ราชกิจจานุเบกษา 29 เมษายน 2565 ประกาศคำสั่ง ศบค. เรื่อง "
แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒๕)"
สาระสาคัญคือ คำสั่งในเชิงผ่อนคลายมาตรการการเข้าประเทศ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์และนานาประเทศ โดยเหตุผลระบุว่า
จากมาตรการที่เคยกำหนดไว้ก่อนหน้า เพื่อการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ที่สามารถแพร่กระจายและ โอกาสติดเชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อื่นๆ
แต่ในระยะต่อมา พบว่า ผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน ที่มีอาการรุนแรงทั้งระดับวิกฤต และระดับป่วยหนัก มีไม่สูง และอยู่ในวิสัยที่การสาธารณสุขของประเทศสามารถดูแลได้ ประกอบกับข้อมูล ด้านผู้เดินทางจากต่างประเทศ เข้ามาในประเทศ เพื่อประโยชน์ด้านเศรษฐกิจหรือท่องเที่ยว แม้จะตรวจพบผู้ติดเชื้ออยู่บ้าง แต่ก็มีจำนวนน้อยและสามารถควบคุมได้
เหล่านี้ จึงมิได้เป็นปัจจัยที่มีผลให้การติดเชื้อในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ สอดคล้องกับสถานการณ์ทั่วโลก ที่หลายประเทศได้เริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการป้องกันและควบคุมโรค และเปิดประเทศควบคู่ไปกับการส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
ดังนั้นเพื่อความเหมาะสม จึงเห็นควรปรับมาตรการผู้เดินทางเข้าประเทศ 3 ประเภท ได้แก่
(1) ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งแสดงหลักฐานรับรองการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ครบตามเกณฑ์ที่ผู้ผลิตวัคซีนหรือที่ทางราชการกำหนด (Vaccinated Persons)
(2) ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งมิได้แสดงหลักฐานรับรองการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด- 19 ครบตามเกณฑ์ที่ผู้ผลิตวัคซีนหรือที่ทางราชการกำหนด
(Unvaccinated/ Not Fully Vaccinated Persons)
(3) ผู้มีเหตุยกเว้นที่นายกรัฐมนตรีหรือหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินกำหนด อนุญาต หรือเชิญเข้ามาในราชอาณาจักร
สำหรับการเดินทางเข้า-ออกระหว่างประเทศทางบก ณ จุดผ่านทั่วประเทศ ให้ ศบค.มท. กำกับดูแลการเดินทางผ่านเข้าออก ให้สอดคล้องกับมาตรการและหลักเกณณ์ที่ ศบค.กำหนด
หลักฐานการลงทะเบียนเพื่อเดินทางเข้าประเทศ เป็นไปตามที่ ศปก.กต. (ที่ศูนย์ปฏิบัติการมาตรการเดินทางเข้าออกประเทศและการดูแลคนไทยในต่างประเทศ) กำหนด นั่นคือการลงทะเบียนผ่าน Thailand Pass เช่นเดิม
ในวันเดียวกันนั้น ราชกิจจาฯ ออกประกาศ เรื่อง
"ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๔๔)" สาระสำคัญ คือ การออกประกาศ 5 ข้อ เพื่อผ่อนคลายมาตรการและการควบคุมสถานการณ์ ดังนี้
ข้อ ๑ การปรับปรุงเขตพื้นที่จังหวัดตามพื้นที่สถานการณ์และการกำหนดพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวเพิ่มเติม ให้ ศบค. มีคำสั่งปรับปรุงเขตพื้นที่จังหวัดจำแนกตามเขตพื้นที่สถานการณ์และกำหนดพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวเพิ่มเติม ตามบัญชีรายชื่อจังหวัดแนบท้ายคำสั่ง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและเป็นไปตามแผนการเปิดประเทศเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยให้นำมาตรการควบคุมแบบบูรณาการ ที่กำหนดไว้สำหรับพื้นที่สถานการณ์ระดับต่างๆ ข้อห้าม ข้อยกเว้น และข้อปฏิบัติที่ได้ประกาศไว้แล้วก่อนหน้านี้มาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกำหนดนี้
ข้อ ๒ การขยายเวลาการบังคับใช้มาตรการควบคุมและป้องกันโรค ให้บรรดามาตรการควบคุมแบบบูรณาการ ข้อห้าม ข้อยกเว้น และข้อปฏิบัติสำหรับพื้นที่สถานการณ์ระดับต่างๆ รวมทั้งมาตรการเตรียมความพร้อมตามข้อกำหนด (ฉบับที่ ๓๗) ลงวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๔และมาตรการควบคุมแบบบูรณาการในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวตามข้อกำหนด (ฉบับที่ ๔๒) ลงวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ได้แก่ การห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค กิจกรรมการรวมกลุ่มของบุคคลที่สามารถจัดได้โดยไม่ต้องขออนุญาต มาตรการควบคุมแบบบูรณาการจำแนกตามพื้นที่สถานการณ์ มาตรการควบคุมแบบบูรณาการในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว และมาตรการเฝ้าระวังเพื่อควบคุมการระบาดของโรคในสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค รวมถึงบรรดามาตรการ หลักเกณฑ์หรือแนวปฏิบัติที่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบกำหนดขึ้นภายใต้ข้อกำหนดดังกล่าวยังคงมีผลใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกำหนดนี้ ในส่วนของการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆ ให้หัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ เจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบการภาคเอกชน พิจารณาเพื่อดำเนินมาตรการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่นอกสถานที่ตั้งหน่วยงานตามความเหมาะสม
ข้อ ๓ การปรับปรุงมาตรการควบคุมแบบบูรณาการในพื้นที่เฝ้าระวังสูง และพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว ให้พื้นที่ที่ประกาศเป็นพื้นที่เฝ้าระวังสูงและพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว ดำเนินการตามมาตรการควบคุมแบบบูรณาการเพื่อการเปิดสถานที่ กิจการ และกิจกรรมสำหรับพื้นที่สถานการณ์ที่จำแนกเป็นเขตพื้นที่เฝ้าระวังสูงและเขตพื้นที่เฝ้าระวัง ตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อ ๓ และ ข้อ ๔ แห่งข้อกำหนด (ฉบับที่ ๔๒) ลงวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๕ โดยให้ปรับมาตรการควบคุม ดังนี้
การบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มที่ตั้งอยู่ในพื้นที่
เฝ้าระวังสูง พื้นที่เฝ้าระวัง และพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว ให้เปิดให้บริการได้เฉพาะร้านที่ผ่านการ
ตรวจประเมินตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (Amazing Thailand Safety and Health Administration) ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในระดับ SHA PLUS ขึ้นไป หรือผ่านการตรวจมาตรฐานความสะอาดปลอดภัยป้องกันโรค COVID- 19 รองรับสุขภาพดีวิถีใหม่ (Thai Stop Covid 2 Plus) ของกระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัย หรือได้มีการ ดำเนินการตามมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (Covid Free Setting) ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และจำกัดการให้บริการและบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้านได้ไม่เกินเวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกา ให้คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครหรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด แล้วแต่กรณีพิจารณากำหนดมาตรการควบคุมแบบบูรณาการเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละพื้นที่
ข้อ ๔ การปรับปรุงการกำหนดผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อประโยชน์ในการคัดกรองบุคคลที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร การควบคุมและการป้องกันมิให้เกิดการระบาดของโรคให้สอดคล้องกับสถานการณ์ระบาดในปัจจุบันและนโยบายการเปิดประเทศเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาลให้ยกเลิกความในข้อ ๔ แห่งข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๔๐) ลงวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การกำหนดประเภทของผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งจะต้องดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคสำหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรและหลักเกณฑ์การดำเนินการในสถานที่กักกันที่ทางราชการกำหนดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (โควิด- 19) เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ให้เป็นไป ตามคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด- 19) กำหนด โดยแบ่งตามประเภทของผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งแสดงหลักฐานรับรองการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ครบตามเกณฑ์ที่ผู้ผลิตวัคซีนหรือที่ทางราชการกำหนด (Vaccinated Persons)
(๒) ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งมิได้แสดงหลักฐานรับรองการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด- 19 ครบตามเกณฑ์ที่ผู้ผลิตวัคซีนหรือที่ทางราชการกำหนด (Unvaccinated / Not FullyVaccinated Persons)
(๓) ผู้มีเหตุยกเว้นที่นายกรัฐมนตรีหรือหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินกำหนดอนุญาต หรือเชิญเข้ามาในราชอาณาจักรตามความจำเป็น”
ข้อ ๕ การเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดภาคเรียนที่ ๑/๒๕๖๕ ให้กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัย ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินมาตรการเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดภาคเรียนที่ ๑/๒๕๖๕ โดยให้กำกับ ติดตามเฝ้าระวัง และทบทวนมาตรการตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อมุ่งสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษาและการจัดการเรียนการสอนโดยคำนึงประโยชน์ของทั้งนักเรียน ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นสำคัญ
มาตรการและหลักเกณฑ์ สำหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร