19 สิงหาคม 2565 ศบค. แถลงการเตรียมความพร้อมด้านยารักษาโควิด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการรองรับการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระยะ Post-Pandemic ของประเทศไทย
ไทม์ไลน์ 3 ระยะ การเปลี่ยนผ่าน การจัดหายา
ระยะที่ 1 ช่วงเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2565
กระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่หลักคือการจัดซื้อยาเพื่อเตรียมให้เพียงพอและแจกจ่ายให้กับหน่วยงานบริการที่ดูแลประชาชน ขณะที่หน่วยงานอื่นๆ มีบทบาท ดังนี้
- อย.ทำหน้าที่เร่งรัดการอนุญาตทะเบียนตำรับยา และแจ้งผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ให้เตรียมการสำรองยาเพื่อแจกจ่ายให้กับหน่วยบริการ ให้ทั่วถึงและเพียงพอ ตามนโยบายระดับถัดไป
- องค์การเภสัชกรรม เตรียมการสำรองยา เพื่อจำหน่ายให้กับหน่วยบริการ
- กองทุนเตรียมความพร้อมการบริหารจัดการยา
- หน่วยบริการ เตรียมความพร้อมในการดำเนินการจัดซื้อยา
20 กรกฎาคม 65 ประกาศให้สามารถกระจายยาไปยังคลินิกเวชกรรมได้
ระยะที่ 2 เดือนกันยายน 2565
ระบุ ตั้งแต่ 1 กันยายน 65 เป็นต้นไป จะเปลี่ยนระบบการจ่ายยารักษาโควิด โดยร้านยาสามารถจ่ายยาได้ตามใบสั่งแพทย์ ส่วนหน่วยบริการนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (เช่น รพ.สังกัดกทม. รพ.มหาวิทยาลัย ฯลฯ) จัดซื้อยาได้เอง ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 65 เช่นกัน
ระยะที่ 3 ตุลาคม 2565
ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 65 หน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขจัดซื้อยาได้เอง
อธิบายง่ายๆ แบบทั่วไป
"ปกติ การรับการรักษาจาก หน่วยงาน ที่ดูแล / รบ จะแจกยาพื้นฐาน ฟทจ อะไรพวกนี้ให้กับ ปชช ฟรี ยกเว้นกลุ่ม 608 / ผู้ป่วยหนัก จะได้รับยา ฟาวิ /โมนูลวิ แล้วแต่หมอจะจ่ายให้ ทีนี้ มันขาดแคลน กับ รพ บางแห่งไม่มีอีก มีแต่ รพ เอกชนก็แพงมาก ทางออกคือ ถ้าผู้ป่วยไป รพ แล้วทาง รพ ไม่จ่ายให้ ด้วยไม่มี หรือ อาจไม่จำเป็นต้องให้ หรือ อาจแพงไป สำหรับผู้ป่วย ทางออกถ้าผู้ป่วยต้องการจริงๆ ก็ให้ผู้ป่วยซื้อยานี้ได้จากร้านยา ทั้งนี้ตามใบสั่งแพทย์ครับ เข้าถึงยาง่ายขึ้น มันไม่ใช่ว่าทุกคนป่วยต้องกินยาพวกนี้ครับ อยู่ที่แพทย์วินิจฉัย ครับ ยังไงต้องผ่านแพทย์ครับ
ส่วน สิทธิ ปกส คงต้องจ่ายไปแล้วไปขอเบิกเองทีหลังครับ" - ผู้ใช้เฟซบุ๊ค นาม Mac Gaewim