ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เกาหลีใต้ประกาศยกเลิกมาตรการโควิด-19 (เกือบ)ทั้งหมด เริ่มเมษายนนี้ ปิดฉากยุคโรคระบาด 2 ปี

เกาหลีใต้ประกาศยกเลิกมาตรการโควิด-19 (เกือบ)ทั้งหมด เริ่มเมษายนนี้ ปิดฉากยุคโรคระบาด 2 ปี Thumb HealthServ.net
เกาหลีใต้ประกาศยกเลิกมาตรการโควิด-19 (เกือบ)ทั้งหมด เริ่มเมษายนนี้ ปิดฉากยุคโรคระบาด 2 ปี ThumbMobile HealthServ.net

ช่วงเวลาสำคัญของเกาหลีใต้ เมื่อทางการประกาศยกเลิกมาตรการควบคุมเกี่ยวกับโควิด-19 เกือบทั้งหมด เว้นหน้ากากอนามัยยังต้องสวมใส่ พร้อมเตรียมเปิดสนามบินอินชอน ต้อนรับการบินนานาชาติและบินได้ทั่วประเทศ เป็นการปิดฉากยุคโรคระบาดกว่า 2 ปีในเกาหลีใต้ลง พร้อมเดินหน้านำประเทศด้วยโรดแมพใหม่ สู่เกาหลีใต้ยุคหลังโควิด


เกาหลีใต้เดินหน้าเปิดประเทศ ยกเลิกมาตรการโควิดทั้งหมด ภายใน พ.ค.65

 
15 เมษายน 2565 สำนักข่าวยอนฮับ เกาหลีใต้ รายงานแผนการเปิดประเทศ เดินหน้ายกเลิกมาตรการควบคุมที่เกี่ยวเนื่องกับโควิด-19 ทั้งหมด ภายในเดือนพฤษภาคม โดยมาตรการส่วนใหญ่เริ่มยุติตั้งแต่กลางเดือนเมษายน 2565 นี้ ตามประกาศของหน่วยงานสาธารณสุขของเกาหลีใต้ เมื่อวันศุกร์ 15 เมษายน 65
 
กรมควบคุมและป้องกันโรคของเกาหลี (KDCA) กล่าวว่า มาตรการนี้เป็นไปตามแผนโรดแมพฉบับใหม่ของรัฐบาล ที่จะพาประเทศก้าวไปข้างหน้าหลังยุคโรคระบาด (post-pandemic regime) เริ่มจากการลดระดับโรคโควิด-19 ลงไปเป็นโรคระบาดระดับ 2 (จากที่ทางการกำหนดไว้ 4 ระดับ) นั่นคือ หากมีผู้ใดป่ว่ยจากโรคนี้ จะได้รับการแนะนำให้สามารถเข้ารับการดูแลรักษาได้ที่คลินิกหรือโรงพยาบาล แบบเดียวกับการรักษา "โรคประจำถิ่น" 
 
KDCA อธิบายว่าปัจจุบันมีความเข้าใจในโรคโควิดสายพันธุ์โอมิครอนมากขึ้น กอปรกับการฉีดวัคซีนและการจัดแนวทางการรักษาที่เหมาะสมและได้ผลดี ฉะนั้นจึงเป็นไม่น่าเป็นกังวล หากผู้คนจะได้กลับไปใช้ชีวิตเช่นเดิม แม้ผู้นั้นจะได้รับเชื้อก็ตาม
 
ทางการเกาหลีใต้ระบุว่า จะทยอยยกเลิกมาตรการทั้งหมด เริ่มตั้งแต่กลางเดือนเมษายน 2565 (คาดว่าเริ่มต้น 18 เมษายน 2565) เป็นต้นไป แต่จะยังคงมาตรการสวมหน้ากากอนามัยต่อไปอีกระยะ
 

นับเป็นก้าวสำคัญในรอบ 2 ปี ของเกาหลีใต้ เปลี่ยนผ่านจากยุคโควิดเพื่อเข้ายุคใหม่หลังโควิด
 

ข้อมูลสำคัญที่นำทางให้ทางการเกาหลีใต้มั่นใจในการยกเลิกมาตรการ มาจากตัวเลขผู้ติดเชื้อที่ผ่านจุดพีคไปแล้วเมื่อกลางเดือนมีนาคม ที่จำนวนผู้ติดเชื้อพุ่งไปที่ 6.2 แสนราย ขณะที่เมื่อวันศุกร์ (15 เมษายน) มีรายงานผู้ติดเชื้อลดลงมาอยู่ที่ระดับ 1.25 แสนราย  และคาดการณ์ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันจะลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 50,000 - 100,000 รายในระยะต่อไป
 
 
  
 

มาตรการที่ยกเลิก


มาตรการต่างๆ ที่ทางการเกาหลีใต้ประกาศจะยกเลิกทันที ได้แก่ 
 
• ประกาศลดระดับความรุนแรงของโรคโควิดจากระดับ 1 (Class 1) ลงสู่ระดับ 2 (Class 2) ตั้งแต่ 25 มีนาคม ที่ผ่านมา โดยกำหนดระยะเปลี่ยนผ่านไว้เป็นเวลา 4 สัปดาห์ เพื่อให้องค์กร/หน่วยงานด้านสาธารณสุขได้ปรับเปลี่ยน และหลังจากครบกำหนดกรอบเวลาเปลี่ยนผ่านแล้ว ระบบสาธารณสุขทั้งหมดจะกลับสู่มาตรฐานการบริการแบบปกติดั้งเดิมก่อนยุคโควิด 
 
• เมื่อโรคถูกลดระดับลง มาตรการที่จะมีต่อผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อก็เปลี่ยนไป โดยผู้ป่วยไม่ต้องถูกสั่งกักตัวอีกต่อไป มีเพียงการรายงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่จะรายงานสถานะสุขภาพไปยังส่วนกลางเท่านั้น  รวมทั้งมาตรการคำสั่งให้ต้องรักษาตัวที่บ้าน ก็จะถูกยกเลิกเช่นกัน 
 
• สำหรับผู้เดินทางเข้าประเทศเกาหลีใต้ ยังต้องใช้ผลตรวจ PCR ภายใน 48 ชั่วโมง แสดงเมื่อเดินทางถึงในวันแรก
 
• มาตรการเคอร์ฟิวสำหรับร้านอาหาร คาเฟ่ และธุรกิจต่างๆ จะถูกยกเลิกตั้งแต่วันจันทร์ที่ 18 เมษายน นั่นหมายถึง ไม่ห้ามการรวมตัวเกิน 10 คน อีกต่อไป รวมทั้งการรวมกลุ่มจัดกิจกรรมหรือแม้แต่ชุมนุม ก็สามารถทำได้อย่างอิสระ 
 
• มีเพียงการใส่หน้ากากอนามัยเท่านั้นที่ชาวเกาหลีใต้ยังคงต้องปฏิบัติ เนื่องจากทางการยังจำเป็นต้องเฝ้าระวังและติดตามข้อมูลการแพร่ระบาดต่อไปอย่างใกล้ชิดภายหลังจากมาตรการยกเลิกต่างๆ มีผลแล้ว คาดว่ามาตรการนี้จะถูกยกเลิกภายในเดือนพฤษภาคม 

 
 

เปิดการบินในประเทศและนานาชาติ


ทางการเกาหลีใต้กำลังพิจารณาผ่อนคลายการเดินทางเข้าประเทศแบบไม่ต้องใช้วีซ่า สำหรับประเทศที่อยู่นอกโปรแกรมข้อตกลงยกเว้นกับเกาหลีใต้ รวมทั้งเตรียมยกเลิกมาตการจำกัดจำนวนเที่ยวบินที่จะบินเข้ามายังสนามบินนานาชาติอินชอน เพื่อต้องการเพิ่มจำนวนสายการบินนานาชาติเข้าประเทศให้มากขึ้น ตั้งเป้าไว้ที่ระดับ 50% ภายในปีนี้ พร้อมๆ ไปกับเตรียมเปิดให้บินไปยังสนามบินต่างๆ ในประเทศได้เช่นกัน
 
 

จบยุคโควิดในเกาหลีใต้


เกาหลีใต้ประกาศมาตรการเว้นระยะห่างตั้งแต่มีนาคม ปี 2020 (2563) พร้อมความเข้มงวดหลายๆ มาตรการตามมา อาทิ ห้ามคนรวมตัวเกินกว่า 2 คนในช่วงกลางคืน สั่งปิดร้านอาหาร อนุญาตให้เฉพาะซื้อกลับบ้านเท่านั้น ผู้ที่เดินทางจากต่างประเทศจะต้องถูกกักตัว 7 วัน เว้นแต่จะได้รับวัคซีนแล้ว เป็นต้น
 

สถานการณ์โควิดในเกาหลีใต้ 15 เมษายน 2565  จำนวนผู้ติดเชื้อรวมกว่า 16 ล้านคน มีผู้เสียชีวิต 20,616 ราย เทียบเป็นอัตราเสียชีวิตร้อยละ 0.13 ล่าสุดจำนวนผู้ป่วยหนักอยู่ที่ 999 ราย เพิ่มขึ้น 37 รายจากวันก่อน  จำนวนผู้ได้รับการฉีดวัคซีนครบมี 44.52 ล้านคน (86.8% จากประชากรทั้งหมด) มีผู้ได้รับวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3 แล้ว 32.97 ล้านคน คิดเป็น 64.3%  ส่วนผู้ได้รับเข็ม 4 มีจำนวน 356,651 ราย คิดเป็น 0.7%
 
Yonhap News Agency 
April 15, 2022 
 
 



รายชื่อประเทศที่เดินทางเข้าเกาหลีใต้ได้โดยไม่ต้องใช้วีซ่า (ข้อมูล 1 เมษายน 2565)
List of K-ETA Required Countries (Updated on 1 April, 2022 )
 
50 Eligible Countries for K-ETA
Albania, Andorra, Barbados, Dominica, Guam, Guyana, Holy See, Ireland, Malta, Mexico, Monaco, New Caledonia, Nicaragua, Palau, Saint Kitts-Nevis, Saint Vincent and the Grenadines, San Marino, Slovenia, United Kingdom, United States of America, Venezuela, Greece, Netherlands, Denmark, Germany, Latvia, Romania, Luxembourg, Lithuania, Belgium, Bulgaria, Cyprus, Sweden, Spain, Slovakia, Estonia, Austria, Italy, Czech Republic, Croatia, Portugal, Poland, France, Finland, Hungary, Norway, Switzerland, Liechtenstein, Iceland, Singapore
 
 
46 for K-ETA Additional Eligible Countries(from Apr. 1st, 2022)
Malaysia, Bahrain, United Arab Emirates, Oman, Israel, Kazakhstan, Qatar, Thailand, Turkey, Guatemala, Dominican Republic, Bahamas, Brazil, Saint Lucia, Suriname, Haiti, Antigua and Barbuda, El Salvador, Uruguay, Jamaica, Chile, Costa Rica, Colombia, Trinidad and Tobago, Canada, Argentina, Honduras, Paraguay, Ecuador, Russia, Montenegro, Bosnia and Herzegovina, Serbia, Nauru, Marshall Islands, Fiji, Tuvalu, Australia, Republic of South Africa, Lesotho, Morocco, Mauritius, Botswana, Seychelles, Eswatini, Tunisia


Source : Visa Free/Waiver Entry for Foreigners - overseas.mofa.go.kr 
ข้อมูล ณ วันที่ 2022-04-04
 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด