ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สบส.ย้ำชัด "ยังคงใช้หลักการ UCEP โควิด ดูแลประชาชนต่อไป"

สบส.ย้ำชัด "ยังคงใช้หลักการ UCEP โควิด ดูแลประชาชนต่อไป" Thumb HealthServ.net
สบส.ย้ำชัด "ยังคงใช้หลักการ UCEP โควิด ดูแลประชาชนต่อไป" ThumbMobile HealthServ.net

อธิบดีกรม สบส.แถลงย้ำชัดว่า UCEP โควิด ยังคงเหมือนเดิม หลังครม.ให้ทบทวน UCEP Plus ส่วน Hospitel ยังคงมีมากเพียงพอให้บริการ ยึด ATK เป็นกระบวนการหลัก ฝาก คปภ.สื่อกับบ.ประกัน

สบส.ย้ำชัด "ยังคงใช้หลักการ UCEP โควิด ดูแลประชาชนต่อไป" HealthServ
 
22 กุมภาพันธ์ 2565 ศูนย์แถลงข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข  นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) ได้แถลงข้อมูลสำคัญในประเด็นมาตรการ UCEP ในการดูแลประชาชนที่ติดเชื้อและผู้ป่วยโควิด และประเด็นเกี่ยวกับ Hospitel ในขณะนี้  มีรายละเอียดสำคัญหลายประเด็น ที่กำลังเป็นที่สนใจของประชาชน ได้แก่ มาตรการ UCEP และ UCEP PLUS  การให้บริการโรงแรม Hospitel  และ ประเด็น การตรวจ ATK กับเงื่อนไขบ.ประกัน 


 

คงใช้ระบบ UCEP เช่นเดิม 


นพ.ธเรศ กล่าวถึงกรณี UCEP และ UCEP PLUS ว่า  จากเดิมที่กระทรวงสาธารณสุขมีแผนจะปรับระบบการบริการผู้ป่วยโควิด ให้ไปใช้ตามสิทธิ์ (บัตรทอง ประกันสังคม ราชการ) และขณะเดียวกันก็เตรียมจะประกาศใช้ UCEP PLUS โดยให้ทางสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน ประกาศประเภทผู้ป่วย สีเหลือง และสีแดง ให้ใช้บริการได้ ในทุกที่ และทุกสิทธิ์ ตามที่เป็นข่าวไปก่อนหน้านี้แล้วนั้น
 
หลังจากที่ได้มีการนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในวันนี้  ครม.มีความเห็นว่า ให้กระทรวงสาธารณสุข ทบทวนในหลายด้าน อาทิ กระบวนการ การติดต่อ การรักษา ช่องทางต่างๆ รวมทั้งระบบ UCEP PLUS และการรักษาที่บ้าน ให้มีความชัดเจนในกระบวนการบริการประชาชนเสียก่อน
 
ดังนั้น ครม.จึงยังไม่มีมติต่อข้อเสนอนี้ ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขเอง ได้รับจะนำประเด็นเหล่านี้มาสื่อสารทำความเข้าใจกับประชาชนต่อไป 
 
สรุปก็คือ ยังคงใช้ระบบ UCEP เช่นเดิม ในการให้บริการดูแลผู้ป่วย 
 
 
 
 

ประเด็นคำถามเกี่ยวกับ Hospitel 

 
นพ.ธเรศ ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ การบริการฮอสพิเทล ขณะนี้ ว่า 

ฮอสพิเทล (Hospitel) เป็นกระบวนการหนึ่งในการดูแลผู้ป่วย โดยการตั้งสถานพยาบาลชั่วคราว ที่กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ อาศัยอำนาจตามพรบ.สถานพยาบาล ในการออกประกาศสถานพยาบาลชั่วคราว 
 
ฮอสพิเทล เป็นการปรับปรุงโรมแรมมาเป็นสถานพยาบาล โดยมีการทำงานร่วมกับโรงพยาบาล (เป็นแม่ข่าย) 
 
ปัจจุบัน มีฮอสพิเทล ให้บริการได้ ประมาณ 200 แห่ง
มีจำนวนเตียงประมาณ 30,000 เตียง

ฮอสพิเทล ส่วนใหญ่ อยู่ในพื้นที่กทม.และปริมณฑล มีทั้งภาครัฐและเอกชน

เป้าหมายหลักคือดูแลผู้ป่วยที่มีอาการน้อย (สีเขียว)
 
ต่อคำถามที่ว่า หลังจากมีแนวโน้มกลับมาระบาดมากขึ้น มีการเปิดฮอลพิเทล ใหม่มากน้อยเพียงใด 

คำตอบคือมีการเปิดเพิ่มเพียง 2-3 แห่ง เท่านั้น
เนื่องจากฮอลพิเทลที่มีอยู่เดิม มีอัตราเข้าพักอยู่ราว 30%
 
 
คำถามเรื่องของโรงบาลเอกชนที่ปฏิเสธการรับผู้ป่วย

นพ.ธเรศ ได้ระบุว่า

"ขณะนี้ กลไก UCEP ยังมีผลอยู่ ผู้ป่วยในโรคโควิด ถือเป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน สถานพยาบาลจะต้องให้การดูแล ไม่สามารถปฏิเสธได้ ถ้าพบผู้ป่วยแล้ว แต่ไม่มีศักยภาพในการดูแล จะต้อง "ส่งต่อ" และไม่สามารถเรียกเก็บเงินมัดจำได้  จะผิดพรบ.สถานพยาบาล"
 


 

กรณี ATK 


นพ.ธเรศ ยืนยันว่า 

"กระบวนการรักษาขณะนี้ เรากำหนดเรื่องของ ATK เป็นกระบวนการหลักในการตรวจสอบ ถ้า ATK เป็นบวก ก็ต้องเข้าดูแลต่อ ในสถานพยาบาล เช่น ใน Home Isolation (HI) หรือ Community Isolation (CI) ที่แยกกักชัดเจนเป็นห้องๆ 
 

กรณีที่บริษัทประกันต้องการ ผล RT-PCR นั้น ขอเรียนข้อมูลเบื้องว่า เราได้ แจ้งทาง คปภ. ให้ทบทวนกับ "บริษัทประกัน" เพราะเป็นกรณีที่ทางบริษัทประกันเป็นฝ่ายเรียก 
 
นพ.ธเรศ สรุปในตอนท้ายว่า  ขณะนี้ "เรายังคงใช้หลักการ UCEP โควิด ในการดูแลภาคประชาชนต่อครับ" ส่วนกรอบเวลาในการทบทวนจะนำเสนอคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง และเสนอต่อไป
 
 
 
 

สปสช.ยืนยัน UCEP COVID รักษาได้ทุกที่


  นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ยืนยันว่า UCEP COVID ยังรักษาได้ทุกที่ ไม่จำเป็นต้องกลับไปรักษายังหน่วยบริการที่ลงทะเบียนไว้ ส่วนการรับบริการทั้งที่บ้าน ชุมชน โรงแรม โรงพยาบาล ระบบจะเข้าไปดูแลค่าใช้จ่าย สำหรับช่องทางลงทะเบียนผู้ติดเชื้อผ่านสายด่วน 1330 พบว่า วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 มีจำนวนสายติดต่อเข้ามาสูงที่สุด 49,005 สาย ในรอบ 24 ชั่วโมง จึงเพิ่มเจ้าหน้าที่รับสายอีก 150 คน อย่างไรก็ตาม ทุกวินาทีจะมีผู้รอสายประมาณ 50 สาย จึงแนะนำให้ติดต่อผ่านไลน์ สปสช. @nhso หรือเว็บไซต์ของ สปสช. จะมีเจ้าหน้าที่รับเรื่องและติดต่อกลับเช่นกัน

 
         ด้าน ร.อ.นพ.อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)  กล่าวว่า สพฉ.พร้อมให้การสนับสนุนตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขทั้ง 2 ด้าน ไม่ว่าจะเป็น UCEP COVID หรือ UCEP Plus สำหรับผู้ติดเชื้อให้โทรประสาน สปสช.ทางหมายเลข 1330 หรือ @nhso แต่หากระหว่างรอการประสานเพื่อรับยา หรือรอการรักษา มีอาการแย่ลง เช่น เหนื่อย หายใจไม่สะดวก ไข้สูง หรือมีอาการที่คิดว่าจะเป็นอันตรายต่อชีวิต ให้โทรสายด่วน 1669 ซึ่งใน กทม.ศูนย์เอราวัณเป็นผู้ดูแล สำหรับต่างจังหวัด หรือปริมณฑล จะเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดแต่ละแห่งดูแลโดยทางศูนย์ฯ 1669 จะพิจารณา ส่งทีมและรถไปรับผู้ป่วยไปส่งยังสถานพยาบาล ที่จะไปรับการรักษาตามคำแนะนำของ สปสช. ซึ่งต้องสอดคล้องกับกองทุนที่จะไปตามจ่ายต่อไปด้วย โดย สพฉ.ได้มีการประสานและทำงานร่วมกับศูนย์เอราวัณมาโดยตลอด ในช่วงนี้จำนวนเคสยังไม่มากนัก ซึ่ง กทม.ยังสามารถดูแลได้ ศูนย์เอราวัณจะเป็นผู้จัดทีมเข้าไปให้ความช่วยเหลือผู้ป่วย แต่หากในอนาคตมีจำนวนเคสเพิ่มมากขึ้นเกินศักยภาพของ กทม. ที่จะช่วยเหลือได้ สพฉ.ก็พร้อมที่จะระดมทรัพยากรและจัดทีมเข้าไปช่วยดูแลผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีต่อไปขอให้พี่น้องประชาชนมั่นใจว่า ทางรัฐบาล กระทรวงสาธารณสุข และ กทม. มีความตั้งใจที่จะดูแลประชาชนให้ดีที่สุด และมากที่สุด

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด