ศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้จัดการวิจัยเบื้องต้นในการศึกษาความปลอดภัย และการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน จากการฉีดวัคซีนชนิดเดียวกัน หรือต่างชนิดกัน ในเข็มที่ 1 และเข็มที่ 2
คณะจารย์
ผศ.ดร.พญ.สุวิมล นิยมในธรรม
ผศ.พญ.ศันสนีย์ เสนะวงษ์
ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ
ที่มาของโครงการ
ตั้งแต่เริ่มฉีดวัคซีนในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 มีการฉีดวัคซีนแอสตร้าเขเนก้าและชิโนแวคสองเข็มอย่างกว้างขวางในประเทศไทย แต่มีความกังวลถึงประสิทธิภาพของการฉีดวัคซีนชนิดเดียวกันหลังจากมีการระบาดของเชื้อกลายพันธุ์การฉีดวัคซีนสลับชนิดกันในเข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 อาจเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเชื้อกลายพันธุ์ได้ดีขึ้น แต่ยังไม่ทราบแน่ว่าวัคซีนแต่ละสูตรที่ใช้นั้น ให้ผลภูมิคุ้มกันที่แตกต่างกันอย่างไร
การศึกษานี้ได้วัดระดับภูมิต้านทานต่อโปรตีนหนาม (anti-receptor binding domain: anti-RBD IgG) โดยวิธี
chemiluminescent microparticle immunoassay (CMIA; Abbott Laboratories, Ltd.) รวมทั้งอาการข้างเคียงในอาสาสมัครที่ได้รับวัคนเข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 ชนิดเดียวกันหรือสลับกัน
การศึกษาเบื้องต้น เปรียบเทียบวัคซีนที่ใช้ ได้แก่
- ซิโนแวค+แอสตร้าเซเนก้า
- แอสตร้าเซเนก้า+ซิโนแวค
- แอสตร้าเซเนก้า+ไฟเซอร์
- ซิโนแวค+ไฟเซอร์
- แอสตร้าเซเนก้า 2 เข็ม
- ซิโนแวค 2 เข็ม
หลังได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 เป็นเวลาสองสัปดาห์ วัดระดับอุณหภูมิคุ้มกันชนิด anti-RBD IgG หน่วย BAU/mL (หน่วย AU/ml คูณด้วย 0.142 เท่ากับ BAU/mL)
ผลการศึกษา
ศูนย์ฯ เปิดเผยความคืบหน้า ผลการศึกษาการฉีดวัคซีนไขว้ สรุปได้ว่า
1.การฉีดวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าแล้วตามด้วยวัคซีนไฟเซอร์ ได้ระดับภูมิคุ้มกันสูงสุด 2,259.9 หน่วยต่อมิลลิลิตร
2. การฉีดวัคซีนซิโนแวคแล้วตามด้วยวัคซีนไฟเซอร์ ได้ระดับภูมิคุ้มกันดีรองลงมาที่ 2,181.8 หน่วยต่อมิลลิลิตร
3. การฉีดวัคซีนซิโนแวคแล้วตามด้วยวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า ได้ระดับภูมิคุ้มกัน 1,049.7 หน่วยต่อมิลลิลิตร
4. การใช้วัคซีนซิโนแวคเป็นเข็มแรก แล้วตามด้วยแอสตร้าหรือไฟเซอร์เป็นเข็มที่ 2 สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี
5. การฉีดวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าเป็นเข็มแรกควรตามด้วยวัคซีนไฟเซอร์เป็นเข็มที่ 2
6. การวัดเป็นผล anti-RBD IgG วัดโดยเครื่อง Abbott และรายงานเป็นหน่วยมาตรฐาน BAU/mL ส่วนผลการวัดแบบ PRNT50 จะมีการรายงานต่อไปค่ะ
นอกจากนี้ผลการศึกษายังไม่มีปัญหาเรื่องอาการข้างเคียงหลังฉีดเข็มที่หนึ่งและเข็มที่สองในระยะเวลาห่างกันประมาณ 4 สัปดาห์
ควรมีการศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผลการป้องกันการติดเชื้อในผู้ที่ได้รับวัคซีนเพื่อยืนยันภูมิคุ้มกันจากการศึกษานี้