ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

บุหรี่กับโรคหัวใจ

บุหรี่กับโรคหัวใจ HealthServ.net
บุหรี่กับโรคหัวใจ ThumbMobile HealthServ.net

สัมภาษณ์แพทย์หญิงวิไล พัววิไล อายุรแพทย์โรคหัวใจ ช่วง Health Talk ในรายการ Happy & Healthy ทางสถานีวิทยุ ขสทบ. FM.102 MHZ 9.00-10.00 น.ดำเนินรายการโดย ปัทมพร บุพพะกสิกร และทีมงาน

ฟังการถอดเทป จากการสัมภาษณ์แพทย์ ช่วง Health Talk ในรายการ Happy&Healthy ทางสถานีวิทยุ ขสทบ. FM.102 MHZ 9.00-10.00 น.ดำเนินรายการโดย ปัทมพร บุพพะกสิกร และทีมงาน
หัวข้อ บุหรี่ กับโรคหัวใจ  วิทยากร แพทย์หญิงวิไล พัววิไล อายุรแพทย์โรคหัวใจ 

 
DJ: การสูบบุหรี่ถ้าสูบเข้าไปแล้วมันจะทำอะไรกับหลอดเลือดแดง?
 
พญ.วิไล: ในควันบุหรี่จะมีสารที่ไม่ดีอยู่ เช่น สารนิโคตินและยังมีสารหลายตัวที่ไม่ดีทั้งสิ้น สารเหล่านี้เมื่อดูดซึมเข้ากระแสเลือด มีผลโดยตรงต่อต่อมหมวกไต ก่อให้เกิดการหลั่งสารเอพิเนฟริน (Epinephrine) ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น 
 
 หัวใจเต้นเร็วขึ้น หลอดเลือดแดงหดตีบตัน เพิ่มไขมันในเลือด สิ่งเหล่านี้มีพิษภัยหลายอย่างเหมือนกับหลอดเลือดแดงที่หัวใจ จะกล่าวตามลำดับดังนี้
 
1. มันจะช่วยให้ไขมันตัวร้าย LDL ควันบุหรี่นั้นจะทำให้ไขมันตัวร้ายนั้นมีพิษมากขึ้นเรียกว่าอกซิไดซ์ เหมือนกับอนุมูลอิสระ เพราะฉะนั้นมันก็จะทำลายเยื่อบุของหลอดเลือดแดงที่หัวใจมากขึ้น ทำให้ไขมันตัวร้ายLDLนั้น ไปเกาะในผนังหลอดเลือดได้ง่ายขึ้น ฉะนั้นควันบุหรี่ทำให้หลอดเลือดแดงแข็งและทำให้ไขมันไปเกาะในผนังหลอดเลือด
 
2.จะทำให้ก้านไขมันที่เกาะอยู่ในผนังหลอดเลือดอักเสพง่ายขึ้น มันจะช่วยทำให้เยื่อที่เกาะในผนังหลอดเลือดทำให้เยื่อบุผนังหลอดเลือดอักเสพ ถ้ามันอักเสพมันก็จะแตกง่ายขึ้น ถ้าก้านไขมันแตกก็จะทำให้เกร็ดเลือดไปเกาะเป็นกลุ่มก้อนใหญ่ๆและจะมีไบบีโนเยนมันจะถ่ายอยู่ตลอด ในกระแสเลือดทุกคนจะมีหมด      สารนิโคตินและสารอื่นๆ ในควันบุหรี่ที่เชื่อว่าเป็นสาเหตุร่วมคือสารแคดเมี่ยม ไนตริคออกไซด์ ไฮโดรเจนไซยาไนด์คาร์บอนไดซัลไฟด์ สารเหล่านี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในเส้นเลือดที่นำไปสู่การที่เกิดเส้นเลือดหัวใจตีบคือเกิดเส้นเลือดแข็ง ผนังเส้นเลือดหนา เกร็ดเลือดจับตัวเส้นเลือดหัวใจหดตัวหัวใจเต้นไม่ปกติ ผลคือ ทำให้เลือดเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ หัวใจขาดออกซิเจน เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้
 
DJ: มันจะเกี่ยวกับหลอดเลือดแดงโดยตรงไหม?
 
