ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

องค์การอนามัยโลก (WHO) อนุมัติวัคซีนซิโนแวคของจีน การใช้งานในกรณีฉุกเฉินแล้ว

องค์การอนามัยโลก (WHO) อนุมัติวัคซีนซิโนแวคของจีน การใช้งานในกรณีฉุกเฉินแล้ว Thumb HealthServ.net
องค์การอนามัยโลก (WHO) อนุมัติวัคซีนซิโนแวคของจีน การใช้งานในกรณีฉุกเฉินแล้ว ThumbMobile HealthServ.net

1 มิถุนายน 2564 องค์การอนามัยโลก (WHO) อนุมัติการใช้งานในกรณีฉุกเฉินแก่วัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่พัฒนาโดยบริษัทซิโนแวคของจีน

องค์การอนามัยโลก (WHO) อนุมัติวัคซีนซิโนแวคของจีน การใช้งานในกรณีฉุกเฉินแล้ว HealthServ
1 มิถุนายน 2564 องค์การอนามัยโลก (WHO) อนุมัติการใช้งานในกรณีฉุกเฉินแก่วัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่พัฒนาโดยบริษัทซิโนแวคของจีนแล้ว สร้างความมั่นใจให้กับระดับประเทศ องค์กร หน่วยงาน ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ว่าวัคซีนที่ผลิตจากบริษัทในกรุงปักกิ่งแห่งนี้ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัย และมีประสิทธิผลต่อการป้องกันโรคโควิด

วัคซีนซิโนแวค โคโรนาแวค เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย จัดเก็บได้ในสภาพปกติ ทำให้บริหารและขนส่งได้ง่าย  เก็บง่าย ไม่ต้องใช้ความเย็นสูง ตู้เย็นธรรมดาก็ใช้ได้ และเก็บได้ถึง 2 ปี

องค์การอนามัยโลก (WHO) รับรองวัคซีนโควิดไปแล้วก่อนหน้านี้ทั้งหมด 7 รายการ ได้แก่
วัคซีนของไฟเซอร์ / ไบโอเอ็นเทค (อนุมัติเมื่อ 8/1/2021)
แอสตร้าเซเนก้า เอสเค ไบโอ (อนุมัติเมื่อ 21/4/2021)
สถาบันเซรั่มแห่งอินเดีย 
แอสตร้าเซเนก้า อียู 
แจนเซ่น  (อนุมัติเมื่อ 17/3/2021))
โมเดอร์น่า (อนุมัติเมื่อ 25/1/2021))
และซิโนฟาร์ม  (อนุมัติเมื่อ 7/5/2021)

  • ประสิทธิภาพการป้องกันอยู่ที่ 51%-84% (ของอินโดนีเซีย ผลทดสอบในโลกจริงอยู่ที่ 94%)
  • ป้องกันป่วยหนักและเสียชีวิตได้ 100%
  • เชื่อได้ว่า สามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้สูงอายุได้ และไม่ได้มีความแตกต่างเรื่องผลข้างเคียงระหว่างกลุ่มอายุน้อยกับสูงอายุ (แต่ข้อมูลส่วนนี้ยังไม่มาก เพราะคนแก่เข้าร่วมการทดลองน้อย จึงทำให้ใช้เวลาพิจารณานาน และขอให้ประเทศต่างๆที่ใช้ ช่วยส่งข้อมูลของผู้สูงอายุมาเพิ่ม)

อ่านฉบับเต็ม WHO validates Sinovac COVID-19 vaccine for emergency use and issues interim policy recommendations (1 June 2021)

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด