Burn out คือหมดไฟในการทำงาน แต่ไม่ใช่โรคซึมเศร้า
อย่าเข้าใจผิดและอย่าเอาไปผสมปนเปกัน เพราะจะทำให้ตีความผิด วินิจฉัยผิด จนนำไปสู่การแก้ไขที่ไม่ถูกต้อง
อาการหมดไฟ หรือ Burn out คือภาวะเหนื่อยล้า หมดไฟในการทำงาน มาจากภาวะเครียดเรื้อรังในการทำงาน หมดแรงจูงใจ มีอาการหลัก 3 ประการ
รู้สึกสูญเสียพลังงาน มีภาวะอ่อนเพลีย เวลาทำงาน
รู้สึกต่อต้านและมองงานของตนในแง่ลบ ขาดแรงจูงใจในการทำงาน
มีปฏิสัมพันธ์ในที่ทำงานแย่ลง
คนทำงานอาจเสี่ยงต่อการเกิด "ภาวะหมดไฟ"
- ขาดอำนาจการตัดสินใจ มีปัญหาการเรียงลำดับความสำคัญของงาน
- ไม่ได้รับการตอบแทน ที่เพียงพอต่อสิ่งที่ได้ทุ่มเทไป
- ภาระงานหนัก ต้องทำในเวลาเร่งรีบ
- รู้สึกไร้ตัวตน ไม่เป็นส่วนหนึ่งของทีม
- ไม่ได้รับความยุติธรรม ขาดความเชื่อใจ
- ระบบบริหารที่ทำงาน ขัดต่อคุณค่าและจุดมุ่งหมายในชีวิต
ผลหากละเลยภาวะหมดไฟ
หากไม่มีการจัดการภาวะหมดไปออกไป จะส่งผลกระทบ หลายด้าน อาทิ
ผลด้านร่างกาย
อาจพบอาการเหนื่อยล้าเรื้อรังปวดเมื่อย ปวดศีรษะ
ผลด้านจิตใจ
สูญเสียแรงจูงใจ หมดหวัง ส่งผลให้มีอาการของภาวะซึมเศร้าและนอนไม่หลับได้
ผลต่อการทำงาน
อาจขาดงานบ่อย ประสิทธิภาพการทำงานลดลง อาจคิดเรื่องลาออกในที่สุด
วิธีการดูแลตนเองในภาวะหมดไฟเบื้องต้น
พยายามแบ่งย่อยงาน
หากงานที่ต้องทำยากและลำบากที่จะเริ่มต้น ให้ลองแบ่งย่อยเป็นส่วนๆ ที่ง่ายกว่า และให้เครดิตตัวเองในการทำให้เสร็จ
ให้ตัวเองรู้สึกบวกบ้าง
ใช้เวลาว่างเพื่อคิดเรื่องดีๆ ในชีวิต ลองพิจารณาว่าสิ่งใดที่ผ่านไปด้วยดี และพยายามเขียนสิ่งที่คุณรู้สึกขอบคุณอย่างน้อย 3 อย่างในแต่ละวัน
ท้าทายความคิดของคุณ
ริ่มโดยมีสติสำรวจความคิดทางลบที่เกิดขึ้นต่องานที่ทำอยู่ ตรวจสอบความเป็นไปได้ของความคิดเชิงลบ เชื่อมั่นในตนเองว่าสามารถทำได้ หรือทำได้เต็มที่แล้ว และปรับความคิดให้เป็นบวกมากขึ้น
กระฉับกระเฉงให้มากขึ้น
ความกระตือรือนสามารถช่วยเผาผลาญพลังงานลบในสมองได้ แม้จะไม่ทำให้ความเครียดของคุณหายไปในทันที แต่สามารถทำให้เครียดน้อยลงได้
วางแผนล่วงหน้า
เพื่อจัดการกิจกรรมตึงเครียดที่กำลังจะเกิดขึ้น เช่น รายการสิ่งที่ต้องทำ การเดินทางที่คุณต้องไป สิ่งที่คุณต้องใช้งาน
คุยกับใครสักคน
เช่น เพื่อนที่ไว้ได้ สมาชิกในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน หรือติดต่อสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ก็สามารถช่วยคุณได้เช่นกัน