การใช้คำว่า Anti-bacterial ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง จะแบ่งเป็น 2 กรณี คือ
1. การรับแจ้งคำว่า Anti-bacterial เป็นส่วนหนึ่งของชื่อผลิตภัณฑ์
จะอนุญาตให้ใช้ได้เฉพาะกรณี
- ประเภทผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ที่ใช้บริเวณ เส้นผม/หนังศีรษะ ผิวหน้า หรือผิวกาย ในรูปแบบล้างออก (ทั้งนี้ไม่รวมถึงการใช้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น ซึ่งจะไม่อนุญาต)
- การรับแจ้งคำว่า Anti-bacterial เป็นส่วนหนึ่งของชื่อ หากเป็นภาษาไทยจะต้องใช้การทับศัพท์ ไม่สามารถใช้การแปลได้
- รับแจ้งต่อเมื่อในสูตรมีสาร anti-bacterial เช่น Triclocarban / Triclosan / Chloroxylenol เป็นต้น
หมายเหตุ : หากมีการอ้างถึงสาร Anti-bacterial อื่นๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในหลักเกณฑ์การพิจารณาการจดแจ้งเครื่องสำอาง จะต้องแนบเอกสารทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ หรือผลการทดสอบประสิทธิภาพประกอบการพิจารณา
2. การใช้คำว่า Anti-bacterial สำหรับการบรรยายสรรพคุณบนฉลาก
จะอนุญาตให้ใช้ได้ใน 2 ประเภท คือ
2.1 ประเภทผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ที่ใช้บริเวณ เส้นผม/หนังศีรษะ ผิวหน้า หรือผิวกาย ในรูปแบบล้างออก (ทั้งนี้ไม่รวมถึงการใช้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น ซึ่งจะไม่อนุญาต)
2.2 ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เพื่อสุขอนามัยสำหรับมือ
หมายเหตุ : การบรรยายสรรพคุณ Anti-bacterial บนฉลาก จะต้องมีผลการทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ที่ออกโดยหน่วยงานราชการ หรือห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองตาม ISO/IEC 17025
ตารางสรุปการใช้คำว่า Anti-bacterial ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
* ต้องมีผลการทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ประกอบการพิจารณา ทั้งนี้ไม่สามารถแสดง % ประสิทธิภาพเกิน 99.99%
นอกจากนี้ต้องไม่แสดงชื่อโรค หรือชื่อเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ หรือข้อความที่สื่อให้เข้าใจว่าปลอดภัยจากเชื้อโรค เช่น COVID-19, Coronavirus, Escherichia coli, Pseudomonas aeruginosa, ฆ่า/Kill, ปลอดภัย/Safe และต้องไม่แสดงเครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือรูปภาพที่สื่อถึงการบำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันเชื้อโรค เป็นต้น
สำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทอื่นๆ
1. ห้ามใช้คำว่า Anti-Bacterial หรือ แอนตี้-แบคทีเ รีย/แบคทีเรียล เป็นส่วนหนึ่งของชื่อและข้อความบรรยายสรรพคุณ หรือสัญลักษณ์ หรือรูปภาพ (รวมถึงเครื่องหมาย +) ของผลิตภัณฑ์ว่าสามารถยับยั้ง /ฆ่าเชื้อโรค /ลดการสะสมของแบคทีเรีย หรือคำที่สื่อความหมายใกล้เคียงกันลงบนฉลาก เนื่องจากอาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค ซึ่งไม่เข้าข่ายเป็นเครื่องสำอาง
2. ห้ามใช้ข้อความที่ระบุผลทดสอบประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อ /ลดการสะสมของแบคทีเรียและเชื้อโรคลงบนฉลาก หรือการอ้างอิงสถาบันที่ทดสอบประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อต่าง ๆ หรือการกล่าวอ้างถึงผลทดสอบผลิตภัณฑ์ที่ระบุประสิทธิภาพเป็นตัวเลข เช่น ฆ่าเชื้อโรค 99.9%, ลดการสะสมของแบคทีเรีย 99.99% เป็นต้น
อ้างอิง
อย.