ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โควิดทั่วโลก ลดลงต่อเนื่อง ข้อมูลจาก WHO และองค์กรสุขภาพทั่วโลก

โควิดทั่วโลก ลดลงต่อเนื่อง ข้อมูลจาก WHO และองค์กรสุขภาพทั่วโลก HealthServ.net
โควิดทั่วโลก ลดลงต่อเนื่อง ข้อมูลจาก WHO และองค์กรสุขภาพทั่วโลก ThumbMobile HealthServ.net

หลายประเทศเริ่มคลายความกังวลเมื่อ องค์การอนามัยโลก (WHO), ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งยุโรป (the European Center for Disease Prevention and Control: ECDC), สำนักงานความมั่นคงด้านสุขภาพของสหราชอาณาจักร (the United Kingdom's Health Security Agency:HSA) และ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Centers for Disease Control and Prevention: U.S. CDC) ได้อัปเดตสถานการณ์การระบาดของโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BQ.1 ในขณะที่กระทรวงสาธารณสุขสิงคโปร์อัปเดตสถานการณ์การระบาดของโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย XBB

โควิดทั่วโลก ลดลงต่อเนื่อง ข้อมูลจาก WHO และองค์กรสุขภาพทั่วโลก HealthServ
 
 
WHO โดยหัวหน้าฝ่ายเทคนิคของภารกิจโควิด-19 “ดร.มาเรีย ฟาน เคอร์คอฟ” ได้แถลงอัปเดตสถานการณ์การระบาดของโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย XBB และ BQ.1  เมื่อวันที่  25 ต.ค.  2565 ที่ผ่านมาดังนี้
 
  • WHO และภาคีทั่วโลกได้เฝ้าติดตามโอไมครอนกลายพันธุ์สายพันธุ์ย่อยที่กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างใกล้ชิด พบว่ากว่าร้อยละ 80 ของตัวอย่างส่งมาถอดรหัสพันธุกรรมที่ห้องปฏิบัติการทั่วโลกยังคงเป็นโอไมครอนสายพันธุ์ BA.5
  • WHO และชาติสมาชิกพบว่าโอไมครอนซึ่งจัดเป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล (variant of concern: VOC) ได้มีการกลายพันธุ์ไปมากกว่า 300 สายพันธุ์ย่อย ทำให้ WHO ได้เพิ่มหมวดใหม่ให้กับระบบติดตามโอไมครอนคือ “โอไมครอนสายพันธุ์ย่อยที่ควรเฝ้าติดตาม (Omicron subvariants under monitoring) เช่น BQ.1 และ XBB เพื่อส่งสัญญาณไปยังหน่วยงานสาธารณสุขทั่วโลกได้ร่วมติดตามเฝ้าระวังโอไมครอนสายพันธุ์เหล่านี้เป็นพิเศษว่าจะเป็นภัยคุกคามต่อสุภาพของประชาชนทั่วโลกหรือไม่เมื่อเทียบกับโอไมครอนสายพันธุ์ย่อยอื่นโดยหากพบว่าสายพันธุ์เหล่านี้มีลักษณะพันธุ์กรรมจีโนมและสามารถก่อโรคที่รุนแรงต่างไปจากโอไมครอนสายพันธุ์ดั้งเดิม WHO อาจพิจารณาตั้งชื่อเรียกใหม่
  • จากการถอดรหัสพันธุกรรมโอไมครอนทั่วโลก WHO และเครือข่ายพบโอไมครอนสองสายพันธุ์ย่อย “XBB” และ “BQ.1” ที่มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) เหนือกว่าโอไมครอนทุกสายพันธุ์ในปัจจุบัน  แต่ไวรัสสองสายพันธุ์ย่อยดังกล่าวยังคงมีการแพร่ระบาดในระดับต่ำ (low level of circulation) กล่าวคือเพิ่มจำนวนอย่างช้าๆเมื่อเทียบกับโอไมครอน BA.5
  • โอไมครอน XBB เป็นสายพันธุ์ลูกผสม (recombinant)  ระหว่าง BA.2.10.1 และ BA.2.75 ในขณะที่โอไมครอน BQ.1 เป็นเหลนของ BA.5 
  • เป็นที่น่ายินดีที่ทั่วโลกยังไม่พบผู้ติดเชื้อโอไมครอน XBB หรือ BQ.1 ที่มีอาการรุนแรงต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นหรือแตกต่างไปจากโอไมครอนสายพันธุ์ดั้งเดิม เช่น BA.1,BA.2,BA.4 และ BA.5 อย่างมีนัยสำคัญ
  • แต่ WHO มิได้ประมาทยังคงร่วมมือกับชาติสมาชิกเฝ้าติดตามการแพร่ระบาดของโอไมครอนทุกสายพันธุ์ย่อยอย่างใกล้ชิดต่อไป 
  • WHO เน้นย้ำว่าการตรวจวินิจฉัยด้วย ATK, PCR, และการถอดรหัสพันธุกรรมยังคงดำเนินการได้เป็นปรกติกับโอไมครอน BQ.1 และ XBB
  • วัคซีนยังคงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดิมในการป้องกันการติดเชื้อที่เจ็บป่วยรุนแรงและเสียชีวิตกับบรรดา “โอไมครอนสายพันธุ์ย่อยที่ควรเฝ้าติดตาม (Omicron subvariants under monitoring) BQ.1 และ XBB

     
"สรุป (โดย WHO)" การติดตามวิวัฒนาการ(ธรรมชาติของการกลายพันธุ์) ของไวรัสโคโรนา 2019 จะช่วยทำให้เราสามารถประเมินสถานการณ์และวางนโยบายเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ในการควบคุม ป้องกัน  และรักษาได้ถูกอย่างถูกต้อง ทั้งนี้แต่ละประเทศจำเป็นต้องมีระบบการเฝ้าระวังไวรัสอย่างต่อเนื่อง (sustained surveillance) – มีการวางแผนและจัดการการทดสอบทางห้องปฏิบัติการและการถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งจีโนมจากตัวอย่างจากทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง 
 
 

ข้อมูลจากองค์กรต่างๆ 


ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งยุโรป (the European Center for Disease Prevention and Control: ECDC) และ สำนักงานความมั่นคงด้านสุขภาพของสหราชอาณาจักร (the United Kingdom’s Health Security Agency: HSA) แสดงข้อมูลตรงกันว่าจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 เริ่มลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว ประมาณ 2%

ดร. แมรี แรมซีย์ (Mary Ramsay) ผู้อำนวยการ HSA กล่าวว่าจำนวนผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลที่ลดลงชี้ให้เห็นถึงความสำเร็จของโครงการส่งเสริมการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นในช่วงฤดูใบไม้ร่วงของประเทศที่ผ่านมา ซึ่งในระหว่างนั้นมีประชาชนเข้ารับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นถึง 10 ล้านคน อย่างไรก็ตามเธอเตือนประชาชนว่าอย่าพึ่งนอนใจ เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อโอไมครอนสายพันธุ์ย่อยต่างๆ อาจเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอีกครั้งในช่วงฤดูหนาวที่กำลังมาเยือน





 
"ดร. อเล็กซ์ เซลบี้ (Alex Selby)" นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษได้คำนวณอัตราการเพิ่มจำนวนของโอไมครอนสายพันธุ์ย่อยต่างๆและจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารักษาตัวใน รพ. และเสียชีวิตเนื่องจากโควิด-19 ในอังกฤษ คาดการ (จากการคำนวณ) ว่าจากนี้จนถึงปลายปี 2565 “ไม่น่าจะมีการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ (ในอังกฤษ)” จากโอไมครอน เพราะในขณะนี้ดูเหมือนสายพันธุ์ย่อยที่ก้าวร้าวที่สุด (BQ.1.1, XBB.1 ...) มีการเพิ่มจำนวนอย่างช้าๆ ในขณะที่โอไมครอน BA.5 ลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่อง





 
ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Centers for Disease Control and Prevention: U.S. CDC) รายงานว่าสัดส่วนโอไมครอน BA.5 และ BA.4.6 ลดลงอย่างต่อเนื่องเหลือ 49.6% และ 9.6% ในขณะที่ BQ.1 และ BQ.1.1 เพิ่มจำนวนขึ้นเป็น 14% และ 13.1% ตามลำดับ โดยจำนวนผู้ป่วยที่ต้องเข้ารักษาตังใน รพ. และเสียชีวิตจากการติดเชื้อโอไมครอนมิได้เพิ่มขึ้น
 
WHO ได้เพิ่มหมวดใหม่ให้กับระบบติดตามโอไมครอนคือ “โอไมครอนสายพันธุ์ย่อยที่ควรเฝ้าติดตาม (Omicron subvariants under monitoring) เช่น BQ.1 และ XBB
U.S. CDC รายงานสัดส่วนโอไมครอน BA.5 และ BA.4.6 ลดลงอย่างต่อเนื่องเหลือ 49.6% และ 9.6% ในขณะที่ BQ.1 และ BQ.1.1 เพิ่มจำนวนขึ้นเป็น 14% และ 13.1% ตามลำดับ โดยจำนวนผู้ป่วยที่ต้องเข้ารักษาตังใน รพ. และเสียชีวิตจากการติดเชื้อโอไมครอนมิได้เพิ่มขึ้น
กระทรวงสาธารณสุขสิงคโปร์ รายงานจำนวนผู้ติดเชื้อโอไมครอน และโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย XBB ประจำสัปดาห์ลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่อง
 
ข้อมูลความรุนแรงของการเกิดโรค (severity)
จากข้อมูลในรอบ 28 วันของประเทศสิงคโปร์ที่ผ่านมา
 
  • พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่จำนวน 177,904 ราย
  • เป็นผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ หรืออาการไม่รุนแรงแยกตัวอยู่บ้าน 99.7%
  • ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลและต้องให้ออกซิเจน 0.2%
  • ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ต้องเข้ารักษาตัวใน ICU จำนวน 0.04% และ
  • ผู้ที่เสียชีวิตเนื่องจากการติดเชื้อโควิด-19 จำนวนเพียง 0.02%
 
ประชากรสิงคโปร์ได้รับวัคซีนครบโดส 92%, ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นถึง 80% โดยกลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และกลุ่มเปราะบางได้รับการฉีดวัคซีนอย่างทั่วถึง 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด