จำเป็นต้องเริ่มยากันชักเมื่อเกิดอาการชักหรือไม่
ถ้าอาการชักนั้นได้รับการตรวจพบคลื่นลมชักจากการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองและได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แล้วว่าเป็นจากโรคลมชัก ก็จำเป็นต้องเริ่มยากันชัก อาการชักอาจเกิดได้จากสาเหตุอื่นด้วย ที่พบบ่อยคือเด็กเมื่อมีไข้สูงมักจะมีอาการชัก ชักอย่างนี้เรียกว่า ไข้ชัก หากทำให้ไข้ลดก็จะหยุดชัก ดังนั้นยาที่ใช้คือยาลดไข้ และใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวบ่อยๆ เพื่อลดไข้ แพทย์อาจให้ยากันชักในเด็กบางรายด้วย แต่ยากันชักนี้จะให้ยาเพียงช่วงที่มีไข้ชัก ไม่ต้องกินต่อเนื่องตลอดชีวิต
ดังนั้นถ้าถามว่าต้องเริ่มใช้ยากันชักทุกครั้งที่มีอาการชักไหม อันนี้ต้องขึ้นอยู่กับอาการวินิจฉัยของแพทย์ โดยหลักการแล้ว การเริ่มยากันชักแพทย์จะพิจารณาประโยชน์ที่ได้ในการควบคุมการชัก นั่นคือหากใช้ยาแล้วมีโอกาสในการเกิดผลข้างเคียงของยากันชักมากเกินไปจนเป็นอันตรายก็จะไม่ใช้ แต่หากไม่ได้ยาแล้วผู้ป่วยมีการชักซ้ำ มีอันตรายจากการชัก และมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ก็จำเป็นต้องใช้
ส่วนกรณีที่จำเป็นต้องใช้ยาคือ เมื่อผู้ป่วยเกิดภาวะชักขึ้นมาโดยไม่มีสาเหตุหรือปัจจัยใดมากระตุ้น หรือเมื่อผู้ป่วยเป็นไข้ชักมากกว่า 2 ครั้ง หรือเมื่อผู้ป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มมากขึ้น ตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง แล้วพบว่ามีคลื่นลมชักอยู่ อันนี้อาจมีความจำเป็นต้องเริ่มใช้ยา
“ผู้ป่วยโรคลมชักต้องมีความสม่ำเสมอในการกินยา ไม่ลืม และไม่เพิ่มขนาดยาเอง การตวงยาหรือแบ่งเม็ดยาต้องเป๊ะ เพราะยากันชักเป็นยาอันตราย ออกฤทธิ์ที่สมอง หากพบอาการผิดปกติจากการกินยา ต้องรีบปรึกษาแพทย์ทันที”
ยากันชักมีอะไรบ้างและมีกลไกการออกฤทธ์อย่างไร
ยากันชักที่ใช้อาการรักษากันชักนั้นมีหลายชื่อตัวยาจัดเป็นกลุ่มยากันชักได้ 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งเป็นยากันชักกลุ่มมาตรฐาน เช่น คาร์บามาเซปีน ฟีไนโตอิน ฟีโนบาร์บิทอล โซเดียมวาลโปรเอท ยาอีกกลุ่มเป็นยากันชักกลุ่มใหม่ เช่น โทปิราเมท เลวีไทราซีแตม ไวกาบาทริน ลาโมทริจีน เป็นต้น ยาเหล่านี้มีหลายรูปแบบ ได้แก่ ยาสำหรับเด็ก ยาเม็ด ยาแคปซูล และยาฉีด
ตัวยาทุกตัวมีกลไกการออกฤทธิ์ไปกดสมองส่วนที่มีการปล่อยคลื่นลมชักออกมา ทำให้ไม่ชัก แต่ตัวยาแต่ละชนิดก็เหมาะกับการชักแต่ละแบบ แพทย์จะเลือกใช้ตัวยากันชักให้ตรงกับลักษณะการชักที่เกิดขึ้น เช่น เป็นการชักเฉพาะที่หรือกระจายไปทั่วสมองส่วนที่มีการปล่อยคลื่นลมชักออกมา ทำให้ไม่ชัก แต่ตัวยาแต่ละชนิดก็เหมาะกับการชักแต่ละแบบ แพทย์จะเลือกใช้ตัวยากันชักให้ตรงกับลักษณะการชักที่เกิดขึ้น เช่น เป็นการชักเฉพาะที่หรือกระจายไปทั่วสมอง ชักแบบเกร็ง แบบกระตุกหรือทั้งเกร็งและกระตุก ชักตัวอ่อน หรือชักแบบเหม่อ
ดังนั้นผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วยจึงควรให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่แพทย์มากที่สด เพื่อที่แพทย์จะเลือกชนิดของยากันชักได้ถูกต้องเหมาะสม โดยปกติแพทย์จะเริ่มจากการใช้ยาชนิดเดียวก่อนและใช้ขนาดยาน้อยที่สุดเท่าที่จะควบคุมการชักได้ หากพบว่ายังไม่สามารถควบคุมการชักได้ แพทย์อาจพิจารณาให้ยาที่ได้ผลการรักษา ไม่มีอาการข้างเคียงหรือมีอาการข้างเคียงน้อยที่สุด เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นๆในสังคมได้อย่างปกติ
ส่วนใหญ่ผู้ป่วยต้องได้ยากันชักนานประมาณ2ปีหรือมากกว่า เพื่อลดโอกาสในการชักซ้ำ หากไม่มีอาการชักแล้วแพทย์อาจพิจารณาให้หยุดยาโดยจะค่อยๆลดยากันชักลงทีละน้อยจนหยุดยาได้ เวลาที่ใช้ลดยาอาจยาวนานประมาณ 6-12 เดือน หลังจากนั้นแพทย์จะนัดตรวจตามเพื่อเฝ้าระวังมิให้เกิดอาการชักขึ้นอีก
ขอขอบคุณข้อมูลจาก...นิตยสาร Health Today