ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพ รวมโปรแกรมสุขภาพ บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิดบริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event Health Economy ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

คำถาม-คำตอบเกี่ยวกับพืชกระท่อม

คำถาม-คำตอบเกี่ยวกับพืชกระท่อม Thumb HealthServ.net
คำถาม-คำตอบเกี่ยวกับพืชกระท่อม ThumbMobile HealthServ.net

ข้อมูลจาก ปี 2018 ระบุว่าประสิทธิภาพและความปลอดภัยของกระท่อมยังคงไม่สามารถสรุปได้ และยังคงไม่ได้รับการอนุมัติเป็นยารักษาโรคเนื่องจากงานวิจัยเกี่ยวกับกระท่อมจำนวนมากขาดคุณภาพใน ค.ศ. 2019 องค์การอาหารและยาสหรัฐบันทึกไว้ว่า ไม่มีหลักฐานที่ว่ากระท่อมปลอดภัยหรือมีผลต่อการรักษาทุกแบบ - wikipedia

คำถาม-คำตอบเกี่ยวกับพืชกระท่อม HealthServ

คำถาม – คำตอบเกี่ยวกับพืชกระท่อม

 
ปริมาณสารสำคัญของกระท่อมจะมีผลต่อการที่จะเป็นอาหาร หรือเป็นยานอกจากวัตถุประสงค์หรือไม่

รูปแบบและการแสดงสรรพคุณ จะเป็นตัวกำหนดว่าควรอยู่ภายใต้กฎหมายใด เช่น หากกองอาหารเปิดอนุญาตให้นำเอากระท่อมมาทำเป็นอาหารได้ก็จะมีการกำหนดว่าต้องเอามาใส่ได้ปริมาณเท่าไหร่ ที่สำคัญควรมีงานวิจัยมารองรับ สำหรับกรณีเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรจะขึ้นกับข้อมูลการศึกษาวิจัยว่าสารเท่าไรจึงจะสามารถออกฤทธิ์ได้ ส่วนกองอาหารจะพิจารณาภายใต้กรอบของการบริโภคเป็นอาหาร ซึ่งต้องมีข้อมูลการใช้เป็นอาหาร มีการบริโภคเป็นเวลานาน และมีความปลอดภัยเป็นหลัก ตัวอย่างเช่น ฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่ดีแต่ปัจจุบันยังไม่ได้มีการอนุญาตให้เป็นอาหารได้

 
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 424) พ.ศ. 2564 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้าหรือจำหน่าย ไม่สามารถขอเลข อย. แต่ทำขายแบบไม่มี อย. ได้หรือไม่

ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 424)ฯ ยังไม่สามารถนำกระท่อมมาปรุงเป็นอาหารได้ในทุกรูปแบบ ถือว่ามีความผิด ทั้งนี้มีโทษทั้งจำและปรับ


ตามร่าง พรบ. กระท่อม ของ ปปส.
1) การโฆษณาขายหน้าร้านเชิญชวนคนกินสามารถทำได้หรือไม่ หรือต้องขออนุญาต
สามารถโฆษณาได้ถ้าไม่ได้เข้าข่ายลักษณะชักจูง เชิญชวน หรือให้ทำผสมเป็น 4x100
 
2) กรณีห้ามขายกระท่อมต่อคนมีอายุต่ำกว่า 18 ปี แต่ถ้าไม่ได้ขาย โดยเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีนำใบกระท่อมมากินเองได้หรือไม่
การบริโภคตามวิถีชีวิต เช่น เคี้ยวใบสด เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีก็กินได้ แต่ห้ามขายให้เด็ก และห้ามเด็กนำไปผสมทำเป็น 4x100


จากอาการข้างเคียงของการรับประทานพืชกระท่อม เช่น เบื่ออาหาร อาจ
นำมาทำเป็นอาหารเสริมลดความอ้วนได้ อย่างนี้จะเรียกอาหารใหม่ หรืออาหารเสริม
 
กองอาหารจะต้องมีการทบทวนข้อมูลทางวิชาการว่าจะปลดล็อคให้นำบางส่วนของกระท่อมมาใส่ในอาหารได้หรือไม่ และกำหนดปริมาณที่ให้ใส่ แต่อาจจะไม่ใช่ทั้งหมดต้องมีการพิจารณาประวัติการใช้เป็นอาหาร และพิจารณาข้อมูลด้านความปลอดภัยประกอบกัน โดยอาจพิจารณาเป็นอาหารใหม่ Novel food ขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูล
 

ถ้านำใบกระท่อมมาขาย แต่ไม่ใช่เป็นอาหาร คนขายบอกว่า เป็นสมุนไพรที่ยังไม่ได้บดละเอียดสามารถขายได้โดยไม่ต้องขออนุญาต ใช่หรือไม่

กรณีที่มีวัตถุประสงค์นำพืชกระท่อมไปใช้เป็นสมุนไพร ถ้ามีการแปรรูปก็ต้องดำเนินการตาม พรบ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร 

นำใบกระท่อมมาต้มน้ำแล้วชงเป็นแก้วขายได้หรือไม่ ไม่ใช่เป็นการบรรจุขวดเป็นเครื่องดื่ม

ในการชงเพื่อขายเป็นอาหาร ปัจจุบันประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 424) อาศัยอ านำจตาม ม.6(8) แห่ง พ รบ.อาหาร ไม่สามารถกระทำได้เพราะพืชกระท่อมยังเป็น negative list ห้ามไม่ให้นำพืชกระท่อมมาผสมเป็นอาหาร กรณีฝ่าฝืน มีโทษตาม ม.50 จำคุกตั้งแต่ 6 เดือน – 2 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 – 20,000 บาท
 
 
สรุปว่า นำกระท่อมมาทำอาหารได้ หรือไม่กรณียังทำไม่ได้เป็นเพราะขัดกับประกาศฯ ฉ.424 ตาม พรบ.อาหาร ใช่หรือไม่

กรณีผู้บริโภคเอามาใช้ในครัวเรือนปรุงกินกันเอง กรณีนี้ไม่เข้าข่ายการควบคุมตามพรบ.อาหาร แต่หากมีการนำอาหารที่กระท่อมเป็นส่วนผสมมาขาย จะผิดตาม ประกาศฯ ฉ.424 แห่ง พรบ.อาหาร
 
 
สรุปคือทำมาเป็นวัตถุเจือปนอาหาร ในอาหารปิดสนิทไม่ได้อย่างเดียว หรือไม่ได้ทั้งประกอบอาหารหน้าร้าน และอาหารปิดสนิท

ไม่สามารถทำได้ทั้งสองกรณี กล่าวคือ หากมีการปรุงแล้วขายถือว่าฝ่าฝืนประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 424)ฯ ตาม พรบ.อาหาร
 
 
การขายใบกระท่อมออนไลน์มีการควบคุมดูแลการขายอย่างไร

การขายออนไลน์ตาม ร่าง พรบ.พืชกระท่อม จะถูกตัดออกไปแล้ว เนื่องจากเป็นช่องทางที่ปัจจุบันในทางการค้าที่มีการทำกันมาก จึงเห็นควรเปิดให้ทำได้ ขายออนไลน์ไม่ผิดกฎหมาย
 
 
ถ้าน้ำต้มใบกระท่อม ผสมยาแก้ไอ ซึ่งเป็นยาอันตราย ไม่ใช่ยาเสพติดให้โทษผิดกฎหมายไหม หรือต้มพืชกระท่อม+syrup มีความผิดหรือไม่

- ตามร่าง พรบ. กระท่อม ของ ปปส. การนำน้ำต้มใบกระท่อมผสมกับยาแก้ไอแล้วนำมาบริโภค ถือว่าเป็นความผิด ฝ่าฝืน ม.31 ทั้งนี้ตามร่าง มาตรา 31 ระบุว่า ห้ามบริโภคน้ำต้มกระท่อมที่ปรุงหรือผสมกับ ยาเสพติดให้โทษ วัตถุออกฤทธิ์ยาตาม กม.ยา วัตถุอันตรายหรือวัตถุอื่นใดตามที่ รมต ยธ.กำหนด เว้นเพื่อรักษาโรค ก็ต้องพิจารณาว่าเป็นสิ่งที่นำมาผสมเป็นสิ่งเหล่านี้ไหม หากไม่เป็นก็ไม่เข้า ไม่มีความผิด

- สำหรับการผลิตโดยเอายาอื่นมาผสมถือว่าเป็นการผลิตยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามกฎหมายว่าด้วยยา

- กรณีน้ำต้มพืชกระท่อม+syrup หรือน้ำหวาน โดยหลักการคือ ผลิตภัณฑ์มีการปรุงแต่งเพื่อให้บริโภคได้ง่าย ต้องดูวัตถุประสงค์ว่าทำออกจำหน่ายเพื่ออะไรหากมีการระบุสรรพคุณก็จะเข้าข่ายการเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร ทั้งนี้ หากไม่มีการระบุสรรพคุณ ก็จะเข้าข่ายการเป็นอาหาร แต่ปัจจุบันในส่วนของอาหารยังทำไม่ได
 
 
ช่วงที่ร่าง พ.ร.บ. พืชกระท่อมฯ ยังไม่ออกมาใช้บังคับ การที่มีจำหน่ายใบและน้ำกระท่อม ทางออนไลน์ ในสถานศึกษา ในสวนสาธารณะ มีความผิดหรือไม่หรือมีแนวทางการดำเนินการอย่างไร

หลัก "ไม่มีความผิด ถ้าไม่มีกฎหมายกำหนด" ดังนั้นการกระทำนั้นยังไม่มีความผิด การดูแลต้องใช้การประชาสัมพันธ์หรือการดูแลในด้านอื่น ตอนนี้ยังมีช่องว่างในการกำกับดูแล
 

ขอนิยามของคำว่า สี่คูณร้อย (4x100)

ไม่มีนิยามเป็นทางการ แต่เป็นศัพท์ที่รู้กันว่า เป็นการนำน้ำกระท่อมไปผสมยาเสพติดให้โทษ วัตถุออกฤทธิ์ ยาตามกม.ยา วัตถุอันตราย
 

สายพันธุ์กระท่อมมีกี่พันธุ์...พันธุ์อะไรที่ตลาดนิยมสูงสุด

กระท่อมในประเทศไทย มีหลายพันธุ์ ที่รู้จักกันมาก คือ พันธุ์ก้านแดง พันธุ์ก้านเขียว
 

ร่างพรบ.กระท่อม มาตรา 31 ที่ระบุว่า "ห้ามบริโภคใบ/น้ำต้มใบกระท่อม ที่ผสมกับยาเสพติด วัตถุออกฤทธิ์ หรือวัตถุอันตราย เว้นเพื่อรักษาโรค ..." อันนี้รวมน้ำต้มใบกระท่อมที่ผสมกับยา(ตามพรบ.ยา) เช่น ยาแก้ไอ ด้วยหรือไม่

ถ้าเป็นการผสมหรือปรุงแล้วใช้ในการบ าบัดและรักษาโรคต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของแพทย์ด้วยจึงจะได้รับการยกเว้นไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้
 

มีโฆษณาในสื่อออนไลน์เรื่องการเคี้ยวใบกระท่อมสด สามารถป้องกัน โควิด19 ได้ ถือว่าเป็นความผิดตามพรบ.สมุนไพรหรือไม่

กรณีการเคี้ยวใบสด ใบสดมิใช่ผลิตภัณฑ์ ดังนั้นจึงไม่เป็นความผิดตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพร
 

การนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อม ต้องขอรับใบอนุญาตจากหน่วยงานใด

ขณะนี้ยังไม่ต้องขออนุญาต แต่หาก พรบ.พืชกระท่อม+กฎกระทรวงฯ มีผลใช้บังคับ การขออนุญาตนำเข้า ส่งออก ใบกระท่อม ต้องได้รับอนุญาตจากเลขาธิการ ป.ป.ส.
 

ถ้ามีการโฆษณากระท่อมที่ไม่ถูกต้อง ผู้ที่ต้องดำเนินคดีจะเป็น ปปส.ตามร่างพรบ กระท่อม หรือ พนักงานเจ้าหน้าที่ของ อย

ขณะนี้ถือว่ายังไม่มีความผิด เมื่อ พรบ.พืชกระท่อมมีผลบังคับใช้ ถ้าทำเป็น 4x100 จะมี ความผิด โดยเจ้าพนักงานตำรวจจะเป็นผู้ดำเนินคดี สำหรับกรณีโทษปรับ เลขาธิการ ป.ป.ส. มีอำนาจเปรียบเทียบปรับ
 

ปัจจุบันมีการขายน้ำกระท่อมบรรจุขวดผ่านทางช่องทางออนไลน์จะผิดกฎหมายใด

ถ้าเป็นอาหารต้องอยู่ภายใต้พรบ.อาหาร แต่หากเป็นการระบุสรรพคุณก็ต้องอยู่ภายใต้ พรบ. ผลิตภัณฑ์สมุนไพร
 
 
ร้านก๋วยเตี๋ยวนำใบกระท่อมชงในกาให้คนมากินก๋วยเตี๋ยวรินกินเองแบบไม่เสีย เงิน (ลักษณะเป็นเครื่องดื่มชากระท่อมในกา) ทำได้หรือไม่

- กรณีทำเป็นชากระท่อม นิยามคำว่า "จำหน่าย" รวมถึง..แจก จ่าย ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ทางการค้าหรือการมีไว้เพื่อจำหน่ายด้วย กรณีการแจกน้ำเพื่อผลประโยชน์ในการขายก๋วยเตี๋ยวก็จะมีความผิดตาม พรบ.อาหาร เช่นเดียวกัน ดังนั้น จึงไม่สามารถกระทำได้


และกรณีขายใบกระท่อม วางแผงผักทั่วไปขายในตลาด ทำได้หรือไม่ อย่างไร

กรณีการขายใบกระท่อม ในตลาดแบบผักทั่วไป สามารถกระทำได้
 

การรวมกลุ่ม/ตั้งวงดื่ม น้ำต้มกระท่อม ผสมยาแก้ไอ ผิดหรือไม่

ตามร่าง พรบ.พืชกระท่อม หากแค่ตั้งวงกินไม่ว่าเป็นเด็ก หรือผู้ใหญ่ กินเพียงน้ำต้มกระท่อม จะไม่มีความผิด แต่ถ้ากินน้ำต้มกระท่อมที่ผสมกับ ยา ยาเสพติดให้โทษวัตถุออกฤทธิ์ หรือวัตถุอันตราย จึงจะมีความผิด


ร้านกาแฟสด และขายอาหารตามสั่ง ผลิตน้ำกระท่อมใส่น้ำตาลและดอกเก็กฮวย ใส่ขวดพลาสติกปิดฝาสนิท ขายให้ลูกค้า ทำได้หรือไม่

ทำไม่ได้ มีความผิดตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 424) แห่ง พรบ.อาหาร กรณีฝ่าฝืน มีโทษตาม ม.50 จำคุกตั้งแต่ 6 เดือน – 2 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 – 20,000 บาท


การใช้ตำรับแผนไทยที่มีส่วนประกอบของกระท่อม ร่วมกับยาแผนปัจจุบัน เช่น ยากลุ่ม anticoagulant มีการศึกษาหรือไม่ หรือมีการ conference กันบ้างหรือยัง ในประเทศไทย

ยังไม่มีการศึกษาชัดเจนว่ามีผลต่อ CYP หรือไม่อย่างไร


ถ้าแปรรูปแล้วมีการระบุสรรพคุณ จัดเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร แล้วต้องขออนุญาตหรือไม่

ตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพรกำหนดให้การผลิต การขายต้องได้รับอนุญาต


ประกาศ สธ ฉ.424 ตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร จะปรับแก้เมื่อใด

มีแผนในการนำเสนออนุวิชาการกลางเดือนกันยายน ส่วนการจะปรับแก้หรือไม่ อย่างไร ขึ้นอยู่กับมติของที่ประชุมคณะอนุกรรมการด้วย 



กระท่อมขายเป็น อาหาร ยังทำไม่ได้ เพราะ ติดประกาศกระทรวงสาธารณสุข(ฉบับที่ 424) ตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร แต่ทำกินเองได้ถูกต้องหรือไม่

ถูกต้อง


ตามร่าง พรบ.พืชกระท่อม ห้ามขายให้เด็กต่ำกว่า 18 ปี แต่ถ้าเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี หยิบกินเองก็ไม่ผิดกฎหมาย ถูกต้องหรือไม่

ถูกต้อง เนื่องจาก กม.คุ้มครองเด็ก ไม่ต้องการให้เด็กต้องรับโทษทางอาญา


ปัจจุบัน ขายได้แค่ ใบ ต้น เมล็ด ไปปลูก ไปกินเท่านั้น ถูกต้องหรือไม่

ถูกต้อง ทั้งนี้ ตาม ร่าง พรบ.พืชกระท่อมเปิดให้สามารถทำได้ แต่หากจะนำพืชกระท่อมมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อื่นก็ต้องอยู่ภายใต้กม.ว่าด้วยผลิตภัณฑ์นั้นๆ

 
กรณีพบโฆษณาพืชกระท่อม โดยกินเป็นพืช และโฆษณาว่า แก้โควิดได้ กรณีเช่นนี้ยังไม่สามารถเอาผิดกฎหมายใดได้เนื่องจากเป็นแค่พืชชนิดหนึ่งยังไม่ต้องขอรับอนุญาตตามผลิตภัณฑ์ใด จึงไม่เข้าข่ายการถูกควบคุมการโฆษณาตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์ ถูกต้องหรือไม่

ถูกต้อง ทั้งนี้ ตามร่าง พรบ.พืชกระท่อมเปิดให้โฆษณาได้แต่หากนำมาแปรรูปและมีการระบุสรรพคุณ ก็ต้องพิจารณาตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพร

 
ไม่ว่าจะเอาพืชกระท่อม มาผสมน้ำหรือผสมสารอื่นก็ยังขายเพื่อการค้าไม่ได้ เพราะยังไม่มีกฎหมายรองรับ ถูกต้องหรือไม่

ถูกต้อง การนำพืชกระท่อมมาผสมต้องดูว่าใช้ในเชิงพาณิชย์โดยมีการปรุง แปรรูป ผสม โดยมีการระบุสรรพคุณ จะเข้าข่ายการเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร ต้องดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพร แต่หากบริโภคเป็นอาหารรับประทานกันเอง ไม่ได้ขาย โดยมีการนำมาผสมกับยา ยาเสพติด วัตถุออกฤทธิ์ซึ่งเป็นการบริโภคแบบสันทนาการในส่วนนี้จะใช้กฎหมายว่าด้วยพืชกระท่อมเข้ามาดูแล
 
 
ปัจจุบันถ้าผสมพืชกระท่อมกับสารที่ถูกต้องตามกฎหมาย แล้วกินเองก็สามารถทานได้ แต่ไม่สามารถขายได้ถูกต้องหรือไม่

ถูกต้อง ตามร่าง พรบ.พืชกระท่อมห้ามมิให้มีการนำไปผสมกับสารต้องห้ามหรือสารเสพติดเท่านั้น กรณีการขายเป็น อาหาร ยังทำไม่ได้ เพราะ ติดประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 424) ตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร

 
 
 
 
สรุปคำถาม – คำตอบ จากประชุมชี้แจงการปลดพืชกระท่อมจากการเป็นยาเสพติดให้โทษ
วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 13.00 – 15.30
น. ณ ห้องประชุมสำนักวิชำการ อาคาร 1 ชั้น 3 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด