ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

พบผู้ป่วยโควิดสายพันธุ์อินเดีย (Indian variant) รายแรกในประเทศไทย

พบผู้ป่วยโควิดสายพันธุ์อินเดีย (Indian variant) รายแรกในประเทศไทย Thumb HealthServ.net
พบผู้ป่วยโควิดสายพันธุ์อินเดีย (Indian variant) รายแรกในประเทศไทย ThumbMobile HealthServ.net

เดินทางมาจากปากีสถาน เป็นหญิงไทยตั้งครรภ์ พร้อมบุตร 3 คน ตรวจด้วยวิธี Whole Genome Sequencing พบยืนยันว่าเป็น สายพันธุ์อินเดีย B1.617.1

พบผู้ป่วยโควิดสายพันธุ์อินเดีย (Indian variant) รายแรกในประเทศไทย HealthServ
ศบค.แถลงข่าวสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 10 พ.ค. 64 ว่า มีรายงานการพบผู้ติดเชื้อโควิด19 สายพันธุ์อินเดีย (Indian variant) รายแรกในประเทศไทย โดยมีรายละเอียดังนี้
  • เป็นหญิงชาวไทย อายุ 42 ปี ตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์ 
  • ภูมิลำเนาอยู่ที่ปากีสถาน เดินทางจากปากีสถานถึงไทยตั้งแต่ 24 เม.ย. 64 
  • มีการแวะพักเครื่องที่ดูไบ 
  • เดินทางมาพร้อมบุตรชาย 3 คน อายุ 4, 6 และ 8 ปี
  • ได้รับการจัดให้อยู่ใน State Quarantine มีการเฝ้าระวังโควิด-19
  • หญิงได้พักกับบุตรชาย อายุ 4 ปี ส่วนบุตรอายุ 6 และ 8 ปี อยู่ร่วมกันอีกห้องหนึ่ง
  • วันที่ 26 เมษายน การตรวจครั้งที่ 1 ทั้งหญิงและลูก 4 ขวบผลเป็นบวก (ติดเชื้อ) ส่วนบุตรชายอีก 2 ราย เป็นลบ
  • ด้วยความรุนแรงของสายพันธ์ุอินเดียมีมากขึ้นในต่างประเทศ วันที่ 9 พฤษภาคม จึงทำการตรวจอีกครั้ง เป็นการตรวจด้วยวิธี Whole Genome Sequencing โดยศูนย์โรคอุบัติใหม่ด้านคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย พบยืนยันว่าเป็น "สายพันธุ์อินเดีย B1.617.1"
สายพันธุ์อินเดียนี้ระบาดในอินเดียตั้งแต่ ตุลาคม 2563 เริ่มมีรายงานไปยังปากีสถาน บังคลาเทศ และเนปาล  รายงานพบใน ยุโรปในอังกฤษ เยอรมัน อเมริกา สิงคโปร์ ญี่ปุ่นและบาห์เรน

โควิด-19 สายพันธุ์ B.1.617 นี้มีการกลายพันธุ์ 13 ตำแหน่ง แต่มีการกลายพันธุ์อยู่ 3 ตำแหน่งที่น่าเป็นกังวล
 
E484Q - การกลายพันธุ์ที่ตำแหน่ง 484 ซึ่งเป็นการทดแทนกรดกลูตามิกเป็นกลูตามีน ทำให้ไวรัสมีศักยภาพในการจับกับตัวรับในร่างกายของมนุษย์ได้ดีขึ้น รวมถึงมีความสามารถในการหลบเลี่ยงระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายโฮสต์ได้ดีขึ้น
 
L452R - การกลายพันธุ์ที่ตำแหน่ง 452 ซึ่งเป็นการทดแทนลิวซีนด้วยอาร์จินีน ทำให้โปรตีนหนามของไวรัสแข็งแกร่งขึ้น และทำให้ความสามารถในการรับรู้ของระบบภูมิคุ้มกันลดลง
 
P681R - การกลายพันธุ์ที่ตำแหน่ง 681 ซึ่งเป็นการทดแทนโปรลีนด้วยอาร์จินีน อาจช่วยเพิ่มโอกาสการติดเชื้อในระดับเซลล์
 
ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์กำลังดำเนินการเพื่อยืนยันว่า สายพันธุ์ B.1.617 มีอันตรายมากกว่าสายพันธุ์อื่นหรือไม่ เช่น การแพร่กระจายเร็วขึ้นทำให้เกิดโรคที่รุนแรงขึ้นหรือไม่ หรือสามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือจากการฉีดวัคซีนได้หรือไม่
 
หากการศึกษาในห้องปฏิบัติการ การวิเคราะห์ทางระบาดวิทยา และงานวิจัยอื่น ๆ ยืนยันว่า ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์นี้มีปัญหามาก ก็จะได้รับการอัปเกรดเป็น “สายพันธุ์ที่ต้องกังวล”

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด