เชิญร่วมเป็นส่วนหนึ่งของวาระแห่งชาติ ร่วมฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19
สอบถามสายด่วน โทรศัพท์ 0 2021 1664
ขบวนการทำงานของอาสาสมัคร
อาสาสมัครทางการแพทย์-พยาบาล
1. ซักประวัติคัดกรอง
2. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19
3. การปฏิบัติงานหากเกิดเหตุฉุกเฉินทางด้านการแพทย์
อาสาสมัครทั่วไป
1. มีทักษะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อกรอกข้อมูลทะเบียนประวัติการคัดกรอง ออกใบนัด/ใบรับรอง
ในระบบ Co-vaccine
2. อำนวยความสะดวกด้านอื่นๆ เช่น การชี้บอกทางให้ผู้รับบริการ การประกาศหรือประชาสัมพันธ์ทั่วไป
รวบรวมคำถามยอดนิยม
Q: เมื่อสมัครแล้วจะทราบได้อย่างไรว่าจะให้ไปปฏิบัติงานที่ไหน วัน เวลาใด?
A: สภากาชาดไทยจะส่งข้อความแจ้งอาสาสมัครทางไลน์ถึง จุดบริการฉีดวัคซีน วันและเวลาที่ให้ไปปฏิบัติงานพร้อมทั้งแจ้งเบอร์โทรศัพท์มือถือของผู้ประสานงานจุดบริการฉีดวัคซีน และให้อาสาสมัครตอบยืนยันการไปปฏิบัติงานได้ทางไลน์ผู้ประสานงานจุดบริการฉีดวัคซีนสามารถเข้าไปดูได้ในระบบ VTRIS ก่อนล่วงหน้า 1 วัน เพื่อ confirm กับอาสาสมัคร
Q: เวลาปฏิบัติงาน ?
A: เวลาปฏิบัติงาน รอบเช้า 8.00 – 13.00 น. / รอบบ่าย 12.00 – 18.00 น. ทั้งนี้ ขึ้นกับสถานการณ์หน้างานและสถานที่
Q: การแต่งกายขณะปฏิบัติงาน ต้องเตรียมอุปกรณ์ป้องกันไปเองหรือไม่ ?
A: ไม่จำเป็น เนื่องจากหน่วยบริการฉีดวัคซีนได้จัดเตรียมอุปกรณ์ไว้ให้ ดังนี้
(1) สถานที่ที่มีความเสี่ยงสูง
หมวกคลุมผม
หน้ากากอนามัย Surgical Mask
หน้ากากอนามัย ชนิด N95
กระบังป้องกันใบหน้า Face Shield
ถุงมือ
กาวน์กันน้ำ
เจลแอลกอฮอล์
(2) สถานที่ที่มีความเสี่ยงต่ำ
หน้ากากอนามัย Surgical Mask
กระบังป้องกันใบหน้า Face Shield
ถุงมือ
เจลแอลกอฮอล์
Q: มียาหรืออุปกรณ์ฉุกเฉินที่ได้จัดเตรียมไว้ให้หรือไม่ ?
A: มีเตรียมไว้ให้ ดังนี้
(1) ยา
Epinephrine amp
Atropine amp
NSS และ RLS
Salbutamol nebule
(2) อุปกรณ์
Endotracheal Tube (ETT)
Blade และอุปกรณ์อื่นๆ สำหรับใส่ ETT
AED
Q: ในการไปปฏิบัติงาน จะต้องนำเอกสารอะไรไปด้วยหรือไม่ ?
A: กรุณานำหลักฐานแสดงตัวตนอย่างหนึ่งอย่างใดไปด้วย ได้แก่
บัตรประชาชน
บัตร MD Card ของแพทย์
ใบขับขี่
ความเป็นมาของโครงการ
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ระบาดอย่างหนักในระลอก 3 ซึ่งส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายทั้งชีวิตและภาคเศรษฐกิจ สภากาชาดไทย ในฐานะองค์กรสาธารณกุศล ซึ่งมีภารกิจหลักด้านหนึ่งคือ การบริการทางการแพทย์และสุขภาพอนามัย รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนด้วย และเมื่อรัฐบาลประกาศจัดหาวัคซีนมาบริการแก่ประชาชนเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สภากาชาดไทย จึงมีนโยบายสนับสนุนภาครัฐด้วยการจัดบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้แก่ประชาชนเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ทั่วประเทศ ดังนี้
ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและส่วนกลาง มอบโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ จัดโครงสร้างจุดบริการฉีดวัคซีน และให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ รับสมัครอาสาสมัครแพทย์ พยาบาล และบุคลากรของสภากาชาดไทย เพื่อปฏิบัติงานให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 (Covid-19) แก่ประชาชน และมอบสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ รับอาสาสมัครแพทย์และพยาบาลจากบุคคลภายนอกเพื่อไปปฎิบัติงานตามจุดบริการฉีดวัคซีน โดยการจะออกบริการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชน ณ จุดบริการต่าง ๆ ให้ประสานงานกับสำนักอนามัย กรุงเทพมหานครโดยตรงในการกำหนดจุดบริการในส่วนภูมิภาค มอบสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ และสำนักงานบริหารกิจการเหล่ากาชาด รับสมัครอาสาสมัครแพทย์ พยาบาล จากบุคคลภายนอก และอาสาสมัครบุคคลทั่วไป เพื่อร่วมปฏิบัติงานให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แก่ประชาชน โดยจังหวัดที่เป็นที่ตั้งของสถานีกาชาด 11 แห่งนั้น มอบหมายให้เหล่ากาชาดจังหวัดเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับสถานีกาชาดพื้นที่ในการหารือร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพื่อพิจารณาจัดส่งอาสาสมัครแพทย์และพยาบาลไปร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุขจังหวัดหรือภาคเอกชนเพื่อให้บริการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนที่จุดบริการฉีดวัคซีนตามที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนั้นๆ กำหนดในจังหวัดอื่นๆ ที่ไม่ใช่ที่ตั้งของสถานีกาชาด หากเหล่ากาชาดใดมีความพร้อมและมีศักยภาพเพียงพอที่จะเปิดรับสมัครอาสาสมัครให้บริการฉีดวัคซีนแก่ประชาชนได้ หรือส่งอาสาสมัครไปร่วมปฎิบัติงานในหน่วยบริการของหน่วยงานรัฐหรือเอกชนในพื้นที่ตามแนวทางข้างต้นแล้ว ก็ขอให้นายกเหล่ากาชาดจังหวัดได้ประสานงานกับที่ปรึกษาเหล่ากาชาด (ผู้ว่าราชการจังหวัด) และนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เพื่อร่วมพิจารณาดำเนินการได้เช่นกัน และสามารถขอรับการสนับสนุนในเรื่องวัสดุ อุปกรณ์คำแนะนำ หรืออื่นๆ จากสถานีกาชาดในพื้นที่นั้นได้