☰
ข้อมูลบริการสุขภาพ
ข่าวสุขภาพ
|
โรงพยาบาล
|
คลินิก ร้านยา
|
รพ.ประกันสังคม 2568
|
justView
×
ข่าวสุขภาพ
โรงพยาบาล [+]
รพ.รายจังหวัด (รัฐ-เอกชน)
รพ.รัฐบาล
รพ.เอกชน
รพ.เอกชน ประกันสังคม
รพ.เอกชน บัตรทอง
รพ.มหาวิทยาลัย
ศูนย์แพทย์มหาวิทยาลัย
สถาบัน/ศูนย์แพทย์
รพ.สังกัดกทม.
ศูนย์สาธารณสุข กทม.
รพ.ศูนย์
รพ.ทั่วไป (จังหวัด)
รพ.ชุมชน (อำเภอ)
รพ.สต.(ตำบล)
รพ.กองทัพ
รพ.สมเด็จพระยุพราช
รพ.จิตเวช
รพ.มะเร็ง
รพ.แพทย์แผนไทย
รพ.รัฐวิสาหกิจ/กระทรวงอื่น
คลินิกรัฐบาล-ศูนย์อนามัย
คลินิก-ร้านยา
ข่าวสุขภาพ [+]
ข่าวสุขภาพทั่วไป
ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย
ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ
ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ
สาระความรู้สุขภาพ
กิจกรรม ESG CSR
Health Economy
บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us
เผยแพร่เนื้อหา
สถิติเว็บไซต์
สำรวจความเห็นสุขภาพ
โฆษณา
healthserv.net@gmail.com
@healthserv
ข้อแนะนำหลังการถอนฟัน ผ่าฟันคุด อุดฟัน รักษาคลองรากฟัน
ข้อแนะนำหลังการถอนฟัน ผ่าฟันคุด อุดฟัน รักษาคลองรากฟัน
Home
/
ความรู้สุขภาพ
/
Update: 27.01.2564
ข้อแนะนำหลังการถอนฟัน หรือผ่าฟันคุด
กัดผ้าให้แน่นพอสมควรไว้ 1 ชั่วโมง หลังจากการถอนฟันหรือผ่าตัด แล้วคายผ้าทิ้ง หากมีเลือดไหลออกมาอีก ให้กัดผ้าที่สะอาดใหม่อีก 1 ชั่วโมง
ถ้าเลือดไหลไม่หยุดภายหลังการถอนฟัน หรือผ่าฟันคุด ห้ามอมน้ำแข็ง ควรใช้นำแข็งห่อประคบนอกปากบริเวณที่ถอนฟัน หรือบริเวณแผลผ่าตัด
ห้ามบ้วนน้ำหรือน้ำยาใดๆ ในวันแรก ถ้าจำเป็นให้บ้วนเบาๆ มิฉะนั้นเลือดที่กำลังจะแข็งตัวอาจหลุดไป และทำให้ปวดได้
แปรงฟันทำความสะอาดตามปกติ เพียงแต่ระวังแผลที่ถอนฟันหรือผ่าตัด
ถ้าปวดให้รับประทานยาแก้ปวด 1-2 เม็ด ถ้าไม่หายให้รับประทานใหม่ในเวลาห่างกัน 4 ชั่วโมง
ห้ามเอานิ้วมือ ไม้จิ้มฟัน แคะ เขี่ยบริเวณแผล และห้ามดูดแผลเล่น
ทำงานประจำวันได้ แต่อย่าออกกำลังกายเกินควร
ห้ามดื่มสุรา ของมึนเมาเป็นเวลา 3 วันหลังการถอนฟันหรือผ่าฟันคุด
ถ้ามีอาการผิดปกติ ควรกลับมาให้ทันตแพทย์ตรวจดูใหม่
ในกรณีที่เป็นแผลผ่าตัดหรือแผลผ่าฟันคุด ควรประคบด้วยผ้าชุบน้ำอุ่น ภายหลังจากผ่าตัด 1 วัน จะทำให้อาการบวมยุบเร็วขึ้น และกลับมาตัดไหมภายหลัง ประมาณ 5 – 7 วัน
ข้อแนะนำหลังการอุดฟัน
หลังการอุดฟันด้วยอมัลกัม ห้ามใช้ฟันซี่ที่อุด เคี้ยวอาหารภายใน 24 ชั่วโมง
หลีกเลี่ยงการใช้ฟันหน้าซึ่งอุดด้วยวัสดุสีเหมือนฟันกัดหรือแทะอาหาร เพราะอาจทำให้วัสดุอุดฟันบิ่นหรือแตกได้
งดหรือลดการสูบบุหรี่ การดื่มชา กาแฟ เพราะอาจทำให้เกิดคราบสีบนวัสดุอุดซึ่งมีสีเหมือนฟันได้
หลังการอุดฟัน หากมีความผิดปกติเกิดขึ้น เช่น เสียวฟันเวลาเคี้ยวอาหาร ปวดฟันซี่ที่อุด หรือวัสดุที่อุดฟันแตกหรือหลุด ให้รีบกลับมาพบทันตแพทย์
พบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน เพื่อตรวจสภาพฟันที่อุดไป ว่าวัสดุอุดยังอยู่ในสภาพดี ไม่มีการผุต่อ
ข้อควรรู้สำหรับผู้ป่วยที่รักษาคลองรากฟัน
ในระหว่าง หรือหลังการรักษาคลองรากฟันท่านอาจประสบปัญหาเหล่านี้
ฟันแตกบิ่น ในระหว่างการรักษา หรือรักษาเสร็จแล้ว แต่ยังไม่ได้ทำครอบฟัน ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการกัดหรือเคี้ยวของแข็ง เพราะอาจทำให้ฟันแตกหักได้ ฉะนั้น หลังจากรักษาคลองรากฟันแล้ว ควรบูรณะด้วยครอบฟันโดยเร็ว
เจ็บเหงือกหรือกระพุ้งแก้มบริเวณฟันที่รักษา อาการจะค่อยๆ หายไป ภายใน 1 – 2 วัน
วัสดุอุดชั่วคราวหรือครอบฟันชั่วคราวหลุด น้ำลายและเชื้อโรคอาจจะเข้าไปในคลองรากฟันที่ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อไว้แล้ว
มีกลิ่นยาออกมาจากฟันที่รักษา อาจเกิดจากวัสดุอุดชั่วคราวหลุด มีรอยรั่ว หรือฟันมีการแตกร้าว
ปวดฟันหรือเหงือกบวม ให้รับประทานยาตามที่ทันตแพทย์แนะนำ
หากมีปัญหาดังกล่าว ให้รีบไปพบทันตแพทย์โดยเร็ว
ข้อแนะนำหลังการอุดฟัน หรือครอบฟันน้ำนม
หลังการอุดฟัน ห้ามใช้ฟันซี่ที่อุดนั้นเคี้ยวอาหาร ประมาณ 8 – 10 ชั่วโมง
หลังการอุดฟันซี่ที่ผุรูกว้างมากๆ ห้ามใช้ฟันซี่นั้นกัดหรือเคี้ยวอาหารที่แข็งมากจนเกินไป
ในกรณีที่ต้องใส่ยาชาร่วมกับการอุดฟัน หรือครอบฟัน เด็กจะมีความรู้สึกชา (หรือหนา) บริเวณลิ้นและริมฝีปาก ต้องระวังไม่ให้เด็กกัด เกา หรือหยิกริมฝีปาก ลิ้น มิฉะนั้นจะเกิดแผลขึ้น
หากมีปัญหาหลังรับการรักษา ควรกลับไปพบทันตแพทย์ทันที
พบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพในช่องปาก อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
ข้อแนะนำหลังการติดเครื่องมือจัดฟันชนิดติดแน่น
รักษาความสะอาดฟัน และเครื่องมือจัดฟัน โดยแปรงฟันหลังอาหารทุกมื้อ และก่อนเข้านอนเป็นประจำ
รักษาเครื่องมือให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่หลุด หัก หรือบิดเบี้ยว โดยหลีกเลี่ยงอาหารที่แข็งหรือเหนียว และระมัดระวังเป็นพิเศษเมื่อเล่นกีฬาที่อาจเกิดการกระทบกระทั่งรุนแรง
ให้ความร่วมมือ และปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์โดยเคร่งครัด โดยเฉพาะการคล้องยางดึงฟัน หรือการใส่อุปกรณ์เสริมพิเศษ
พยายามปรับตัวให้เข้ากับเครื่องมือที่ใส่ เนื่องจากเมื่อมีการดึงฟัน ย่อมเกิดความรู้สึกตึง ปวด หรือรำคาญบ้าง
พบทันตแพทย์ตามวันและเวลานัดโดยสม่ำเสมอ
วิทยาการเพื่อประชาชน สถาบันทันตกรรม
ข่าว/บทความล่าสุด
CNN จับตานวัตกรรมใหม่ ตรวจคัดกรองความเครียดด้วยเหงื่อ ฝีมือนักวิจัยไทย
แพทยสมาคมและเครือข่ายพันธมิตร ลงนามบันทึกข้อตกลงโรคหายากในไทยระยะที่ 2
รพ.วิชัยยุทธและศูนย์การแพทย์วิชัยยุทธ ได้รับรองคุณภาพ JCI ฉลองครบ 55 ปี
ราชวิถี 2 รังสิต เปิดรับประกันสังคมแล้ว เริ่มบริการ 1 มค 68 เลือกเปลี่ยนได้เลย
รายชื่อสถานพยาบาลประกันสังคม ปี 2568 (รพ.ใหม่ 7 รพ.ออก 3)
รพ.โรงเรียนแพทย์ ประกาศผู้ป่วยมะเร็งสิทธิบัตรทอง ต้องมีใบส่งตัว เริ่ม 1 มค 68
เลือกเปลี่ยนรพ.ประกันสังคม ปี 2568 ได้แล้ว ผ่าน 4 ช่องทาง
บอร์ดประกันสังคม เห็นชอบให้ผู้ประกันตนรักษามะเร็งได้ทุกที่ (SSO Cancer Care)
บำรุงราษฎร์ มอบรถคัดกรองมะเร็งเต้านมเคลื่อนที่ 3 คัน แก่โรงพยาบาล 3 จังหวัดภาคใต้
ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาเสี่ยงเกิดอันตรายจริงไหม? รู้ก่อนทำเพื่อผลลัพธ์ดวงตาที่สดใส มาพร้อมความปลอดภัย
ทำอย่างไรเมื่อรู้สึกว่าเป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง? พร้อมวิธีดูแลตัวเองเบื้องต้น
นครธนมินิมาราธอน ครั้งที่ 14 วิ่งด้วยความรัก เพื่อสภากาชาดไทย
อาสาบำรุงราษฎร์ ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ส่งท้ายปี 2567 ชุมชนคุ้งบางกะเจ้า
บำรุงราษฎร์ มอบอุปกรณ์การแพทย์ ให้รพ.เพชรบูรณ์ และศูนย์สุขภาพชุมชนเก้าดาว
โครงการรีไซเคิลถุงน้ำยาล้างไต Baxter Kidney Care คว้ารางวัล AMCHAM Awards ปี 2024
[ ทั้งหมด]
เนื้อหาอ่านล่าสุด
ข้อแนะนำหลังการถอนฟัน ผ่าฟันคุด อุดฟัน รักษาคลองรากฟัน
รายชื่อสถานพยาบาลประกันสังคม ปี 2568 (รพ.ใหม่ 7 รพ.ออก 3)
ประชุมวิชาการการแพทย์ฉุกเฉินระดับชาติ ครั้งที่ 15 ประจำปี 2566 : National EMS FORUM 2023
Hospitel โรงพยาบาลเอกชล
ศูนย์อายุรวัฒน์ 1-2 บริการดูแลผู้สูงอายุ โรงพยาบาลทหารผ่านศึก
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัคซีน
รพ.กรุงเทพ ใช้ ปัญญาประดิษฐ์ AI เสริมความแม่นยำ วินิจฉัยภาพเอกซเรย์ทรวงอก
[Archive] กิจกรรมรถไฟท่องเที่ยว KIHA 183 ปี 2567 ที่ผ่านไปแล้ว
คลินิกเครือข่ายประกันสังคม โรงพยาบาลตะกั่วป่า
โรงพยาบาล ธนาคารเลือด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกาศรับบริจาคเลือดด่วน จำนวนมาก
การจองห้องพิเศษ โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
วัคซีนที่จำเป็น สำหรับก่อนการเดินทางท่องเที่ยวในต่างประเทศ
ประชุมวิชาการกัญชาทางการแพทย์ เขตสุขภาพที่ 9 มทร.อีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
คลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ Out of hours Clinics โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
น้ำตาลในเลือด ต้องมีค่าเท่าไรถึงเรียกว่า ปกติ
[ทั้งหมด]
🔝