ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรคข้อเข่าเสื่อม โรคของคนสูงอายุ

โรคข้อเข่าเสื่อม คือ ภาวะที่กระดูกอ่อนผิวข้อเข่ามีการสึกหรอและเสื่อมอย่างช้าๆ และจำเป็นมากขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ทำให้เกิดอาการปวดเข่า เข่าบวม ข้อยึดติด มีเสียงดังในเข่า เข่าผิดรูปจนไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ

โรคข้อเข่าเสื่อม คือ ภาวะที่กระดูกอ่อนผิวข้อเข่ามีการสึกหรอและเสื่อมอย่างช้า ๆ และจำเป็นมากขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ทำให้เกิดอาการปวดเข่า เข่าบวม ข้อยึดติด มีเสียงดังในเข่า เข่าผิดรูปจนไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ
 
สาเหตุหลัก 

1. เป็นผลจากความเสื่อม และการใช้เข่าที่ไม่ถูกต้องมานาน 
2. ความอ้วน น้ำหนักตัวมาก ๆ ทำให้เข่าต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้น
3. เคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณเข่ามาก่อน เช่น กระดูกบริเวณเข่าหัก ข้อเข่าเคลื่อนหลุด เส้นเอ็นฉีกขาด หรือหมอนรองเข่าฉีกขาด
4. โรคข้ออักเสบ เช่น โรคเก๊าท์ หรือโรคข้ออักเสบ รูมาตอยด์ เป็นต้น
 

ปัจจัยที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อม

1.อายุ  อายุมากขึ้นก็มีโอกาสข้อเข่าเสื่อมมากขึ้น
2.เพศ  เพศหญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย
3.น้ำหนัก  ยิ่งน้ำหนักตัวมากข้อเข่าก็จะเสื่อมเร็ว
4.ออกกำลังกาย ผู้ที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะทำให้กระดูกและกล้ามแข็งแรง ช่วยทำให้ชะลอ การเสื่อมข้อเข่า
5.การใช้งาน  เช่น นั่งพับเพียบนาน ๆ นั่งขัดสมาธิหรือนั่งยอง ๆ นาน ๆ ทำให้ข้อเข่าเสื่อมเร็ว
6.การได้รับบาดเจ็บที่ข้อเข่า  อาจเป็นตัวเร่งที่ทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อมได้
 

อาการแสดงเมื่อเป็นข้อเข่าเสื่อม

  • อาการปวดเข่าโดยเริ่มแรกจะเป็นลักษณะตึงบริเวณด้านหน้าและด้านหลังเข่าหรือบริเวณน่อง  หรือเดินขึ้นบันไดไม่คล่องเหมือนเดิม
  • มีเสียงในข้อขณะเคลื่อนไหว
  • มีอาการบวมของข้อเข่า
  • ข้อเข่าโก่งงอ อาจจะโก่งด้านนอกหรือโก่งด้านในทำให้ขาสั้นลง มีอาการปวดเวลาเดินและเดิน ลำบากขึ้น
  • ข้อเข่ายึดติด ทำให้ไม่สามารถเหยียดหรืองอขาได้สุด
 
 

 
การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม

• อาการปวดเริ่มแรก สามารถบรรเทาด้วยยาแก้ปวดพาราเซตามอล การใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบ จะช่วยลดการปวดเกร็งของกล้ามเนื้อขณะที่มีอาการปวดอยู่ได้ ควรหลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันได หลีกเลี่ยงการยืนหรือเดินมาก ถ้าเดินควรใช้ไม้เท้าพยุงตัวเวลาเดิน และใส่สนับเข่าเพื่อช่วยให้ข้อเข่ากระชับ
 
• ควรหลีกเลี่ยงการนั่งกับพื้น เช่น การนั่งพับเพียบ คุกเข่า นั่งขัดสมาธิและการนั่งยอง ๆ  ควรนั่งเก้าอี้ห้อยขา หรือนั่งเหยียดขาตรง อย่านั่งนาน ๆ ควรเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ และควรใช้โถส้วมแบบนั่งแทนแบบนั่งยอง ๆ
 
• ลดน้ำหนัก เพื่อลดแรงกดกระแทกที่ข้อเท้าเวลาเดินหรือยืน
 
• บริหารกล้ามเนื้อรอบเข่าอย่างสม่ำเสมอ
 
• ถ้าอาการไม่ทุเลาควรปรึกษาแพทย์

การรักษา

การดูแลรักษา โรคข้อเข่าเสื่อม หากเป็นแล้วจะไม่สามารถรักษาให้เหมือนเดิม ดังนันจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทา อาการเจ็บปวด ป้องกันข้อติด ซึ่ง การดูแลรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมแบ่งตามความรุนแรงของโรคดังนี้
1.การรักษาข้อเข่าเสื่อมโดยวิธีไม่ผ่าตัด
2.การรักษาโดยวิธีผ่าตัดในข้อเข่าเสื่อม
 

 
1. การรักษาข้อเข่าเสื่อมโดยวิธีไม่ผ่าตัด

การรักษาทั่วไป

- ปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดเข่าเสื่อม เช่น การยกของหนัก การนั่งพับเพียบ การนั่งยอง ๆ การนั่งสมาธิเป็นเวลานาน ๆ การใช้ส้วมชนิดนั่งยอง ๆ การนอนกับพื้นเป็นประจำ เพราะขณะลุกขึ้น  หรือลงนอนจะเกิดอันตรายกับเข่าหลีกเลี่ยงการขึ้นบันไดบ่อย ๆ ควรนั่งเก้าอี้ไม่ควรนั่งบนพื้น
 
- การลดน้ำหนักซึ่งเป็นปัจจัยที่ลดอาการปวดเข่า และช่วยชะลอเข่าเสื่อมได้
 
- การออกกำลังและการบริหารกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อต้นขาจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงจะ ช่วยลดแรงที่กระทำต่อเข่า การเดินเร็ว ๆ หรือการว่ายน้ำจะช่วยกระตุ้นทำให้กระดูกแข็งแรง
 
- เวลาเดินหรือวิ่งให้ใส่รองเท้าสำหรับเดินหรือวิ่งซึ่งจะรองด้วยพื้นกันกระแทก
 
- ให้พักเข่าหากมีอการปวดเข่า
 
- ใช้ไม้เท้าค้ำเวลาจะลุก อย่าหยุดใช้งานเพราะจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง
 
- เวลาขึ้นบันไดให้ใช้ข้อที่ดีก้าวนำขึ้นไปก่อนเวลา
 
- ลงให้ก้าวเท้าข้างที่ปวดลงก่อนมือจับราวบันไดทุก ครั้ง
 
- ประคบอุ่นเวลาปวด
- ทำกายภาพบำบัด แพทย์จะแนะนำวิธีบริหารกล้ามเนื้อและข้อเข่าเพื่อลดอาการปวดป้องกันข้อติด ป้องกันข้อผิดรูป รวมทั้งทำให้กล้ามเนื้อ และกระดูกแข็งแรงที่สำคัญต้องปฏิบัติเป็นประจำจึงจะได้ผลดี
 
- ท่านั่ง ควรนั่งบนเก้าอี้ที่สูงระดับเข่า ซึ่งเมื่อนั่งห้อยขาแล้วฝ่าเท้าจะวางราบกับพื้นพอดี  นอนบนเตียง  ซึ่ง  มีความสูงระดับเข่า ซึ่งเมื่อนั่งห้อยขาที่ขอบเตียงแล้วฝ่าเท้าจะแตะพื้นพอดี
 
 
การรักษาด้วยยา

-ยารับประทานจะเป็นกลุ่มยาแก้ปวด แก้อักเสบ( NSAID)
-ยาฉีดเข้าข้อเข่าการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า ฉีดยาเข้าไปแล้วจะลดอาการปวดและทำให้ข้อเข่าลื่นขึ้น ลดการเสียดสีลง จะมีการฉีดเข้าไปในข้อเข่า 3-5 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน  1  สัปดาห์ จะออกฤทธิ์นาน 6 เดือน – 1ปี
 
 
2. การรักษาโดยวิธีผ่าตัดในข้อเข่าเสื่อม 
 
การรักษาโดยวิธีผ่าตัดมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับสภาพข้อที่เสื่สอมและอายุคนไข้
 
- การผ่าตัดเปลี่ยนแนวกระดูก (Osteotomy) เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ขาโก่งไม่มาก และอยุยังไม่มาก จุดประสงค์คือการเปลี่ยนแนวแรงทำให้กระจายการรับน้ำหนักในข้อให้สม่ำเสมอขึ้น
 
- การเปลี่ยนข้อเข่าบางส่วน (Unicompartmental Knee Replacement) เหมาะสำหรับข้อเข่าที่เสื่อมด้านเดียว
 
- การเปลี่ยนข้อเข่าทั้งข้อ (Total Knee Replacement) คือการเปลี่ยนข้อเข่าทั้งข้อ มักทำในคนอายุมาก และรักษาวิธีอื่นไม่ได้ผล ในคนที่มีข้อเสื่อมากมักต้องใช้วิธีนี้


 
 
2.1 การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมแบบใหม่

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบใหม่นี้ จะมีขนาดแผลผ่าตัดเพียง 8-14 ซม. โดยตัดกล้ามเนื้อเหนือลูกสะบ้าเพียงเล็กน้อย เท่าที่จะสามารถใส่ข้อเข่าเทียมได้
 
โดยใช้ผลิตภัณฑ์ข้อเทียมที่ได้รับการยอมรับในเรื่องของคุณภาพจากอเมริกาและยุโรป เป็นวิธีที่ปัจจุบันยอมรับว่าได้มาตรฐานดีที่สุด
 
ข้อดี
 
- ลดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อ ทำให้ข้อเข่าฟื้นตัวได้เร็ว และเจ็บปวดน้อยกว่า
 
- แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก
 
- ใช้เวลาพักฟื้นหลังผ่าตัดสั้น
 

2.2 วิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า
 
ก่อนการผ่าตัด อายุรแพทย์โรคหัวใจจะตรวจเช็คสภาพร่างกายของคนไข้อย่างละเอียด เพื่อความปลอดภัยในการระงับความรู้สึกและการผ่าตัด
 
การผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 2 ชม. หลังผ่าตัด 3 วันจะเริ่มหัดเดินใช้ไม้เท้า และคนไข้จะนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลประมาณ 5-7 วัน
 
 การพัฒนาเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้ได้ข้อเทียมที่มีคุณภาพใกล้เคียงกับข้อเข่าธรรมชาติ รวมทั้งเทคนิคการผ่าตัดที่ดี ทำให้ข้อเทียมสามารถใช้งานได้เป็นเวลานานมากกว่า 15 ปี ดังนั้นคนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม จึงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้เป็นปกติ

 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด