มีความกังวลใจของประชาชนส่วนหนึ่งในประเทศไม่น้อยว่าหลังจากที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในไทยมากขึ้น รวมทั้งจีนที่กำลังจะเข้ามา ในมุมมองของอาจารย์มีความน่าห่วงหรือไม่ เกี่ยวกับเรื่องของการกลายพันธุ์ของเชื้อเป็นสายพันธุ์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นและการระบาดก็จะกลับมารุนแรง
ต้องยอมรับว่าขณะนี้ ในแต่ละประเทศจะมีสายพันธุ์หลักไม่เหมือนกัน อย่างในยุโรป อเมริกาจะเป็นสายพันธุ์ BQ.1.1 ตามด้วย XBB.1.5 และ BQ.1
ของไทยจะเป็น BN.1.3 จีนเป็น BF.7
คนยุโรป อเมริกา เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยพอสมควรแล้ว ส่วนของเราที่เป็น BN.1.3 สามารถควบคุมได้ มีภูมิคุ้มกันได้ ก็พิสูจน์ได้ระดับหนึ่งว่าสามารถป้องกันสายพันธุ์ของยุโรป อเมริกาได้
ส่วนของจีนที่เป็น BF.7 และ BA.5.2 เคยระบาดในประเทศไทยแล้ว เราจึงมีภูมิคุ้มกันอยู่แล้ว ฉะนั้นจึงไม่น่าฝ่าด่าน BN.1.3 ขึ้นมาเป็นสายพันธุ์หลักไม่น่าจะทำได้ง่าย
จากการถอดรหัสพันธุกรรมแต่ละสายพันธุ์ ที่พบว่าจะมีวงจรชีวิตที่ไม่นานมาก หมายความว่าอนาคต BN.1.3 อาจจะถูกแทนที่ด้วยสายพันธุ์รุ่นเหลนได้ใช่ไหม
ใช่ครับ นั่นจึงเป็นสาเหตุว่าทำไม WHO ต้องการให้มีการทำ Genomic surveillance หมายถึงทำสวอปคนไข้หรือผู้ติดเชื้อมาตรวจพีซีอาร์ บก เพื่อถอดรหัสดูสายพันธุ์ใหม่ รวมทั้งล่าสุดที่จะต้องมีการตรวจน้ำเสียด้วย เพราะว่าในน้ำเสียจะมีไวรัสที่ปนมากับอุจจาระ สามารถจะเป็นดัชนีชี้วัดว่า จะเป็นสายพันธุ์ที่กำลังจะระบาดในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าได้ เพราะไวรัสในน้ำจะอุบัติขึ้นมาก่อนจะเกิดเป็นระบาดใหญ่ น้ำเสียนี้คือน้ำเสียจากเครื่องบินโดยสารและน้ำเสียจากบ่อบำบัดต่างๆ
ขณะนี้มีสายพันธุ์ไหนที่น่าห่วงหรือต้องติดตามอย่างใกล้ชิดหรือไม่ เพราะสายพันธุ์ใหม่ๆที่พบจะแพร่กระจายได้เร็วจริง แต่ลักษณะอาการไม่รุนแรงเทียบกับยุคระบาดใหม่ๆ
เมื่อช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ที่ผ่านมาเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่าสายพันธุ์ย่อยโอมิครอนระเบิด อุบัติเป็นสายพันธุ์ย่อยต่างๆ กระจายไปทั่วประเทศ คำถามว่า สายพันธุ์ไหนที่ต้องระวัง คำตอบ เป็นตรงกันข้าม ว่า แต่ละประเทศมีภูมิคุ้มกันแบบไหน แทน
เพราะเมื่อดูอย่างประเทศจีนที่เป็น BF.7 และ BA.5.2 ไวรัสเหล่านี้เมื่อมาในเมืองไทยจะไม่ได้เกิดเลย ไม่มีผลอะไรเลย แต่ในเมืองจีนกลับทำให้ป่วยและเสียชีวิตกันพอสมควร
ถ้าไปดูจะพบว่า ไม่ได้ฉีดวัคซีน หรือฉีดเพียง 3 เข็ม การติดเชื้อธรรมชาติก็ไม่มี ฉะนั้นจึงเป็นประเด็นว่า มาตรการที่ดีที่สุดตอนนี้คือ ฉีดวัคซีนครบ มีการติดเชื้อธรรมชาติ ใช้ยาต้านเชื้อหากติดเชื้อ
เรียกว่าไม่ถึงขั้นฝืนธรรมชาติ แต่ก็ไม่ตามใจธรรมชาติจนเกินไป
กรณีการพบสายพันธุ์ XAY.2 ในไทย น่ากังวลหรือไม่
ถือว่าเป็นสีสันทำให้ตื่นเต้น สำหรับสายพันธุ์ XAY.2 เป็นเดลตาครอน ไม่พบระบาดเป็นวงกว้าง พบเพียงรายเดียว คาดว่ามาจากต่างประเทศ เมื่อเช็คดูจะมีความได้เปรียบในการแพร่ระบาดเทียบได้กับ BN.1.3 ไม่ต่างกัน ไม่สามารถฝ่าเข้ามาได้ แต่ลักษณะนี้ควรระมัดระวังพอสมควร เพราะจะทำให้เกิดการตื่นตัวทั่วประเทศ เป็นเรื่องดี
วัคซีนที่เราใช้อยู่ในประเทศไทยยังสามารถครอบคลุมได้ทุกสายพันธุ์ที่เราตรวจพบ ณ ขณะนี้
ค่อนข้างจะเป็นเช่นนั้น เพราะของเราไม่มีพวก XBB.1.5 เข้ามา เรามีเพียง BN.1.3 และด้วยการประสานงานกันระหว่างวัคซีนและการติดเชื้อตามธรรมชาติ แล้วก็ยาต้านไวรัสที่พร้อมให้กับคนที่ติดเชื้อภายใน 5 วัน ถือว่าดูแลคนในประเทศได้ดีพอสมควรทีเดียว
XBB.1.5 ที่พบระบาดมากในสหรัฐอเมริกา แต่ไม่พบในไทย ถ้าเทียบกับสายพันธุ์ที่ผ่านมา น่าห่วงอย่างไรบ้าง
เมื่อถอดรหัสพันธุกรรม XBB.1.5 จะเห็นชัดว่า ส่วนหนามจะกลายพันธุ์และหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดี พอๆ กับการที่หนามสามารถจับกับเซลส์ได้แน่นที่สุดที่เคยมีมาก ทำให้เข้าไปในเซลได้ ทำให้ระบาดได้ดีมาก แต่เท่าที่สังเกตและเก็บข้อมูล ไม่ได้มีเจ็บป่วยเสียชีวิตเพิ่มขึ้นตาม ฉะนั้นทำให้ค่อนข้างมั่นใจว่า ซุปโอไมครอนสายพันธุ์ต่างๆ ประเทศที่มีการฉีดวัคซีนอย่างสมบูรณ์และยาต้านไวรัส น่าจะไปได้ ในที่สุดก็จะเป็นโรคประจำถิ่นที่จะคุ้นเคยกันและมีการฉีดวัคซีนประจำปี
XBB.1.5 ถ้าเข้ามาในไทย พิจารณาจากความร่วมมือของหน่วยงานรัฐ เอกชน อสม. จิตอาสา แล้ว น่าเอาอยู่ครับ
TNN ข่าวค่ำ
7 ม.ค. 66