ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เร่งเชิงรุกฉีดวัคซีนโควิดให้คนไทย 11 ล้านคน - MOPH NEWS 18.11.64

เร่งเชิงรุกฉีดวัคซีนโควิดให้คนไทย 11 ล้านคน - MOPH NEWS 18.11.64 Thumb HealthServ.net
เร่งเชิงรุกฉีดวัคซีนโควิดให้คนไทย 11 ล้านคน - MOPH NEWS 18.11.64 ThumbMobile HealthServ.net

"เผยประชาชนได้รับวัคชีนแล้ว 86 ล้านโดส ยืนยันปีนี้มีวัคซีนเพียงพอ พร้อมเร่งเชิงรุกฉีดวัดซีนให้คนไทย 11 ล้านคนที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มแรก ภายในเดือน ธ.ค.65"

เร่งเชิงรุกฉีดวัคซีนโควิดให้คนไทย 11 ล้านคน - MOPH NEWS 18.11.64 HealthServ
MOPH NEWS 18 พฤศจิกายน 2564
 
เร่งเชิงรุกฉีดวัคซีนโควิดให้คนไทย 11 ล้านคน
รองนายกฯ และ รมว.สร.เปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนรียมความพร้อมรองรับการเปิดประเทศ และรองรับการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประจำปี 2565 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านระบบออนไสน์ เผยประชาชนได้รับวัคชีนแล้ว 86 ล้านโดส ยืนยันปีนี้มีวัคซีนเพียงพอ พร้อมเร่งเชิงรุกฉีดวัดซีนให้คนไทย 11 ล้านคนที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มแรก ภายในเดือน ธ.ค.65
 

สัปตาห์ความตระหนักรู้เรื่องยาต้านจุลชีพโลก
รองนายกฯ และรมว.สธ. ร่วมในพิธีเปีดงาน "สัปตาห์ความตระหนักรู้เรื่องยาต้านจุลชีพโลกของประเทศไทย ปี 2564" ภายใต้ธีม "ส่งต่อความรู้ สู่วิถีใหม่หยุดภัยเชื้อดื้อยา" ผ่านการประชุมแบบ virtual จัดโดย อย. ร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องเชื้อดื้อยาและการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม เผย 4 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยใช้ยาต้านจุลชีพโนมนุษย์ ลดลงร้อยละ 15 และพบว่าบุคลากรทางการแพทย์มีบทบาทสำคัญ ในการสื่อสารทำความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะและเรื่องเชื้อดื้อยาแก่ประชาชน กิจกรรมภายในงานแบ่งเป็น 3 ซึมย่อย ได้แก่
1. การทำประชาพิจารณ์ร่างประเด็นยุทธศาสตร์ ของแผนปฏิบัติการด้านการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย ระยะที่ 2 (พ.. 2566-2570)
2. การสร้างความตระหนักรู้ด้านเชื้อดื้อยา โดยภาคประชาชน และ
3. การสร้างความตระหนักรู้ด้านการดื้อยาต้านจุลชีพ และการใช้ยาต้านจุลขีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์ 
 
 

โครงการ Smart Family Planning
รมช.สช. เป็นประธานเปิดงานประกาศวิสัยทัศน์แห่งความร่วมมือ เพื่อปรับ • เปลี่ยน • ปั้น ฐานประชากร สู่สังคมแห่งความยั่งยืนในโครงการ Smart Family Planning ตังนี้
1.  ปรับทุกนโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนและส่งเสริมการเกิดเพิ่มขึ้นด้วยความสมัครใจ นำไปสู่การคลอดที่ปลอดภัย ทารกแรกเกิดมีสุขภาพแข็งแรง พร้อมที่จะเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ
2. เปลี่ยนสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างครอบครัวและสถาบันครอบครัว
3. ปั้นเครื่องมีอสื่อสารข้อมูลความรู้และอนามัยการเจริญพันธุ์ ผ่านเว็บไชต์วิวาห์สร้างชาติ และ Line@ "Teen club" รวบรวมข้อมูลความรู้สิทธิประโยชน์ของวัยรุ่นไว้ ณ จุดเดียวกัน โดยใช้งานผ่าน Smart Phone
 

พัฒนาการแสดงข้อมูลผลการฉีดวัคนในระบบหมอพร้อม
ปลัต สธ. พร้อมด้วยผู้บริหาร สธ. ประชุมหารือการพัฒนาการแสดงข้อมูลผลการฉีตวัดซีนในระบบหมอพร้อม จากกรณีที่ ประชาชนฉีดวัดซีนโควิด 19 แต่ไม่มีข้อมูลขึ้นในระบบ ทำให้ไม่มีข้อมูลการนัดหมายฉีดวัคซีนเข็มต่อไปหรือใน Digital Health Pass ทำให้ไม่สามารถออกใบรับรองการฉีตวัดซีนหรือเข้าสถานที่ต่าง ได้ ขณะนี้ได้ประสานหน่วยบริการฉีดวัคซีนและผู้รับผิดชอบโครงการต่างๆ เร่งบันทึกผลการฉีตวัคซีนให้เป็นปัจจุบันแล้ว ในส่วนของประชาชน ขอให้ตรวจสอบข้อมูลการฉีตวัดซีนในระบบหมอพร้อม ว่าได้รับการบันทึกถูกต้องครบถ้วน หากพบว่าข้อมูลใดไม่ถูกต้องหรือยังไม่มีข้อมูลแสดงในระบบหมอพร้อม ให้ติดต่อหน่วยบริการหรือโครงการที่ท่านลงทะเบียนเข้ารับการฉีดวัคซีน เพื่อให้เพิ่มเติมข้อมูลในระบบ MOPH IC นอกจากนี้ สั่งการให้ทุกจังหวัตเปิดศูนย์ call center เพื่อลงข้อมูลสำหรับผู้ที่ไม่มีช้อมูลในระบบ MOPH IC หรือแก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง สำหรับพื้นที่ กทม. สามารถติดต่อได้ที่สถานีกลางบางซื่อ หรือหน่วยบริการที่กรุงเทพมหานครกำหนดขึ้น
 

ภาวะผมร่วงหลังติดเชื่อโควิด 19
กรมการแพทย์ ขี้ภาวะผมร่วงภายหลังการติดเชื้อโควิต 19 ส่วนใหญ่เป็นอาการของโรคผมผลัด ผู้ป่วยจะมีอาการผมร่วงทั่วศีรษะมากผิดปกติ ผู้ป่วยโควิด 19 จะเกิดโรคผมผลัดหลังจากการติดเชื้อประมาณ 25% สาเหตุอื่นอาจเกิดจากความเครียด และมีการกระตุ้นปฏิกิริยาการอักเสบ ซึ่งส่งผลต่อวงจรชีวิตของผม ทำให้วงจรผมมีการเปลี่ยนเร็วกว่าปกติ วิธีรักษา คือ 1. ถ้าเกิดภาวะผมร่วงภายหลังจากติดเชื้อโควิด 19 โดยไม่มีปัจจัยอื่น มักหายได้เองประมาณ 2 - 6 เดือน 2. การพรางผมบาง ทำสีผม หรือใส่วิก ช่วยทำให้ภาพลักษณ์ของผู้ป่วยดีขึ้นได้ 3. การรักษาด้วยยาทาไมน็อกซิติล วันละ 1-2 ครั้ง เพื่อกระตุ้นผมให้ขึ้นใหม่ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาที่อาจมีส่วนทำให้ผมร่วงและยากันเลือดแข็งตัว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานยา ส่วนการรับประทานเหล็กและวิตามินยังไม่ได้มีหลักฐานทางการศึกษาชัดเจน
 

 
 

เครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี
กรมอนามัย ส่งเสริมโรงเรียนทั่วประเทศสร้างเครือข่ายดำเนินงานโรงเรียนเด็กไทยฟันดี ลดปัญหาสุขภาพช่องปากเด็กวัยเรียน จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีทำให้ภาคีเครือข่ายมีโอกาสเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อพัฒนากิจกรรมบูรณาการงานส่งเสริมสุขภาพช่องปาก เน้นกิจกรรม 3 ด้าน ได้แก่ 1) การเรียนการสอนเรื่องสุขภาพช่องปากในโรงเรียน 2) การจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อควบคุมการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในโรงเรียนและชุมชน และ 3) กิจกรรมแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ทุกวันอย่างมีคุณภาพ รวมทั้งมีการจัตการ ในระตับสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาสุขภาพ โดยปัจจุบันมีเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีกระจายครอบคลุมอยู่ทั่วประเทศ
 
 
ลอยกระทงออนไลน์ลดเสี่ยงโควิด 19
กรม สบส. เผยผลสำรวจประชาชนส่วนใหญ่ไม่ไปลอยกระทงในปี 2564 ร้อยละ 51.4 เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด 19 ทั้งนี้ ขอเชิญชวนประชาชนลอยกระทงที่บ้านหรือลอยกระทงออนไลน์ งดจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ลดเสี่ยงโควิด 19 หากไปลอยกระทงนอกบ้าน แนะปฏิบัติตามมาตรการ สธ.อย่างเคร่งครัด
เร่งเชิงรุกฉีดวัคซีนโควิดให้คนไทย 11 ล้านคน - MOPH NEWS 18.11.64 HealthServ

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด