ข่าวดีส่งท้ายปีเก่า 2564 จาก “โอมิครอน” !!!
แต่การ์ดต้องไม่ตก โรคอุบัติใหม่ อะไรก็ยังจะเกิดขึ้นได้
จากปัญหาการกลายพันธุ์บริเวณหนามของ “โอมิครอน” ไปมากกว่า 35 ตำแหน่งทำให้วัคซีนที่ใช้ส่วนหนามแหลมของไวรัสดั้งเดิม “อู่ฮั่น” ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะหรือวัคซีน mRNA เป็นตัวกระตุ้นภูมิ ลดประสิทธิภาพในการป้องกันลงไปมาก ข้อมูลจากห้องปฏิบัติการชี้ว่าวัคซีน mRNA ของ ไฟเซอร์ (Pfizer) มีประสิทธิภาพลดลงว่า "44 เท่า" ทีเดียว โดยทางไฟเซอร์ออกมาแจ้งว่าหากผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ “สองเข็ม” จะป้องกันการเจ็บ การตายได้ แต่หากฉีด “เข็มที่ 3 (booster shot)” จะทำให้ภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นถึง 25 เท่า
การฉีดวัคซีนอันเป็นการส่งสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในร่างกายจะเข้าไปกระตุ้นเม็ดเลือดขาว 2 ประเภทคือ “บี-เซลล์ (B-cell) ” ให้สร้าง “แอนติบอดี” ออกมาจับและทำลายตัวไวรัส และกระตุ้นเม็ดเลือดขาวประเภท “ที-เซลล์ (T-cell)” ให้สร้างสารไปกระตุ้นเม็ดเลือดขาวประเภท “เอ็นเค-เซลล์ (natural killer, NK-cell) ” ให้เข้าไปทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส
ดังนั้นหากแอนติบอดีด้อยประสิทธิภาพลงจากการที่ไวรัสมีการกลายพันธุ์ไปมาก ก็ยังมีระบบภูมิคุ้มที่สองกันของ “ที-เซลล์ (T-cell)” คอยช่วยปกป้องมิให้เราป่วยรุนแรงต้องเข้ารักษาตัวใน รพ. หรือเสียชีวิต จากการติดเชื้อไวรัส แม้ว่า“เอ็นเค-เซลล์” จะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้ออันเป็นหน้าที่หลักของบี-เซลล์ได้ก็ตาม
จากงานวิจัยล่าสุดจากนักวิจัยประเทศแอฟริกาใต้ 2 ทีม (ที่ยังไม่ผ่าน Peer review system) พบว่า การติดเชื้อ “โอมิครอน” นอกจากจะช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันสองระบบพร้อมกัน กล่าวคือกระตุ้นเม็ดเลือดขาวประเภท “บี-เซลล์” ให้สร้างแอนติบอดี ออกมาจับและทำลายตัวไวรัสแล้ว ยังจะกระตุ้นเม็ดเลือดขาวประเภท “ที-เซลล์ ” ให้สร้างสารไปกระตุ้นเม็ดเลือดขาวประเภท “เอ็นเค-เซลล์” ให้เข้าทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสโคโร 2019 กลายพันธุ์ สายพันธุ์ โอมิครอน เดลตา และ เบตา
ทำให้ “คาดคะเน” โดยอาศัยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ได้ว่าทั้งการติดเชื้อโอมิครอน “ตามธรรมชาติ” หรือ “การกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดวัคซีน” จะสามารถกระตุ้น “เอ็นเค-เซลล์” ให้ช่วยป้องกันการติดเชื้อ การเจ็บป่วยรุนแรง และการเสียชีวิต ได้จากทั้ง โอมิครอน เดลตา บีตา และสายพันธุ์ที่ระบาดก่อนหน้านี้ แม้ว่าที่แอนติบอดีที่ถูกกระตุ้นด้วยวัคซีนที่ใช้ส่วนหนามของไวรัสดั้งเดิม “อู่ฮั่น” มาเป็นตัวกระตุ้นภูมิจะด้อยประสิทธิลงก็ตาม เนื่องจากมีการกลายพันธุ์บริเวณส่วนของหนามไปมาก ทำให้ลดช่วงเวลาการเกิด “twindemic” หรือการแพร่ระบาดสองสายพันธุ์ (เดลตา และ โอมิครอน) พร้อมกันลงไปได้มาก และท้ายที่สุด “โอมิครอน” ก็จะเข้ามาระบาดแทนที่เดลตา กลายเป็นโรคประจำถิ่นที่มีการ ระบาดในวงแคบ ไม่รุนแรง และเป็นการติดเชื้อตามฤดูกาลในที่สุด
การฉีดวัคซีนอันเป็นการส่งสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในร่างกายจะเข้าไปกระตุ้นเม็ดเลือดขาว 2 ประเภทคือ “บี-เซลล์ (B-cell) ” ให้สร้าง “แอนติบอดี” ออกมาจับและทำลายตัวไวรัส และกระตุ้นเม็ดเลือดขาวประเภท “ที-เซลล์ (T-cell)” ให้สร้างสารไปกระตุ้นเม็ดเลือดขาวประเภท “เอ็นเค-เซลล์ (natural killer, NK-cell) ” ให้เข้าไปทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส
การฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ จะกระตุ้นแอนติบอดี IgG และ IgM ในขณะที่การติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทางระบบทางเดินหายใจจะกระตุ้นแอนติบอดี IgA ซึ่งจะอยู่ในปอดเป็นระยะเวลายืนยาวกว่า
เมื่อเราเจาะเลือดมาปั่นแยกส่วนน้ำใส (plasma) ออกจากเม็ดโลหิตแดง จะมีส่วนเซลล์เม็ดโลหิตขาว (buffy coat) แขวนลอย อยู่ระหว่างกลาง
เม็ดเลือดขาว ประเภท “บี-เซลล์ (B-Lymphocyte) ” จะสร้าง “แอนติบอดี” ออกมาจับและทำลายตัวไวรัส เม็ดเลือดขาวประเภท “ที-เซลล์ (T-Lymphocyte)” สร้างสารไปกระตุ้นเม็ดเลือดขาวประเภท “เอ็นเค-เซลล์ (natural killer, NK-Lymphocyte) ” ให้เข้าไปทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส
30 ธันวาคม 64
Source
SARS-CoV-2 spike T cell responses induced upon vaccination or infection remain robust against Omicron