พญ.วิไล: ค่ะจะเกี่ยวกับหลอดเลือดแดงโดยตรงเลย สรุปว่าควันบุหรี่นั้นไม่ดี บุหรี่ไม่ดียังไงคือ มันจะทำให้เกิดไขมันไปเกาะในผนังหลอดเลือดแดงได้เร็วขึ้น มันจะไปลดไขมันชนิดดีเรียกว่า XPLซึ่งจะป้องกันไม่ให้ไขมันตัวร้ายตกตะกอนในผนังหลอดเลือด ควันบุหรี่จะไปลดไขมันชนิดดีและจะช่วยให้ไขมันตัวร้าย ร้ายยิ่งขึ้น จะเรียกว่า อ๊อกซิไดย์ LDL ก็คือ อนิมูลอิสระที่เป็นสารไม่ดี มันจะทำลายเยื่อบุของหลอดเลือดแดงได้ง่ายขึ้นและไขมันตัวร้ายก็จะไปตกตะกอนในผนังหลอดเลือดได้ง่ายขึ้นเร็วขึ้นและควันบุหรี่ก็จะช่วยทำให้หลอดเลือดแดงเกร็ง
 
DJ: ควันบุหรี่ทำให้หลอดเลือดเกร็ง ควันบุหรี่ถ้าคนไม่สูบก็สามรถเป็นได้ใช่ไหม?
 
พญ.วิไล: ค่ะเราเรียกว่า  สูบบุหรี่มือสอง คือ คนที่สูดควันบุหรี่จากคนที่ใกล้ชิด เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจการสูดควันบุหรี่หรือที่เรียกว่าสูบบุหรี่มือสอง ทำให้เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ แม้ตนเองจะไม่สูบบุหรี่ในสิ่งแวดล้อมที่มีคนสูบบุหรี่ ผู้ที่ได้รับควันบุหรี่มีโอกาสเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ 
 
DJ: ควันบุหรี่มีพิษต่อหลอดเลือดแดง แล้วควันบุหรี่จะเข้าไปทำอันตรายต่อหลอดเลือดดำไหม?
 
พญ.วิไล: ควันบุหรี่กับหลอดเลือดดำไม่เท่าไร แต่จะมีผลต่อเลือดแดงมากกว่า เพราะว่าหลอดเลือดดำถ้าจะมีก็มีแค่เล็กน้อยแต่ที่หน้ากลัวคือหลอดเลือดแดงและหัวใจ นอกจากนี้หากเกิดกับเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองก็จะทำให้สมองขาดออกซิเจนเช่นกันเป็นผลให้สมองเสื่อมสภาพ นำไปสู่การเป็นอัมพฤต อัมพาต หากเกิดกับเส้นเลือดที่แขน ขา จะทำให้ปวดขามากเวลาเดินเพราะกล้ามเนื้อขาดออกซิเจน อาจนำไปสู่การเน่าของแขน ขา ถึงกับต้องตัดขาได้ นอกจากการสูบบุหรี่แล้วสาเหตุอื่นของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบคือ โรคความดันเลือดสูง ไขมันเลือดสูง เบาหวาน โดยการสูบบุหรี่จะเป็นตัวเร่งให้ผู้ที่เป็นเหล่านี้เกิดการตีบตันของเส้นเลือดเร็วขึ้น
 
DJ: แล้วเด็กที่อยู่บ้านเดียวกันกับบุคคลที่สูบบุหรี่จะเป็นอย่างไร?
 
พญ.วิไล: ค่ะเด็กก็จะได้รับสารนั้นไปเต็มๆ ซึ่งก็จะไม่ดีสำหรับทุกท่าน ดังนั้นจึงอยากจะเชิญชวนให้ทุกท่านเลิกบุหรี่ รู้ว่าการเลิกบุหรี่มันทำอยาก แต่ถ้าเราตั้งใจรู้ว่าบุหรี่นั้นไม่ดีสำหรับตนเองและบุคคลอื่นหรือครอบครัว ก็ควรที่จะเลิก ถ้าเป็นผู้หญิงที่สูบบุหรี่ในขณะที่ตั้งครรภ์ ผลจะเกิดที่เด็กเพราะจะทำให้เด็กตัวเล็กกว่าปกติ สำหรับคนที่เป็นหลอดเลือดแดงที่หัวใจตีบอยู่แล้ว ยังดื้อที่จะสูบบุหรี่อีก เมื่อเกิดก้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเขาก็จะได้โรคแทรกซ้อนไปด้วย
 
DJ: มีโรคแทรกซ้อนอะไรบ้าง?
 
พญ.วิไล: คนที่เป็นหลอดเลือดหัวใจตีบแล้วมีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างเช่น อายุ คนที่มีอายุมากก็จะเป็นหลอดเลือดแดงมากกว่าคนที่มีอายุน้อยเป็นธรรมดาเบาหวาน, โรคความดันเลือดสูง นี้เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ตอนนี้คนที่สูบบุหรี่เป็นหลอดเลือดแดงที่หัวใจตีบเรียบร้อยแล้ว เมื่อเขามีก้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันโอกาสที่เขาจะตายมากกว่าคนที่เป็นหลอดเลือดแดงที่หัวใจตีบและก็มีก้ามเนื้อหัวใจตายแต่ไม่ได้สูบบุหรี่
 
DJ:  คนที่เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจหรือสูบบุหรี่นี้เท่าไร?
 
พญ.วิไล: บุหรี่นี้เป็นปัจจัยที่สำคัญ โรคหลอดเลือดแดงที่หัวใจตีบนี้มีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญแต่เราสารมารถหลีกเหลี่ยงได้คือบุหรี่ บุหรี่นั้นจะทำให้เกิดหลอดเลือดแดงที่หัวใจตีบอุคตัน 2-3 เท่าของคนที่ไม่สูบบุหรี่และอายุเท่ากันเพราะฉะนั้นไม่ควรที่จะสูบบุหรี่ดีกว่า
 
DJ:  ปัจจุบันมีคนไข้ที่ยอมรับและอยากจะเลิกบุหรี่มากน้อยแค่ไหน?
 
พญ.วิไล: มีมากขึ้น บานคนที่สูบเพราะว่าเครียด บางคนสูบเพราะว่าตามเพื่อน บางคนก็บอกว่าเลิกไม่ได้ ดังนั้นมองหาสาเหตุที่ทำให้เครียดและยอมรับว่าการสูบบุหรี่นั้นไม่ดี เพราะฉะนั้นถ้าต้องการให้สุขภาพแข็งแรง ให้เลิกสูบบุหรี่ ในช่วงแรกที่อดบุหรี่จะรู้สึกหงุดหงิด ให้สูดหายใจเข้า-ออกลึก ๆ ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อลดความอยากหรืออาจอาบน้ำ  ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หางานอดิเรกทำเพื่อคลายเครียด เพราะส่วนใหญ่หลังเลิกบุหรี่น้ำหนักตัวจะขึ้นการออกกำลังกาย ควบคุมอาหาร ลดอาหารหวาน จะเป็นการควบคุมน้ำหนักได้ทางหนึ่ง  การออกกำลังกายจะได้ไขมันชนิดดี ถ้าคนที่เป็นเบาหวานก็จะช่วยให้ร่างกายใช้น้ำตาลโดยไม่ต้องต้องอินซูลีนไม่ต้องเพิ่มยาเบาหวาน
 
DJ:  การสูบบุหรี่ทำให้แก่เร็วจริงหรือไหม?
 
พญ.วิไล: อย่างที่เรียนให้ทราบว่าบุหรี่มีสาร ออกซิไดซ์ จะช่วยทำรายให้ผิวหนังเหี่ยวย่นและทำให้แย่ลงกว่าเดิม
 
DJ:  ถ้าคนไข้ที่เป็นโรคหัวใจมาหาอาจารย์แล้วเป็นคนไข้ที่สูบบุหรี่ จะทำอย่างไร?
 
พญ.วิไล:  ต้องบอกให้เขาเลิกสูบบุหรี่เลยทันที่ และบอกกับคนไข้ว่าเขามีปัจจัยเสี่ยงอะไรถ้าไม่เลิกสูบบุหรี่ผู้ชายที่ที่มีอายุ 40-50 ปีขึ้นไปก็จะมีอันตราย เสี่ยงที่จะแก้ไม่ได้ ส่วนมากผู้ชายจะเป็นมากกว่าผู้หญิง สิ่งที่จะแก้ไขได้คือต้องหยุดสูบบุหรี่และไม่ควรที่จะอยู่ใกล้บุคคลที่สูบบุหรี่ หันมาออกกำลังกายเพิ่ม เพื่อที่จะให้เลือดสูบฉีดได้ดียิ่งขึ้น
 
DJ:  มีอะไรแนะนำคนที่อยากเลิกบุหรี่?
 
พญ.วิไล: คนที่สูบบุหรี่ให้เลิกสูบบุหรี่ แต่ถ้าคนไม่สูบบุหรี่ก็อย่าคิดที่จะไปลอง นอกจากจะประหยัดเงินแล้วยังทำให้สุขภาพดีขึ้นอีก รู้ว่าการเลิกบุหรี่มันอยาก ต้อง ตัดสินใจ แน่วแน่ ว่าต้องการเลิกบุหรี่ด้วยตนเอง ทิ้งบุหรี่และอุปกรณ์ทั้งหมด เพื่อมิให้สิ่งเหล่านี้มากระตุ้นความอยากบุหรี่อีก หันมาออกกำลังกาย การออกกำลังกายมีหลายชนิด อย่างแรกคือ ถ้าเป็นโรคหัวใจอยู่แล้วให้เดินออกกำลังกาย เดินออกกำลังกายประมาณ 30นาทีต่อวันหรือวิ่งยิ่งดี  ประมาณ 3 ครั้งต่ออาทิตย์ ที่ให้ออกกำลังกายเพราะเพื่อที่จะเพิ่ม HDAL และลดไขมันตัวร้าย และทำให้ร่างกายดีขึ้น อย่างที่สอง ถ้าเป็นเบาหวานหมอจะให้ออกกำลังกาย 45-50 นาที  5 วันต่ออาทิตย์ นอกจากไขมันชนิดดีจะเพิ่มแล้วยังช่วยให้ก้ามเนื้อลายทั้งร่างกายใช้น้ำตาลโดยไม่ต้องเพิ่มอินซูรีน  การออกกำลังกายจะทำให้อินซูรีนดีขึ้น 
 
DJ:  ต้องเดินออกกำลังกายเร็วไหม?
 
พญ.วิไล:  เดินเร็วเดินช้าไม่สำคัญ อย่าทำเกินขนาด บางคนถ้าเดินเร็วเกินไปเดียวล้ม เดียวเจ็บหน้าอก เดียวเหนื่อยมากหรือเหนื่อยหอบ ดังนั้นเราควรจะเดินตามจังหวะของเราจากนั้นก็ค่อยๆเดินให้เร็วขึ้นตามจังหวะ ในคนอายุ 35ปีขึ้นไป ไม่แนะนำให้วิ่งเร็วเพราะจะทำให้หัวข้อเข่าจะเชื่อม สำหรับคนที่อ้วน การออกกำลังกายต้องทำทุกวันเลยจะได้ช่วยลดน้ำหนัก ค่อยๆทำวันละเล็กละน้อย การทำอย่างนี้จะทำให้ร่างกายแข็งแรง ส่วนคนที่สูบบุหรี่ก็จะมีความเข็มแข็งขึ้น
 
 

 
ออกอากาศเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2552
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด