหมุน รวมทั้งผู้ป่วยเรื้อรังที่ได้รับยาจํานวนมาก เสี่ยงต่อผลข้างเคียงและปฏิกิริยาต่อกันของยา แพทย์จึงมีหน้าที่ต้องตรวจสอบชนิดของยา และปริมาณยาให้เหมาะสมรวมทั้งการใช้ยาให้ตรงวัตถุประสงค์
 
8. ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวินิจฉัยโรคที่เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดทั้งส่วนสมอง สมองน้อย ก้านสมองและหูชั้นใน

9. นิสัยการบริโภคอาหารรสจัด สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ หรือสารเสพติดอื่นเนื่องจากอาหารรสเค็มจัด สามารถกระตุ้นอาการของโรคเมนิแอร์และจะทําให้อาการทรุดลงเรื่อยๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการมีอาการซ้ํา ทําให้ประสาทหูเสื่อมถาวร จึงมีผู้แนะนําให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยง CATS (caffeine, alcohol, tobacco, stress/salt)
 
10. ประวัติภยันตรายหรือการผ่าตัดบริเวณศีรษะ หู ใบหน้า และต้นคอ หรือภยันตรายจากความดันอากาศ เสียงดัง เสียงระเบิด การจัดกระดูกคอ เป็นสาเหตุโดยตรงต่อสมองและหูชั้นใน (cerebral /labyrinthine concussion) หรือโดยอ้อมอาจทําให้หลอดเลือดบริเวณต้นคอเกิดฉีกขาด หรืออุดตัน (vertebral artery dissection) นอกจากนี้การกระทบกระเทือนอาจทําให้ผลึกแคลเซียม (otolith/otoconia) ในหูชั้นในหลุดจาก
ฐาน ทําให้เกิดโรค BPPV ในภายหลังได้
 
 

การรักษาและป้องกันโรค

ในการรักษาผู้ป่วยเวียนศีรษะหมุน จําเป็นอย่างยิ่งที่แพทย์ผู้ดูแลจะต้องเข้าใจการดําเนินโรค ตลอดจนกลไกการปรับสภาวะของสมองส่วนกลาง และจัดการให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ซึ่งมีแนวทางในการดูแลผู้ป่วยดังนี้
1. การบริหารการทรงตัว (adaptation exercises)
2. การช่วยเหลือด้านจิตใจ (psychological supports)
3. การรักษาทางยา (pharmacotherapy)
 
 
 

1. การบริหารการทรงตัว สําหรับผู้ป่วยเวียนศีรษะหมุน (adaptation exercises)

เป็นการจัดการบริหารศีรษะ ตา และร่างกาย อย่างเป็นระบบ โดยการจัดกลุ่มการเคลื่อนไหวของตา คอ ศีรษะ หรือร่างกาย สําหรับผู้ป่วยเวียนศีรษะ แบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ (20,22)
 
ก. การบริหารแบบทั่วไป ใช้ได้กับผู้ป่วยที่มีอาการเวียนศีรษะหมุน ที่เกิดจากสาเหตุใดใดเมื่ออาการเริ่มทุเลา และสามารถเริ่มทํากิจวัตรประจําวันได้บ้าง ได้แก่ การบริหารการทรงตัวแบบ Cawthorne & Cooksey (ค.ศ. 1945)
 
ข. การบริหารสําหรับโรค BPPV มีหลายวิธี เช่น การบริหารแบบ Brandt-Daroff exercises (ค.ศ. 1980), rolling in bed, หรือการหมุนศีรษะ canalith repositioning maneuvers โดยวิธีของ Semont (ค.ศ. 1988) หรือ Epley (ค.ศ. 1992) ฯลฯ
 
ค. การบริหารเฉพาะบุคคล โดยคํานึงถึงความเหมาะสมในด้านสรีร-พยาธิวิทยา ซึ่งจะกําหนดโดยผู้เชี่ยวชาญ ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยคนใดคนหนึ่ง customized exercise แนะนําโดย Shepard (ค.ศ. 1993) หรือ Herdman (ค.ศ. 1994) รายละเอียดของวิธีการบริหารร่างกายแบบต่างๆ ศึกษาได้จากเว็บไซด์ www.emedicine.com

ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารการทรงตัว ได้แก่ การฝึกท่าทางที่ไม่ถูกต้อง ขาดกําลังใจ แรงจูงใจ ขาดสมาธิ ไม่มีความพยายาม ขาดจินตนาการในด้านที่ว่างและตําแหน่งต่างๆ ในสิ่งแวดล้อม ระยะเวลาที่เริ่มทําการฟื้นฟู อาการเวียนศีรษะหมุนที่เป็นๆ หายๆ ระดับความสามารถก่อนฟื้นฟู การได้รับภยันตรายที่ศีรษะ ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลางการได้รับยากดการทํางานของระบบประสาท และอายุของผู้ป่วย (21)
 
 

2. การช่วยเหลือด้านจิตใจ (psychological supports)

เมื่อผู้ป่วยเกิดอาการเวียนศีรษะหมุน จะมีความวิตกกังวลเกิดขึ้น ร่วมกับการทํางานมากขึ้นของระบบประสาทอัติโนมัติ มีอาการหายใจสั้น เร็ว ทําให้อาการเวียนเป็นมากขึ้น ยิ่งทําให้อาการวิตกกังวลเป็นเพิ่มตามไปอีก เมื่ออาการเป็นนานเข้า ความรู้สึกซึมเศร้าจะร่วมกับอาการวิตกกังวล ทําให้ผู้ป่วยแยกตัวจากสังคม การงาน และครอบครัว อยู่คนเดียว อาการซึมเศร้าจะยิ่งกําเริบ ทําให้จํากัดกิจวัตรประจําวันต่างๆ รวมถึงการออกกําลังกายตามปกติ ไม่อยากไปไหน ไม่อยากทําอะไร นั่งๆ นอนๆ ไปวันๆ ทําให้กลไกการปรับสภาวะไม่ได้ผล อาการเวียนศีรษะจึงไม่หาย ดังนั้นในการดูแลผู้ป่วยควรตัดวงจรต่างๆ ออกเป็นส่วนๆ เท่าที่จะทําได้ ได้แก่

ก. การให้คําแนะนํา อธิบายถึงพยาธิสภาพ และการให้กําลังใจ (psychological support) เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจ มีกําลังใจในการฟื้นฟูสมรรถภาพ

ข. การทําความเข้าใจให้ความรู้แก่ญาติ ผู้ดูแล นายจ้าง หรือผู้บังคับบัญชา เพื่อยืนยันถึงความผิดปกติของผู้ป่วย มิได้เป็นการจงใจหรือแกล้งทําและมีโอกาสหายเป็นปกติได้

ค. การป้องกันปัญหาทางจิตเวช เช่น อาการหวาดกลัว วิตกกังวล หรือซึมเศร้า ฯลฯ

ง. การจัดกายบริหารง่ายๆ ให้ผู้ป่วยทําสําเร็จ เพื่อจะได้มีกําลังใจต่อไป
 
 

3. การรักษาทางยา (pharmacotherapy)

การดูแลรักษาผู้ป่วย ที่ได้การวินิจฉัยโรคเฉพาะ มีแนวทางให้การรักษาที่เจาะจงสําหรับโรคที่ตรวจพบ ร่วมกับการให้ยารักษาตามอาการ แต่หากไม่พบสาเหตุของโรคที่ชัดเจน หรือโรคที่ยุติได้เอง อาจให้การรักษาสําหรับบรรเทา หรือควบคุมอาการเวียนศีรษะหมุนเท่านั้น การรักษาหลัก ได้แก่

ก. การให้ยารักษาสาเหตุเฉพาะ (specific) ที่ทําให้เวียนศีรษะหมุน ได้แก่ การลดอาหารเค็มใน Ménière&’s disease หรือการให้ยาปฏิชีวนะสําหรับการอักเสบติดเชื้อของหูชั้นในที่เกิดเนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือ ซิฟิลิส (syphilitic labyrinthitis) หรือการให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulants) หรือ ยาต้านเกร็ดเลือด (antiplatelets) ในรายที่เกิดเวียนศีรษะหมุนจากการอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองหรือหูชั้นใน ซึ่งแสดงไว้ในตารางที่ 7 
 
ข. การให้ยารักษาตามอาการ (symptomatic) ขึ้นกับอาการของผู้ป่วย ส่วนมากจะให้ยาต้านอาการเวียนศีรษะหมุน และอาการอาเจียน ซึ่งมีอยู่หลายกลุ่มตามตารางที่ 8 ในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการเวียนศีรษะหมุน มักจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และอาการของระบบประสาทอัตโนมัติร่วมด้วย ได้แก่ อาการใจสั่น หน้าซีด และหวาดกลัวอย่างมาก ยาที่สามารถระงับอาการต่างๆ เหล่านี้ จะทําให้อาการของผู้ป่วยโดยรวมดีขึ้น ซึ่งยาส่วนใหญ่จะถูกจัดเป็นยาในกลุ่ม vestibular suppressants และยาต้านอาการอาเจียน
 

หลักการให้ยารักษาอาการเวียนศีรษะหมุน

1. ระยะเฉียบพลันของโรค ที่เกิดจากรอยโรคในระบบประสาท vestibular ส่วนปลายในระยะไม่เกิน 3 วันแรกของอาการเวียนศีรษะหมุน โดยอาจให้ตามเวลาทุก 8 ชม. เมื่อถึงระยะฟื้นตัวเกิดกลไกการปรับสภาวะ ปรับลดโดยให้เฉพาะเมื่อมีอาการเท่านั้นและนานไม่เกิน 2-3 สัปดาห์เป็นอย่างช้า

2. อาการเวียนศีรษะหมุนเฉียบพลัน จากรอยโรคในระบบประสาท vestibular ส่วนกลาง โดยเฉพาะที่มีอาการรุนแรง คลื่นไส้อาเจียนมาก

3. ในโรคที่มีพยาธิสภาพอยู่ในระบบประสาท vestibular ส่วนปลาย แต่การดําเนินโรค มีลักษณะเป็นๆ หายๆ หรือเป็นโรคที่ไม่หายขาด โดยเฉพาะ Ménière&’s disease อาจต้องให้ยารักษาเฉพาะโรคติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน 6 – 12 เดือน และในปริมาณสูง (13) ร่วมกับยารักษาอาการเวียนศีรษะหมุนเมื่อมีอาการเฉียบพลัน

4. โรค BPPV ที่มีอาการรุนแรงมาก อาจให้ยา dimenhydrinate 1 เม็ด ครึ่งชม. ก่อน การบริหารการทรงตัว หรือหมุนศีรษะด้วย canalith re-positioning maneuvers

5. การใช้ยากดระบบประสาท vestibular ในผู้ป่วยเมารถอย่างรุนแรง การเลือกใช้ยาขึ้นกับคุณสมบัติของยาแต่ละตัว ความรุนแรงของโรค พยาธิวิทยาของโรค ตลอดจนระยะเวลาของอาการที่เกิดขึ้น ว่าเป็นระยะใดของโรค เฉียบพลันหรือเรื้อรัง

 

ข้อควรระวัง

การรักษาทางยาในผู้ป่วยเวียนศีรษะหมุน ต้องคํานึงถึงการดูแลอื่นที่ขาดไม่ได้ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษาให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
 
1. เลือกยาแก้เวียนศีรษะหมุน ที่ต้องการ ตามข้อบ่งชี้ และหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงของยาซึ่งยาบางกลุ่มมีผลข้างเคียงต่อระบบประสาท ทําให้มีอาการง่วงซึม เสี่ยงต่อการล้มหรือมีปัญหาปัสสาวะไม่ออก หรืออาการมือสั่น เกร็งจากระบบ extrapyramidal system (EPS) ได้ง่าย

2. ผู้ป่วยที่มีอาการเวียนศีรษะหมุน และอาเจียนอย่างรุนแรง ควรใช้ยาฉีด หรือยาแปะผิวหนัง (transdermal) หรือยาเหน็บสวนทวาร และควรได้รับการดูแลในเรื่องสุขภาพทั่วไป เช่น สมดุลของสารอาหาร น้ํา และเกลือแร่ ให้ได้รับอย่างเพียงพอ

3. ให้คําแนะนําทั่วไป ห้ามใช้ยาในขณะขับขี่ยานพาหนะ ใช้เครื่องมือที่อาจเป็นอันตรายหรือทํางานในหน้าที่ที่อาจเป็นอันตรายได้ เช่น ทํางานบนที่สูง และไม่ควรรับประทานยาร่วมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือยาที่มีฤทธิ์กดประสาทชนิดอื่น

4. หลีกเลี่ยงการใช้ยาในเด็กเล็ก และหญิงมีครรภ์ ระมัดระวังการใช้ยาในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีประวัติแพ้ยา  
 
 
5. หากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่า อาการเวียนศีรษะหมุนเกิดจากยา หรือผู้ป่วยได้รับยาที่ทําให้อาการเป็นมากขึ้น หรือทําให้การปรับสภาวะล่าช้า หลักการรักษาต้องหยุดหรือปรับลดปริมาณของยาที่เป็นสาเหตุดังกล่าวลง ไม่สามารถให้ยาตัวที่สอง เพื่อแก้

 

อาการเวียนศีรษะที่เกิดจากยาใดใดได้

อาการเวียนศีรษะหมุนที่อันตราย หมายถึง อาการเวียนศีรษะหมุนที่มีอาการรุนแรง หรือเกิดจากสาเหตุที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต หรือหากปล่อยทิ้งไว้อาจทําให้เกิดความพิการต่อผู้ป่วยและจะต้องพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเร็ว ได้แก่
1. เวียนศีรษะหมุนอย่างรุนแรง คลื่นไส้-อาเจียนมาก ทานอาหารและยาไม่ได้
2. อาการเป็นซ้ํา มากขึ้น หรือเป็นตลอดเวลาและนานกว่า 6 สัปดาห์
3. มีการสูญเสียการได้ยินชนิดเฉียบพลัน หรือชนิดลุกลาม (acute or progressive)
4. มีโรคประจําตัว ใช้ยาจํานวนมาก หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดอุดตัน
5. หมดสติ ชัก หรือ มีอาการทางระบบประสาทร่วมด้วย
 

การป้องกัน

ขึ้นกับว่าเกิดจากโรคใด
 
1. โรคที่มีอาการเพียงครั้งเดียว เมื่อหายแล้วจะไม่กลับเป็นอีก ได้แก่ การติดเชื้อไวรัสในหูชั้นใน หรือ โรค vestibular neuritis แต่อาจมีอาการอีกได้ในหูข้างที่เหลือต้องทําการป้องกันปัจจัยต่างๆ ที่เป็นสาเหตุ
 
2. โรคที่เป็นๆ หายๆ อาจสงบไปเองตามการดําเนินของโรค หากป้องกันได้การกลับกําเริบของโรคจะลดลง อาจรับประทานยาเมื่อมีอาการ ได้แก่ Ménière&’s disease ระยะแรก โดยการป้องกันปัจจัยกระตุ้น เช่น อาหารรสเค็มจัด คาเฟอีนความเครียด ฯลฯ
 
3. โรคที่เป็นๆ หายๆ ตลอด หรืออาจลุกลามมากขึ้น จําเป็นต้องรับประทานยา เพื่อป้องการการกําเริบของอาการ และการลุกลามของโรค ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน ในกลุ่ม VBI หรือ Ménière&’s disease ระยะที่ 2-4
 
4. การรักษาสุขภาพให้แข็งแรง มีประโยชน์ในด้านการป้องกันไม่ให้มีอาการเวียนศีรษะหมุน และป้องกันการกําเริบของอาการของโรคที่เป็นอยู่ ได้แก่ หลัก 5 "อ"
 
ได้แก่
ก. อย่าอดนอน พักผ่อนให้เพียงพอ
ข. ออกกําลังกายสม่ําเสมอ
ค. อยู่ในที่อากาศถ่ายเท
ง. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยง CATS: Caffeine-AlcoholTobacco-Salt, และผงชูรส (MSG)
จ. ระงับอารมณ์ ผ่อนคลายจากความเครียด-Stress

 
5. การป้องกันปัจจัยเสี่ยงอื่น ได้แก่ ป้องกันอุบัติเหตุ เช่น สวมหมวกกันน็อกขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ ฯลฯ ป้องกันและหลีกเลี่ยงภาวะติดเชื้อ ไข้หวัด ไวรัสชนิดต่างๆ, สวมเครื่องป้องกันเสียงดังเกินหรือหลีกเลี่ยงการเที่ยวสถานที่ที่มีเสียงดังเกิน, ควรสวมอุปกรณ์ความปลอดภัยขณะทํางานในที่เสี่ยง-ที่สูง เครื่องมืออันตราย, หลีกเลี่ยงหรือระมัดระวังการใช้ยาหรือสารที่มีพิษต่อหูชั้นใน รวมทั้งแอลกอฮอล์

 

บทสรุป

อาการเวียนศีรษะเป็นอาการที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติ อาการเวียนบ้านหมุนเป็นอาการที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย และอาการเรื้อรังอาจทําให้การดําเนินชีวิตผู้ป่วยขัดข้อง จนเกิดความผิดปกติทางจิตใจตามมา
 
ผู้ป่วยบางรายอาจพบสาเหตุมากกว่าหนึ่งอย่าง อาจผสมกันระหว่างสาเหตุในระบบประสาท vestibular ส่วนกลางและส่วนปลาย หรืออาจมีสาเหตุในระบบประสาทส่วนปลายสองชนิด ความพยายามในการซักประวัติและตรวจร่างกายโดยละเอียดสามารถให้การวินิจฉัยโรคได้ร้อยละ 80-90 ของผู้ป่วย โดยไม่จําเป็นต้องใช้การตรวจทางห้องปฏิบัติการแพทย์ผู้ดูแลจะต้องทําการตรวจหาสาเหตุหลักของอาการเวียนบ้านหมุนชนิด BPPV โดยเฉพาะในรายที่ไม่มีประวัติอุบัติเหตุที่ศีรษะ และรายที่มีอาการเป็นซ้ําสําหรับอาการเวียนศีรษะหมุนที่มีเกณฑ์การวินิจฉัยอย่างชัดเจน สามารถกระทําได้โดยง่าย ซึ่ง Ménière&’s disease และ vestibular migraine สามารถใช้เกณฑ์ทางคลินิกที่มีผู้นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ทําการวินิจฉัยได้อย่างถูกต้อง

โรคทั้งสองเป็นโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและบริบทของผู้ป่วย จึงควรพิจารณาระยะของโรค รวมถึงปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องและมีผลต่อการดําเนินโรค ได้แก่ ความเครียด ทั้งร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย สภาวะโภชนาการและสิ่งกระตุ้นทําให้มีอาการการฟื้นฟูการทรงตัวในผู้ป่วยเวียนศีรษะหมุน ต้องเข้าใจหลักการของกลไกการปรับสภาวะของระบบประสาท vestibular มีประโยชน์ไม่ว่าอาการของผู้ป่วยจะเกิดจากสาเหตุใดร่วมกับการช่วยเหลือด้านจิตใจ เพื่อป้องกันสภาวะแทรกซ้อนที่จะทําให้เกิดอาการเรื้อรังการรักษาด้วยยาเฉพาะขึ้นกับสาเหตุของโรค ส่วนยารักษาตามอาการควรเลือกให้เหมาะสมตามหลักการใช้ยา และระมัดระวังผลข้างเคียงจากยาโดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ หากอาการเวียนศีรษะหมุนเกิดจากยา จะต้องปรับลดยาหรือหยุดยาที่เป็นสาเหต
 
 
  • กรมแพทย์แผนไทย  รศ. นพ.จันทร์ชัย เจรียงประเสริฐ คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด