คำนำ
การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ในปัจจุบันได้ส่งผลกระทบในวงกว้างอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะใช้มาตรการป้องกันควบคุมโรคหลายมาตรการ เช่น คัดกรองและเฝ้าระวังโรค กักตัวผู้มีความเสี่ยงรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า งดจัดกิจกรรมที่รวมกลุ่มคนจำนวนมาก ทำความสะอาดสถานที่และพื้นผิวสัมผัสร่วม เป็นต้น แต่สิ่งที่เป็นความหวังของรัฐบาลและประชาชนในขณะนี้ คือ วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือเรียกสั้น ๆ ว่า วัคซีนโควิด 19 นั้น ประเทศไทยได้มีการเตรียมความพร้อมที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาวัคซีนดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงการใช้วัคซีนที่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพได้มากที่สุดเท่าที่ศักยภาพของประเทศจะดำเนินการได้
เนื่องจากองค์ความรู้ของโรคโควิด 19 และวัคซีนโควิด 19 มีความก้าวหน้าอยู่เสมอ เพื่อให้การดำเนินงาน
สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน กรมควบคุมโรคจึงได้จัดทำแนวทางการให้บริการวัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาด ปี 2564 ของประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 ที่มีการปรับเพิ่มเติมเนื้อหาให้เหมาะสมกับสถานการณ์การระบาดในปัจจุบันจากเชื้อกลายพันธุ์ รวมถึงความคืบหน้าการบริหารจัดการวัคซีนโควิด 19 ในประเด็นที่สำคัญต่างๆ โดยได้รับความกรุณาจากศาสตราจารย์ แพทย์หญิงกุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล แพทย์หญิงจุไร วงศ์สวัสดิ์ รวมถึงคณาจารย์จากโรงเรียนแพทย์ สมาคมและราชวิทยาลัยแพทย์สาขาต่าง ๆ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญจากกรมควบคุมโรคและสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในการทบทวนองค์ความรู้และขัดเกลาเนื้อหาอย่างดียิ่ง
กรมควบคุมโรค
สิงหาคม 2564
สารบัญ
คำนำ...........ก
สารบัญ........ข
ความรู้เบื้องต้นสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19...............1
สถานการณ์การให้วัคซีนโควิด 19 ทั่วโลก......1
ความรู้เกี่ยวกับวัคซีนโควิด 19......4
กลไกการขับเคลื่อนและการเตรียมบุคลากรในการดำเนินงาน.........19
กลุ่มเป้าหมายและระยะการดำเนินงานให้วัคซีน.............21
การดำเนินงานให้บริการวัคซีนโควิด 19.......23
การเบิกจ่ายและบริหารจัดการวัคซีน............32
การเฝ้าระวังติดตามเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับวัคซีนโควิด 19......36
1. ระบบเฝ้าระวังเชิงรับ (existing AEFI surveillace)............36
2. ระบบติดตามความปลอดภัยเชิงรุกสำหรับวัคซีนโควิด 19 (active surveillance system for COVID-19 vaccine).45
3. การเฝ้าระวังกลุ่มอาการที่อาจเกี่ยวข้องกับการได้รับวัคซีนโควิด 19 (adverse event of special interest): AESI................. 51
แนวทางการให้วัคซีนในกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคประจำตัว........54
ข้อคำถามที่พบบ่อย....58
ภาคผนวก..69
ภาคผนวก 1 ตัวอย่างใบนัดหมายรับวัคซีน............70
ภาคผนวก 2 แนวทางการออกเอกสารรับรองการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19.....71
ภาคผนวก 3 แนวทางการออกเอกสารรับรองการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค กรณีวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 เพื่อใช้สำหรับการเดินทางระหว่างประเทศ....73
ภาคผนวก 4 ขนาดของวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Sinovac Life Sciences จำกัด และ
บริษัท AstraZeneca จำกัด.............82
ภาคผนวก 5 การจัดวางวัคซีนโควิด 19 ในตู้เย็น...83
ภาคผนวก 6 แบบฟอร์มขอเบิกวัคซีนโควิด 19......84
ภาคผนวก 7 แผ่นความรู้ (vaccine information sheet)......85
ภาคผนวก 8 แบบคัดกรองและใบยินยอมรับบริการวัคซีนโควิด 19..........87
ภาคผนวก 9 แบบรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค......89