ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

แพทย์ชี้ทางรอดเรื่องกระดูกสำหรับผู้สูงอายุ หยุดทรมานได้ด้วยการ "ฉีดซีเมนต์"

แพทย์ชี้ทางรอดเรื่องกระดูกสำหรับผู้สูงอายุ หยุดทรมานได้ด้วยการ "ฉีดซีเมนต์" Thumb HealthServ.net
แพทย์ชี้ทางรอดเรื่องกระดูกสำหรับผู้สูงอายุ หยุดทรมานได้ด้วยการ "ฉีดซีเมนต์" ThumbMobile HealthServ.net

20 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันกระดูกพรุนโลก โดยมูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ หรือ International Osteoporosis Foundation (IOF) กำหนดขึ้นเพื่อรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงการดูแลสุขภาพของกระดูกให้มากขึ้น เนื่องจากกระดูกเป็นอวัยวะที่สำคัญและแข็งที่สุดในร่างกายแต่คนส่วนใหญ่กลับมองข้าม ทำให้มีผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นปัญหาสาธารณะสุขระดับโลก

แพทย์ชี้ทางรอดเรื่องกระดูกสำหรับผู้สูงอายุ หยุดทรมานได้ด้วยการ "ฉีดซีเมนต์" HealthServ
(ภาพบน : กระดูกพรุนแต่ละระดับ)

 
แต่หากเมื่อเกิดปัญหาเรื่องกระดูกขึ้นแล้ว จะหาทางรอดของโรคนั้น ๆ ได้อย่างไร? เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยเป็นกังวล และย่อมต้องมองหาวิธีการรักษาเพราะต้องการกลับมามีสุขภาพที่ดีเป็นปกติได้เร็วที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเป็นเรื่องกระดูกกับผู้สูงอายุ พบว่าผู้สูงอายุมักมีปัญหาเรื่องกระดูกที่เกิดจาการลื่นส้ม หรือจากภาวะกระดูกพรุน อันเป็นความเสื่อมที่เกิดจากวัยที่สูงขึ้น ซึ่งโดยปกติเมื่อกระดูกหัก แพทย์จะทำการเข้าเฝือกและรักษาตามอาการภายนอก  ในทางกลับกันหากภาวะแตกหักเกิดกับกระดูกสันหลัง การเข้าเฝือกกระดูกสันหลังย่อมทำได้ยาก  ในอดีตแพทย์ทำการเข้าเฝือกกระดูกสันหลังโดยใช้เหล็กดาม แต่การผ่าตัดทำให้แผลค่อนข้างใหญ่ เสียเลือดมาก พักฟื้นนาน มีความเสี่ยงสูง ปัจจุบันจึงมีผู้คิดค้นการฉีดซีเมนต์เข้าไปในกระดูกสันหลัง ซึ่งการฉีดซีเมนต์เข้าไปยังกระดูกที่ยุบ แตก หรือหัก เพื่อเข้าไปเสริมความแข็งแรงของตัวกระดูกสันหลังที่หัก ถือเป็นทางรอดของผู้ประสบภาวะกระดูกสันหลังหัก โดยเฉพาะผู้สูงอายุ
 
 
แพทย์ชี้ทางรอดเรื่องกระดูกสำหรับผู้สูงอายุ หยุดทรมานได้ด้วยการ "ฉีดซีเมนต์" HealthServ
นพ.ธนวัฒน์ อุณหโชค แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังและเส้นประสาท รพ.เอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ  เผยว่า ปัจจุบันการฉีดซีเมนต์ (Bone Cement) เพื่อรักษากระดูกสันหลังแตก หักและทรุด เป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ต้องการผ่าตัด พักฟื้นแค่คืนเดียว การรักษาด้วยวิธีนี้ประสบความสำเร็จสูงมากและทำให้ผู้ป่วยหายจากอาการปวด แผลเล็กแทบจะมองไม่เห็น โดยโรคหรือภาวะที่ทำให้กระดูกสันหลัง แตก หัก ทรุด ได้แก่ กระดูกเสื่อมตามช่วงอายุ โรคกระดูกพรุน อุบัติเหตุ  โดยจากสาเหตุข้างต้นนี้หากเกิดขึ้นแล้ว ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดมากน้อยตามลำดับความรุนแรงของโรค ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมาด้วยอาการนั่งก็ปวด นอนก็ปวด จนไม่สามารถลุกเดินได้ 

 
โดยวิธีการรักษานั้น ขั้นตอนการฉีดซีเมนต์แพทย์จะใช้เข็มขนาดเล็ก โดยใช้เครื่องเอกซเรย์พิเศษ (Fluoroscope)  หาตำแหน่งและเจาะเข้าไปในบริเวณที่กระดูสันหลังยุบ แล้วค่อยๆ ฉีดซีเมนต์ไปทีละนิด เพื่อไม่ให้ซีเมนต์ไหลออกมาจากกระดูก และรอให้ซีเมนต์กระดูกแข็งตัว จึงดึงเข็มออกแล้วใช้พลาสเตอร์ปิดแผล เนื่องจากขนาดแผลที่เล็ก ไม่จำเป็นต้องเย็บปิดแผล
 
 
(ภาพล่าง แสดงกระดูกสันหลัง และกระดูสันหลังที่หัก (สีแดง))
แพทย์ชี้ทางรอดเรื่องกระดูกสำหรับผู้สูงอายุ หยุดทรมานได้ด้วยการ "ฉีดซีเมนต์" HealthServ
นพ.ธนวัฒน์ ยังเผยเพิ่มเติมว่า โดยทั่วไปแล้ววิธีการรักษาโรคกระดูกสันหลังหักยุบด้วยวิธีการฉีดซีเมนต์นั้นมี 2 วิธี

1.การฉีดซีเมนต์อย่างเดียวตรงๆ 

2.การฉีดซีเมนต์โดยใช้ Balloon ขยายก่อน เพื่อที่จะฉีดซีเมนต์เข้าไปให้ได้ปริมาณที่มาก  แต่ที่โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์เนิร์ฟ   มีเทคนิคที่สามารถฉีดซีเมนต์ได้มากโดยไม่ต้องใช้  Balloon  ซึ่งเป็นเทคนิคเฉพาะของโรงพยาบาล ข้อแทรกซ้อนน้อยกว่าการทำ Balloon  เพราะหากทำ Balloon เสี่ยงมีข้อแทรกซ้อนมาก

(ภาพล่าง การฉีดซีเมนต์)
 
อย่างไรก็ตามผู้ป่วยใช้เวลาพักฟื้นเพียง 1- 2 ชั่วโมง เพื่อให้ซีเมนต์ที่ฉีดไปแข็งตัว ก็สามารถลุกนั่ง ยืน เดินได้ตามปกติ และอาการปวดก็จะดีขึ้นหลังจากที่ฉีดเสร็จ วิธีนี้ต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง ซึ่งมีความชำนาญในการทำหัตถการนี้โดยเฉพาะ
 
 
เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของผู้ประสบปัญหาเรื่องกระดูกให้กลับมาใช้ชีวิตปกติได้เร็วที่สุด  ผู้สนใจปรึกษาปัญหาเรื่องกระดูก โทร.02-0340808
แพทย์ชี้ทางรอดเรื่องกระดูกสำหรับผู้สูงอายุ หยุดทรมานได้ด้วยการ "ฉีดซีเมนต์" HealthServ
แพทย์ชี้ทางรอดเรื่องกระดูกสำหรับผู้สูงอายุ หยุดทรมานได้ด้วยการ "ฉีดซีเมนต์" HealthServ

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด