ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ดีท็อกซ์ (detox) การสวนล้างลำไส้

ดีท็อกซ์ (detox) การสวนล้างลำไส้ HealthServ.net
ดีท็อกซ์ (detox) การสวนล้างลำไส้ ThumbMobile HealthServ.net

ดีท็อกซ์ (detox) เป็นคำเรียกทับศัพท์สั้นๆ มาจากคำว่า detoxification หมายความถึง การกำจัดพิษออกจากร่างกาย De มาจาก delete คือ การลบ ล้าง นำออก Tox มาจาก toxin คือ พิษ ในความเข้าใจของคนทั่วไป การทำดีท็อกซ์ คือ การสวนล้างลำไส้

นิยาม - การสวนล้างลำไส้ คือ การกระทำต่อตนเองหรือผู้อื่นกระทำให้ได้การใช้อุปกรณ์ การสวนล้างลำไส้สอดเข้าทางทวารหนัก และใส่น้ำสะอาดหรือของเหลวอื่น ๆ ผ่านหลอดสงนจนเกิดการขับถ่ายเพื่อทำความสะอาดและกำจัดของเสียต่างๆ ออกจากลำไส้
 
 
ดีท็อกลำไส้เป็นขั้นตอนทางการแพทย์ที่ทำเพื่อกำจัดสิ่งที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น สารพิษ ยา แอลกอฮอล์ เป็นต้น  ปัจจุบันเริ่มเป็นที่รู้จักและนิยมทำในวงกว้าง กอปรกับมีข้อมูลเผยแพร่มากมาย ทำให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงการทำดีท็อกลำไส้ตามความเชื่อต่างๆ ได้ด้วยตนเอง
 
 
การทำดีท็อกซ์ มีวิธีใดบ้าง
1. การสวนลำไส้ (สวนทวาร)
2. การอบกระโจม หรืออบเซาน่า
3. การออกกำลังกาย และการนวด
4. การใช้ยาสมุนไพร
5. การถ่ายเลือด
 
 
การสวนล้างลำไส้ 
การสวนล้างลำไส้ที่มีการทำโดยแพทย์ทางเลือกและชาวบ้านมี 2 วิธี ได้แก่
 
1. การสวนล้างด้วยน้ำ หรือน้ำอุ่นธรรมดา

2. การสวนล้างด้วยน้ำร่วมกับสารอื่นที่เชื่อว่าสามารถดูดซับสารพิษ หรือเร่งการขับถ่ายสารพิษจากลำไส้ เช่น กาแฟ เหล้า เบียร์ น้ำผึ้ง หรือส่วนประกอบของบุหรี่ เป็นต้น
 

กลุ่มที่ห้ามทำดีท็อกซ์

การกระทรวงสาธารณสุข ออกโรงเตือนการทำดีท็อกซ์สวนทวาร เสี่ยงเกิดอันตรายจากอาการข้างเคียงได้ ห้ามทำโดยเฉพาะ 7 กลุ่มผู้ป่วย เช่นผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับลำไส้ อาจทำให้ลำไส้แตก ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เด็ก สตรีมีครรภ์ ต้องระวัง ทำทุกครั้งต้องมีผู้เชี่ยวชาญแนะนำ ประชนที่ไม่มีความรู้ไม่ควรทำ วิธีการขับพิษจากร่างกายที่ดีและปลอดภัยที่สุดคือให้รับประทานอาหารพวกผัก ผลไม้ เพิ่มกากใย ทำให้ท้องไม่ผูก   

การดีทอกซ์เป็นวิธีการล้างพิษของการแพทย์ทางเลือก โดยการสวนล้างลำไส้ อาจใช้น้ำอย่างเดียว หรือใช้น้ำร่วมกับสารบางอย่าง เช่น กาแฟ เพื่อทำให้เกิดการขับสารพิษออกจากร่างกาย แต่จะต้องทำด้วยความระมัดระวังและอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการอบรมเท่านั้น


กลุ่มบุคคลที่ห้ามทำการดีทอกซ์ ได้แก่
  1.  ผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบลำไส้ใหญ่ เช่นลำไส้ใหญ่อักเสบ อุดตัน มะเร็งลำไส้ เพราะเมื่อใส่น้ำเข้าไปจะทำให้ลำไส้บีบตัวมากขึ้น อาจทำให้ลำไส้แตกและเสียชีวิตได้
  2. ผู้ที่ผ่านการผ่าตัดลำไส้โดยเปิดลำไส้ให้ขับถ่ายทางหน้าท้อง
  3. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรุนแรง 
  4. เด็ก
  5. สตรีมีครรภ์
  6. ผู้ที่มีร่างกายอ่อนเพลียมาก 
  7. ผู้ป่วยช่องท้องอักเสบ

สิ่งที่ต้องระวังจากการทำดีท็อกซ์ ที่อาจเป็นอันตราย มาจาก
  • ความร้อนของน้ำที่ใช้
  • ความเข้มข้นของเกลือแร่ กาแฟที่อยู่ในน้ำที่ใช้สวนล้างลำไส้
  • ความเข้าใจที่ไม่ถ่องแท้หรือถูกต้อง แต่ทำโดยอาศัยการทำตามตำราเท่านั้น เป็นวิธีการที่ไม่แนะนำ 

 

คุณประโยชน์และโทษตามหลักวิชาการ 

โดยสมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย ได้เผยแพร่คำชี้แจงคุณและโทษ ทางการแพทย์ของการสวนล้างลำไส้ใหญ่ที่ถูกต้อง โดยมีประเด็นที่ต้องการชี้แจงดังต่อไปนี้
 
1. ทางการแพทย์แผนปัจจุบัน การสวนล้างลำไส้ใหญ่มีข้อบ่งชี้ในโรคหรือสภาวะต่อไปนี้ คือ
 
 ก. การเตรียมลำไส้ใหญ่เพื่อการตรวจวินิจฉัยและรักษา เช่น การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ การเอกซเรย์ดูลำไส้ใหญ่ด้วยการสวนแป้ง การเตรียมลำไส้ใหญ่เพื่อการผ่าตัดลำไส้
 ข. การบรรเทาอาการท้องผูกที่ไม่ตอบสนองต่อยาระบายหรือยาถ่ายตามที่แพทย์สั่ง
 ค. การรักษาภาวะตับวายเรื้อรังหรือเฉียบพลัน
 
2. ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลทางการแพทย์ที่หนักแน่น หรือเชื่อถือได้เพียงพอที่จะยืนยันว่าการสวนล้างลำไส้ใหญ่ สามารถรักษาโรคหรือสภาวะต่อไปนี้ เช่น โรคอ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ โรคปวดศีรษะ โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคภูมิแพ้ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันเลือดสูง โรคมะเร็ง โรคปวดข้อ โรครูมาตอยด์ โรคหอบหืด โรคปวดหลัง โรคมีกลิ่นในปากหรือในลมหายใจ โรคท้องอืด อาหารไม่ย่อย เรอบ่อย โรคลำไส้แปรปรวน โรคลิ้นเป็นฝ้า โรคพยาธิลำไส้ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง โรคตับอักเสบจากไขมันแทรกในตับ โรคไข้เรื้อรัง โรคสารพิษจากนิโคติน นอนไม่หลับ โรคทางจิต ขาดความตั้งใจ โรคผิวหนัง เป็นต้น
 
3. การสวนล้างลำไส้ใหญ่ทางการแพทย์แผนปัจจุบันแต่ละครั้งจะใช้น้ำเปล่าหรือน้ำเกลือประมาณ ๑-๒ ลิตรเท่านั้น ไม่แนะนำให้ใช้น้ำหรือน้ำเกลือปริมาณมากๆ เพราะการใช้ปริมาณมากเกินไปอาจทำให้เกิดอันตราย เช่น ทำให้ระดับเกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ ทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หรือทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมปอดได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจหรือโรคไตบางราย
 
4. การสวนล้างลำไส้ทางการแพทย์จะกระทำเป็นครั้งคราว เป็นระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น ไม่มีการแนะนำให้ทำเป็นประจำอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ หลายสัปดาห์หรือหลายเดือนหรือหลายปี
 
5. การสวนล้างลำไส้ใหญ่ทางการแพทย์ที่มีข้อบ่งชี้ ที่ชัดเจนและกระทำอย่างถูกต้องและระมัดระวังเป็นวิธีที่ปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ยังมีรายงานถึงภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการสวนล้างลำไส้ใหญ่ได้ เช่น ท้องเดิน ลำไส้ใหญ่ทะลุ  ระดับเกลือแร่ในร่างกายสูงหรือต่ำผิดปกติ ภาวะน้ำเกินในร่างกาย ภาวะซึม หัวใจล้มเหลว หรือน้ำท่วมปอด นอกจากนี้ยังมีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิตหลายรายจากการสวนล้างลำไส้ด้วย
 
6. การใช้สารเคมีหรือสารอื่นๆ เช่น น้ำร้อน น้ำผึ้ง น้ำยา สุรา เบียร์ กาแฟ บุหรี่ เป็นต้น ในการสวนล้างลำไส้ใหญ่อาจทำให้เกิดอันตรายหรือเกิดลำไส้ใหญ่อักเสบได้ ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ว่าการสวนล้างลำไส้ใหญ่ด้วยสิ่งเหล่านี้จะมีประโยชน์ดีกว่าการสวนด้วยน้ำหรือน้ำเกลือ และยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่เชื่อถือได้ว่า การสวนล้างลำไส้ใหญ่ด้วยกาแฟในคนมีประโยชน์ในการทำลายสารพิษ
 
7. การสวนล้างลำไส้ใหญ่อาจทำให้เกิดความรู้สึกสบายขึ้นได้ เป็นเวลาเพียงสั้นๆ ชั่วคราว แต่ไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ใดๆ ว่าการสวนล้างลำไส้ใหญ่จะสามารถรักษาโรคให้หายได้
 
8. การสวนล้างลำไส้ควรทำภายใต้การกำกับของแพทย์ และ/หรือพยาบาลเท่านั้น ไม่ควรทำเองหรือให้คนที่ไม่มีความรู้ทางการแพทย์ทำให้
 
สมาคมฯ ระบุว่า ผู้ที่จะทำการสวนล้างลำไส้ใหญ่จะต้องใช้วิจารณญาณด้วยตนเอง โดยคำนึงถึงประโยชน์และโทษที่อาจเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ  

ความเชื่อเกี่ยวกับการทำดีท็อกซ์ 


พญ. ผุสดี โรจน์พลากร แห่งรพ.สมิติเวช ได้กล่าวถึง  5 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการ ดีท็อกลำไส้ ซึ่งข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรนั้น ไปพิจารณากัน ดังนี้
 
1. ความเชื่อ- ดีท็อกซ์ สามารถช่วยลดไขมันได้

ความจริง การทำ ดีท็อกลำไส้ มีหลายสูตรหลายวิธีที่เน้นด้วยการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย โดยเฉพาะการถ่ายอุจจาระ ซึ่งวิธีดังกล่าวอาจทำให้รู้สึกตัวเบา แต่ในความจริงแล้ว การขับถ่ายมีเพียงของเสียและน้ำเท่านั้น แต่ร่างกายไม่ได้เผาผลาญไขมันส่วนเกินออกไปเลย บางกรณีผู้ขับถ่ายอาจเสียเกลือแร่และวิตามินจากการขับถ่ายจำนวนมากจนเกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้
 
2. ความเชื่อ-อาหารเสริมหรือเครื่องดื่มดีท็อกซ์ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกายได้

ความจริง อาหารเสริมหรือเครื่องดื่มดีท็อกซ์ที่ขายอยู่ตามท้องตลาดหรือในโลกออนไลน์ ไม่สามารถขับพิษออกจากร่างกาย ได้และทางที่ดีไม่ควรซื้อหามารับประทานเอง โดยไม่ได้ปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์เด็ดขาด
 
3. ความเชื่อ-น้ำหมักผัก ผลไม้ ช่วยขับบของเสียออกจากร่างกายได้

ความจริง น้ำหมักที่ได้จากการหมักผักและผลไม้ไม่สามารถ ล้างสารพิษ ออกจากร่างกายได้ แต่อาจทำให้เสี่ยงต่อการเพิ่มสารพิษตกค้าง หากล้างผักและผลไม้ไม่สะอาด รวมถึงภาชนะและวิธีการหมักที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจเสี่ยงปนเปื้อนเชื้อโรคและแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ง่าย ส่งผลให้ท้องเสีย หรือมีผลต่อระบบทางเดินอาหารในระยะยาว
 
4. ความเชื่อ- การกินยาระบาย คือการทำ ดีท็อกลำไส้ วิธีหนึ่ง

ความจริง ยาระบาย มีฤทธิ์ช่วยดึงน้ำออกจากผนังลำไส้ ส่งผลให้เนื้ออุจจาระนิ่มและขับถ่ายออกได้ง่าย โดยที่ยาระบายไม่สามารถชะ ล้างสารพิษ ที่สะสมตามผนังลำไส้ หรือในร่างกายออกไปได้
 
นอกจากนี้การใช้ยาระบายบ่อยๆ ยังอาจส่งผลต่อสุขภาพได้อีกด้วยฉะนั้น ในกรณีที่มีอาการท้องผูกเรื้อรังควรปรึกษาแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาที่ถูกต้อง
 
5. ความเชื่อ-ใครก็สามารถสวนล้างลำไส้ หรือทำ ดีท็อกลำไส้ เองที่บ้านได้

ความจริง ไม่ควรซื้ออุปกรณ์สวน ล้างลำไส้ มาทำเองที่บ้าน เพราะอาจเสี่ยงต่อเชื้อโรคและสิ่งปนเปื้อน รวมถึงอาจเกิดความผิดพลาดระหว่างการสวนลำไส้ และเป็นอันตรายได้
 
ตามธรรมชาติ ร่างกายมนุษย์มีกลไกกำจัดสารพิษโดยผ่านการทำลายที่ตับและการขับออกที่ไต  ดังนั้นการ ดีท็อกซ์ลำไส้ จึงไม่มีความจำเป็น ทั้งนี้หากอาหารที่รับประทานเข้าไปมีสารพิษปนเปื้อนร่างกายจะดูดซึมไปยังลำไส้เล็กพร้อมกับสารอาหารและวิตามินอื่นๆ ส่วนที่ตกค้างในลำไส้ใหญ่เป็นเพียงกากอาหารที่ไม่ถูกย่อยหรือดูดซึมแล้ว
 
อย่างไรก็ตาม หากเราไม่อยาก ล้างลำไส้ แต่กลัวว่าร่างกายจะมีสารพิษตกค้าง  ควรเริ่มใส่ใจการลดสารพิษตั้งแต่ต้นทาง โดยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไขมันต่ำ และลดการนำสารพิษเข้าสู่ร่างกายจากการรับประทานอาหารปนเปื้อน หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป อาหารปิ้งย่าง และอาหารทอด โดยเฉพาะอาหารที่ทอดด้วยน้ำมันใช้ซ้ำหลายๆ ครั้ง



ข้อมูลจาก
  • ชมรมโรคลำไส้ใหญ่ลำไส้เล็ก
  • สมาคมระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย
  • หมอชาวบ้าน
  • พบแพทย์
  • การกระทรวงสาธารณสุข
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด