รัฐมนตรีเกษตรของสหภาพยุโรปมีมติเห็นชอบในการปรับปรุงกรอบของระเบียบ เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ รวมถึงระเบียบเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ด้วย โดยเนื้อหาของกรอบระเบียบที่ปรับปรุงใหม่ที่สำคัญ คือ
- มาตรฐานการผลิตมีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยพิจารณาถึงเงื่อนไขการผลิตในแต่ละท้องถิ่น และระดับของการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ในแต่ละภูมิภาค
- ยอมรับว่า ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์อาจมีการปนเปื้อนจากจีเอ็มโอได้ โดยระดับการปนเปื้อนที่ยอมรับได้คือ 0.9% ซึ่งเท่ากับระดับของผลิตภัณฑ์เกษตรอื่นๆ ทั่วไป
- กำหนดให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตภายในยุโรป ต้องใช้ตรารับรองของสหภาพยุโรป (ซึ่งจะมีการออกแบบใหม่) เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถแยกแยะความแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ทั่วไปได้ง่าย แต่ก็ยังยอมให้ใช้ตรารับรองของหน่วยตรวจรับรองเอกชนควบคู่ไปด้วยได้
- กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อาหารเกษตรอินทรีย์จะต้องมีส่วนผสมเกษตรอินทรีย์ไม่น้อย กว่า 95%
- กำหนดระเบียบวิธีการนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ ที่ผลิตจากต่างประเทศ ซึ่งอาจจะใช้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของยุโรป หรือมาตรฐานอื่นที่ทัดเทียมกับของยุโรปก็ได้
- กำหนดให้สินค้านำเข้าเกษตรอินทรีย์ต้องกำหนดแหล่งที่ผลิต แต่อนุญาตให้ใช้ตรารับรองของสหภาพยุโรปบนผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์จากต่าง ประเทศได้ด้วย
หลังจากนี้ ทางคณะกรรมาธิการเกษตรและการพัฒนาชนบทของสหภาพยุโรปจะได้จัดทำรายละเอียดของ ระเบียบมาบังคับใช้อีกทีหนึ่ง
ในปี 2549 สหภาพยุโรปมีประเทศสมาชิกอยู่ 25 ประเทศ และมีเกษตรกรที่ทำการผลิตเกษตรอินทรีย์ประมาณ 160,000 ครอบครัว ครอบคลุมพื้นที่การผลิตราว 43 ล้านไร่ ซึ่งคิดเป็น 3.9% ของพื้นที่การเกษตรในยุโรป ส่วนตลาดเกษตรอินทรีย์ในยุโรปนั้นประมาณว่ามีขนาดราว 13 - 14 ล้านยูโร (หรือราว 594 - 639 ล้านบาท)
ระเบียบข้อกำหนดใหม่ (EC Regulation 834/2007) เกี่ยวกับมาตรฐานการผลิตพืชและสัตว์เกษตรอินทรีย์ ระบบการตรวจรับรอง และการนำเข้าผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์จากต่างประเทศ ของสหภาพยุโรป ที่ได้รับการอนุมัติขึ้นใช้แทนระเบียบเก่า (EEC Regulation 2092/91) ได้รับการเผยแพร่อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 กรกฏาคม 2552
(คัดจาก
http://www.greennet.or.th/2007_news/070612_EU_reg.htm)
กฎระเบียบสินค้าเกษตรอินทรีย์ฉบับใหม่ ของอียู
Contributed by สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป
Wednesday, 11 July 2007
(จาก
http://news.thaieurope.net/content/view/2548/63 )
สำนักงาน ที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป ได้ติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตร -อาหารอินทรีย์ของสหภาพยุโรป (EU) ล่าสุด EU ได้ออกกฎระเบียบใหม่สำหรับสินค้าเกษตรอินทรีย์ ที่จะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป มีรายละเอียดน่าสนใจที่เกษตรกรและผู้ผลิตสินค้าเกษตรและอาหารอินทรีย์ไทยควร จับตา ดังนี้
1.เมื่อกลางเดือนมิถุนายน 2550 คณะมนตรีเกษตรของ EU ได้อนุมัติข้อเสนอการแก้ไขปรับปรุงกฎระเบียบหลักเกี่ยวกับการผลิตและติดฉลาก สินค้าเกษตรอินทรีย์ใหม่ เพื่อใช้แทนกฎระเบียบเดิม (Regulation EEC/2092/91 on organic production and labelling of organic products) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นต่อสินค้าเกษตรอินทรีย์ในตลาด EU ได้ดีขึ้น และทำให้เกษตรกรสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบใหม่ได้สะดวกมากขึ้น
2.ข้อ เสนอของกฎระเบียบใหม่จะกำหนดหลักการ เป้าหมาย กฎระเบียบการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ และการทำฟาร์มอินทรีย์ที่ชัดเจนมากขึ้น และมีการปรับใช้หลักการและเป้าหมายในทุกขั้นตอนและกระบวนการผลิต โดยรวมถึงสินค้าปศุสัตว์ สัตว์น้ำเพาะเลี้ยง พืช อาหารสัตว์ และอาหารอินทรีย์ทั้งหมดการกำหนดการใช้เครื่องหมายและการติดฉลากเกษตร อินทรีย์ การกำหนดกฎเกณฑ์สำหรับการนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ ทั้งนี้ กฎระเบียบใหม่ จะรวมถึงการเพิ่มเติมกฎระเบียบเกี่ยวกับสัตว์น้ำเพาะเลี้ยง ไวน์ สาหร่ายและเชื้อหมักอินทรีย์ (yeast) ด้วย
3. แนวทางหรือสาระสำคัญเกี่ยวกับการปรับใช้กฎระเบียบการผลิตอินทรีย์ใหม่ ที่กรรมาธิการยุโรปได้เสนอไว้ ได้แก่
• การกำหนด หลักการ เป้าหมาย กฎระเบียบการผลิตสำหรับการทำฟาร์มอินทรีย์ที่ชัดเจนมากขึ้น และมีการปรับใช้หลักการและเป้าหมายในทุกขั้นตอนและกระบวนการผลิต โดยรวมถึงสินค้าปศุสัตว์ สัตว์น้ำเพาะเลี้ยง พืช อาหารสัตว์ และอาหารอินทรีย์ทั้งหมด
• การทำให้กฎระเบียบเกี่ยวกับ GMO กระจ่างชัดมากขึ้น โดยเฉพาะ ยังคงห้ามใช้สินค้า GMO ในการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ ทั้งนี้ ระดับการกำหนดทั่วไปของการปนเปื้อนอย่างไม่ได้ตั้งใจของ GMO ที่ได้รับอนุญาตเท่ากับ 0.9% จะนำมาปรับใช้กับสินค้าอาหารอินทรีย์ด้วย (แม้ว่าบางประเทศสมาชิกได้เรียกร้องและต้องการให้กำหนดไว้ที่ 0.1% เท่านั้น)
• การกำหนดการใช้เครื่องหมายหรือโลโก้เกษตรอินทรีย์ของ EU ทั้งนี้ ยังคงสามารถใช้ควบคู่กับเครื่องหมายภายในประเทศสมาชิกหรือของภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมแนวคิดร่วมเกี่ยวกับการผลิตอินทรีย์ และไม่มีการห้ามมาตรฐานของเอกชนที่มีมาตรการที่เข้มงวดมากกว่า
• การติดฉลากอาหารอินทรีย์สามารถกระทำได้ เมื่อมีส่วนประกอบอินทรีย์มากกว่า 95% และอนุญาตให้สินค้าที่ไม่ใช่อินทรีย์ สามารถระบุส่วนผสมอินทรีย์บนรายการส่วนผสมอาหารเท่านั้น
• กฎระเบียบใหม่นี้ ยังไม่รวมถึงสถานประกอบการจำหน่ายอาหาร โดยแต่ละประเทศสมาชิกสามารถกำหนดกฎระเบียบเองได้ ทั้งนี้ EU จะมีการทบทวนในเรื่องดังกล่าวในระดับ EU อีกครั้งในปี 2554
• การกำหนดการควบคุมเพิ่มเติมโดยใช้ฐานความเสี่ยงมาปรับใช้ โดยทำให้อยู่ในแนวเดียวกับระบบการควบคุมอาหารและอาหารสัตว์อย่างเป็นทางการ ของ EU แต่ยังคงการควบคุมเฉพาะที่ใช้ในการผลิตสินค้าเกษตร-อาหารอินทรีย์
• กำหนดระบบการนำเข้าอย่างถาวรขึ้นใหม่ โดยอนุญาตให้ประเทศที่สามสามารถส่งออกมายังตลาด EU ได้ภายใต้เงื่อนไขเดียวกันกับผู้ผลิตของ EU
• กำหนดการระบุแหล่งที่มา ซึ่งสินค้าอินทรีย์ได้มีการผลิต รวมถึงสินค้านำเข้าที่ใช้เครื่องหมายเกษตรอินทรีย์ของ EU
•กำหนดกฎระเบียบเพิ่มเติมว่าด้วยเรื่อง สัตว์น้ำเพาะเลี้ยง ไวน์ สาหร่าย และเชื้อหมักอินทรีย์
•กำหนดให้การขออนุญาตใช้สารใหม่ๆ เป็นไปอย่างเปิดเผย (ซึ่งในขณะนี้ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงรายการสารที่ใช้ในการผลิตอินทรีย์)
กฎระเบียบใหม่ของ EU Council Regulation (EC) No 834/2007 of 28 June 2007on organic production and labelling of organic products and repealing Regulation (EEC) No 2092/91ได้ผ่านความเห็นชอบตามกระบวนการของ EU แล้ว คณะมนตรียุโรปได้เห็นชอบเมื่อ 28 ก.ค. 2550 และได้ลงใน Official Journal (OJ) แล้วเมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2550 โดยกฎระเบียบดังกล่าวจะสามารถเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป