ตามที่มีสื่อมวลชนบางสำนักได้เสนอข่าว เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2564 โดยอ้างอิงข้อความในเฟชบุ๊กของผู้ใช้นาม Sarinee Achavanuntakul - สฤณี อาชวานันทกุล ซึ่งเขียนข้อความทำนองว่าสภากาชาดไทยใช้เงินของตัวเองจองโควต้าวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 Moderna ผ่านองค์การเภสัชกรรม (อภ) เพื่อนำมาขายต่อให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต) ทั่วประเทศ นั้น
ข้อความและข่าวดังกล่าวอาจก่อให้ให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องต่อการดำเนินงานของสภากาชาดไทย ดังนั้นสภากาชาตไทยจึงขอชี้แจงข้อเท็จจริง ดังนี้
1. สภากาชาดไทยเป็นองค์กรการกุศลที่มีรายได้เป็นเงินบริจาคจากพี่น้องประชาชนและได้รับเงินงบประมาณ
อุดหนุนจากรัฐบาลอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งสภากาชาดไทยไม่ได้เป็นหน่วยงานภาครัฐโดยตรง
2. เดือนเมษายน 2564 ท่ามกลางสถานการณ์โรคโควิด-19 ที่มีการระบาดรุนแรงมากขึ้น สภากาชาดไทยได้ริเริ่มจัดหาวัคชีนมาฉีดให้แก่ประชาชนโดยได้ติดต่อกับหน่วยงานกาชาดในต่างประเทศ และบริษัทผู้จำหน่ายวัคซีนเพื่อจัดหาหรือขอซื้อวัคซีนมาฉีดให้แก่ประชาชนตามภารกิจของสภากาชาดไทย
3. ผลการประสานงานกับ บริษัท ชิลลิค ฟาร์มา จำกัด ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายวัคซีนโมเดอร์นาในประเทศไทย
ได้ตกลงจะขายวัคซีน จำนวน 1 ล้านโตส ให้แก่สภากาชาดไทยแต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องซื้อผ่านหน่วยงานของรัฐ คือ องค์การเภสัชกรรม จึงจะขายให้ได้เพราะเป็นนโยบายของบริษัทแม่ในสหรัฐอเมริกา
4. องค์การเภสัชกรรมได้คิดราคาขายวัคซีนให้แก่สภากาชาดไทย จำนวน 1 ล้านโดส ในราคาโดสละ 1,100 บาท โดยสภากาชาดไทยได้ใช้งบประมาณของสภากาชาดไทย ในการสั่งซื้อวัคซีนตังกล่าว จำนวน 100,000 โดส เพื่อมอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดสภากาชาดไทยไปบริการฉีดให้แก่ประชาชนโดยไม่คิดมูลค่า รวมทั้งได้เชิญชวนหน่วยงานทางการแพทย์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงเรียนแพทย์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จำนวน 12 แห่ง ร่วมซื้อด้วย รวมจำนวน 150,000 โดส นอกจากนี้ สภากาชาดไทยได้เชิญชวนให้ อบจ. ทั้ง 76 จังหวัด มาร่วมกับสภากาชาดไทยในการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชน ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างจังหวัดโดยไม่คิดมูลค่า ซึ่งปรากฎว่ามี อบจ. จำนวน 38 จังหวัด แสดงความจำนงขอร่วมกับ สภากาชาดไทยในการซื้อวัคซีนจำนวน 750,000 โดส จากองค์การเภสัชกรรมผ่านสภากาชาดไทย โดยไม่มี อบต. เข้าร่วมโครงการนี้