ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ทำไมบุคลากรทางการแพทย์ จึงกระอักกระอ่วนใจที่จะใช้น้ำมันกัญชา

ทำไมบุคลากรทางการแพทย์ จึงกระอักกระอ่วนใจที่จะใช้น้ำมันกัญชา Thumb HealthServ.net
ทำไมบุคลากรทางการแพทย์ จึงกระอักกระอ่วนใจที่จะใช้น้ำมันกัญชา ThumbMobile HealthServ.net

ทำไมบุคลากรทางการแพทย์ จึงกระอักกระอ่วนใจที่จะใช้น้ำมันกัญชา ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี ผู้เชี่ยวชาญสารสกัดกัญชาได้เปิดข้อสังเกตต่อประเด็นคำถามนี้ไว้อย่างน่าสนใจผ่านเพจของท่าน ดังนี้

ทำไมบุคลากรทางการแพทย์ จึงกระอักกระอ่วนใจที่จะใช้น้ำมันกัญชา 

เหตุผลแบบตรงไปตรงมา คือ

 
1. บุคลากรทางการแพทย์ ยังไม่รู้จักกัญชาเท่าที่ควร และไม่รู้จักระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์มากพอ เพราะด้วยความที่เป็นยาเสพติดมาก่อน และการค้นพบระบบนี้ ก็ใหม่มาก ใหม่จนบุคลากรที่ทำงานดูแลคนไข้อยู่ทุกวันนี้ ไม่ทราบว่า มันเกี่ยวข้องระดับไหนในการเกิดโรคต่างๆขึ้นมา และจะจัดการอย่างไร เพราะไม่มีในหลักสูตรเรียนปกติ


2. การใช้กัญชา กับ การตอบสนองของกัญชาในร่างกาย ไม่มีอะไรเหมือนกันเลย บุคคลากรทางการแพทย์ ถูกฝึกมาให้คำนวณยาที่ใช้ บนพื้นฐาน ที่ไม่มีความซับซ้อนเท่าไร เช่น ยาบางชนิดก็ใช้สถิติส่วนใหญ่กำหนดขนาดยาไปเลย หรือ ยาบางชนิดก็คำนวณตามขนาดน้ำหนัก ตามการทำงานของไต แต่นั่นก็ยังถือว่า ง่ายมากๆ เมื่อเทียบกับกัญชา เพราะรู้ว่า ควรจะเริ่มที่กี่มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว ปรับขึ้นปรับลงตามการทำงานของไต แต่สำหรับกัญชา ไม่ใช่แบบนั้นเลย ไม่มีขนาดยาที่แนะนำสำหรับการใช้ที่ตายตัว มีเพียงแค่ว่า ควรจะเริ่มต้นอย่างไร


3. การตอบสนองของคนไข้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และช้าเร็ว แตกต่างกันอีก บุคคลากรทางการแพทย์อาจรอปรับยาคนไข้เพื่อดูการตอบสนองเป็นรายสัปดาห์ รายเดือน แต่สำหรับกัญชา ถ้าจะปรับให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต้องปรับกันเป็นรายวัน รายชั่วโมง ซึ่งในทางปฎิบัติ ผมจึงมักบอกว่า อย่าโยนภาระนี้ให้บุคคลากรทางการแพทย์ เพราะมันมองเห็นความล้มเหลวในการใช้กัญชาตั้งแต่ยังไม่เริ่ม


4. ความชัดเจนบนหลักฐานงานวิจัย เพราะบุคลากรทางการแพทย์ ต้องยึดตามงานวิจัย เพราะถ้าไม่ยึด พลาดมา หมายถึง การฟ้องร้อง ตามกรอบกฎหมายได้ แต่ประเด็นอยู่ที่ว่า หลักฐานทางงานวิจัย แบบยาเคมี ไม่อาจนำมา ใช้ตัดสินหลักฐานทางการวิจัยแบบยาสมุนไพรได้ ซึ่งทุกวันนี้ เราเอามามั่วกันไปหมด และพยายามจะหาว่าใครดีสุด ทั้งที่ใช้ร่วมกันได้ และดีสุดต่อผู้ป่วย


5. ทัศนคติที่ยังมองไม่เห็นว่า เรื่อง สุขภาพคือองค์รวม และยาเคมี ไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุด  และผลประโยชน์ทับซ้อนของผู้ที่เกี่ยวข้อง และผู้ที่มีส่วนกำหนดระบบการรักษาและดูแลสุขภาพของคนในประเทศ

 
แต่ทั้งนี้ ก็มีบุคลากรทางการแพทย์หลายท่านที่กำลังผลักดัน และ เรียนรู้การใช้กัญชาเพื่อการแพทย์ ซึ่งผมมองว่า ประเทศไทยน่าจะกลายเป็นประเทศที่มีบุคลากรทางการแพทย์ใช้กัญชาเพื่อการแพทย์มากอันดับต้นๆของโลก และ กลายเป็นส่วนผลักดันเศรษฐกิจด้วยการแพทย์แบบแนวการใช้กัญชาให้กับต่างชาติได้ด้วย


พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี
28 มิถุนายน 2566

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด