ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

แบคทีเรียบนธนบัตร

แบคทีเรียบนธนบัตร

เงิน คือ วัตถุที่คนเราอยากจับต้องมากที่สุดและเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคมากที่สุด  ประเทศจีนใช้เงินหยวน ( Yuan) เม็กซิโกใช้เงินเปโซ ( Pesos ) สหราชอาณาจักรใช้เงินปอนด์ ( Pounds )  ไนจีเรียใช้เงินยูโร ( Euros) ประเทศอเมริกา  ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ใช้เงินดอลลาร์ ( Dollars )
 
แม้อีกหลายประเทศจะใช้ธนบัตรชนิดอื่นแตกต่างกันไปแต่สิ่งหนึ่งที่ธนบัตรเหล่านั้นมีแหมือนกันคือ “เชื้อโรคบนธนบัต” เชื้อแบคทีเรีย  บนธบัตรจะคงอยู่กับคุณไปตราบนานเท่านานที่คุณยังใช้ธนบัตรอยู่
 
เรื่องราวของจุลินทรีย์บนธนบัตรนี้มีการศึกษากันมานานแล้วพบว่าจุลินทรีย์เหล่านั้นสามารถก่อโรคได้ ส่วนใหญ่แล้วแบคทีเรียไม่ก่อโรค แต่พบธนบัตรที่มีแบคทีเรีย E.coli ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่มีอยู่ตามธรรมชาติในลำไส้ใหญ่ของมนุษย์และสัตว์ คนที่ทานอาหารที่มีแบคทีเรียชนิดนี้เข้าไปอาจก่อให้เกิดอาการท้องเสียอาหารเป็นพิษ  หรือเจ็บป่วยได้ง่าย สิ่งที่เรียกว่า “เงินกระดาษ” นั้นไม่ได้ทำมาจากกระดาษจริง ๆ เกิดจากการพิมพ์ลงบนผ้าซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นคอตตอน แต่ละประเทศก็ใช้วัสดุที่เกิดจากโมเลกุลหลายโมเลกุลต่อกันเป็นสาย อยู่ได้ทั้งในรูปของเหลว ของแข็งหรือกึ่งแข็งกึ่งเหลว เงินจาก 3 ประเทศที่พบแบคทีเรียน้อย ล้วนผลิตจากโพลิเมอร์ เงิน 3  ประเทศนั้น คือ ดอลลาร์ออสเตรเลีย  นิวซีแลนด์ และเปโซแม็กซิโก แสดงให้เห็นว่า เชื้อโรคมีความสามารถอาศัยอยู่บนโพลิเมอร์ได้น้อยกว่า หากดูจากกล้องจุลทรรศน์จะพบว่าพื้นผิวธนบัตรจากโพลิเมอร์จะเรียบกว่าผ้าคอตตอนความเรียบนี้เองทำให้เชื้อโรคเกาะได้ยาก ธนบัตร 1 ใบ มีแบคทีเรียสะสมมากกว่า 2.6 หมื่นตัวเสี่ยงทำให้คนป่วยได้ โดยเฉพาะโรคท้องร่วงและปอดบวมการล้างมือด้วยน้ำและสบู่อย่างถูกวิธี 7 ขั้นตอน ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคท้องร่วงได้ 50% ปอดบวม 25%
 
พญ.แสงโสม  สีนะวัฒน์  ผู้อำนวยการสำนักที่ปรึกษากรมอนามัย  กล่าวว่าจากผลการศึกษาของคณะนักวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ระบุว่า บนธนบัตร 1 ใบ จะมีเชื้อแบคทีเรียสะสมโดยเฉลี่ย 26,000 ตัว เนื่องจากการใช้ธนบัตรผ่านมอืไปหลายต่อ โดยแบคทีเรียเหล่านี้มีจำนวนมากพอที่จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และก่อให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ งนี้จากข้อมูลองค์การยูนิเซฟยังพบว่า ในแต่ละปีมีเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี ต้องเสียชีวิตจากโรคท้องร่วง 3.5 ล้านคนและโรคปอดบวมอีกประมาณ 2 ล้านคน ซึ่งจากการศึกษาวิจัยพบว่าการล้างมือด้วยน้ำและสบู่อย่างถูกวิธี จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคท้องร่วงได้ถึงร้อยละ 50 และจากโรคปอดบวมได้ร้อยละ 25 สำหรับประเทศไทย ผลการสำรวจพฤติกรรมการล้างมือของประชาชนในปี 2552 พบว่า มีเพียง 61% ที่มีการล้างมือก่อนรับประทานอาหาร  และถึงแม่จะมีการล้างมือหรือหลังจากใช้ห้องส้วมถึงร้อยละ 87 แต่ยังเป็นการล้างมือด้วยน้ำเปล่าถึงร้อยละ 41 แสดงให้เห็นว่าคนไทยยังไม่ให้ความสำคัญในการล้างมือด้วยน้ำและสบู่เท่าที่ควร  จำเป็นจะต้องกระตุ้นให้มากขึ้น เพื่อป้องกันและลดอัตราการเกิดโรคโดยเฉพาะโรคท้องร่วง
 
ปลอดภัย ปลอดเชื้อ อย่าเบื่อล้างมือ 
ด้วยความปรารถนาดี จากโรงพยาบาลวิภาวดี

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด