ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพ รวมโปรแกรมสุขภาพ บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิดบริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event Health Economy ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

MRI คืออะไร

MRI (Magnetic Resonance Imaging) คือ เครื่องตรวจร่างกายโดยการสร้างภาพเหมือนจริง ของส่วนต่างๆของร่างกาย โดยใช้สนามแม่เหล็กความเข้มสูง และคลื่นความถี่ในย่านความถี่วิทยุ(Radio Frequency) ด้วยการส่งคลื่นความถี่เข้าสู่ร่างกาย และรับคลื่นสะท้อนกลับ นำมาประมวลผลและสร้างเป็นภาพ ด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถให้รายละเอียดและความคมชัดเสมือนการตัดร่างกายออกเป็นแผ่นๆ ทำให้แพทย์สามารถมองจุดที่ผิดปกติในร่างกายคนเราได้อย่างละเอียด โดยที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆต่อผู้รับการตรวจ

ข้อบ่งชี้และข้อดีในการใช้ MRI

1. MRI สามารถให้ภาพที่แยกความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่อต่างๆ ได้ชัดเจน ทำให้มีความถูกต้องแม่นยำในการวินิจฉัยโรคมากยิ่งขึ้น อีกทั้งสามารถทำการตรวจได้ในทุกๆระนาบ ไม่ใช่เฉพาะแนวขวางอย่างเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
 
2. ใช้ได้ดีกับส่วนที่ไม่ใช่กระดูก (non bony parts) คือเนื้อเยื่อ (soft tissues) โดยเฉพาะ สมอง เส้นประสาทไขสันหลัง และเส้นประสาทในร่างกาย ( CT scan ดูภาพกระดูกได้ดีกว่า )
 
3. ใช้ได้ดีกับ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นยึดกระดูกและกล้ามเนื้อ
 
4. สามารถตรวจเส้นเลือดได้โดย ไม่ต้องเสี่ยงกับการฉีดสารทึบรังสี และการสวนสายยางเพื่อฉีดสี ซึ่งมีประโยชน์ต่อวงการแพทย์แผนปัจจุบันเป็นอย่างมาก เพราะมีความปลอดภัยสูงและค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างต่ำ นอกจากนี้ยังสะดวกสบายกว่าเพราะไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวใดๆทั้งก่อนและหลังการตรวจ คนไข้สามารถกลับบ้านได้ทันทีที่ตรวจเสร็จ
 
5. ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อเหมือนใน CT scan เพราะไม่ใช้คลื่นรังสี
 

ระบบหรืออวัยวะควรได้รับการตรวจ ด้วย MRI

 
1. MRI of Nervous System
ใช้ได้ดีในการตรวจสมอง ไขสันหลังและเส้นประสาทในร่างกาย สามารถมองเห็นรอยโรคได้อย่างชัดเจน เช่น ภาวะสมองขาดเลือดโดยเฉพาะในช่วงแรก และความผิดปกติบริเวณก้านสมอง (สามารถตรวจหาความผิดปกติได้ดีกว่าการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์) โรคเนื้องอกของสมอง และโรคลมชัก 
 
2. MRI  of Musculoskeleton System
ใช้ได้ดีในการตรวจกระดูกสันหลังและระบบกล้ามเนื้อและข้อ ช่วยในการวินิจฉัยรอยโรคต่างๆ เช่น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทหรือการบาดเจ็บต่อเส้นเอ็นบริเวณข้อต่างๆ  ปัจจุบันได้มีการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (เอ็มอาร์ไอ) เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคของกระดูกและข้อเป็นจำนวนมาก การตรวจ MRI จะเห็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในโพรงกระดูก หรือไขกระดูกได้อย่างชัดเจน เช่น เนื้องอกภายในกระดูก MRI จะสามารถบอกขอบเขตของโรคได้ถูกต้องแม่นยำ เพื่อประโยชน์ในการวางแผนการรักษา โรคของกระดูกบางอย่างเช่น การขาดเลือดไปเลี้ยงที่หัวของกระดูกต้นขา MRI เป็นการตรวจที่ไวที่สุด สามารถตรวจพบความผิดปกติได้ แม้ภาพเอ็กซ์เรย์ธรรมดายังปกติอยู่ ข้อที่มีการตรวจ MRI มากที่สุด คือ ข้อเข่า รองลงมา คือ ข้อไหล่ เมื่อสงสัยว่าจะมีการฉีกขาดของเส้นเอ็นหรือกระดูกอ่อนภายในข้อ การถ่ายภาพเอ็กซเรย์ธรรมดา อาจเห็นเพียงเงาของน้ำในข้อ แต่ MRI จะเห็นส่วนประกอบต่างๆภายในข้อได้อย่างชัดเจน และบอกได้อย่างแม่นยำว่ามีการบาดเจ็บต่อส่วนประกอบเหล่านั ้นอย่างไรบ้าง
 
3. MRI of Blood Vessels
สามารถตรวจหลอดเลือดของอวัยวะต่างๆได้ดี (Magnetic Resonance Angiography,MRA) เช่น ความผิดปกติของหลอดเลือดสมองหรือ การตีบตันของหลอดเลือดไต โดยไม่ต้องเจาะใส่สายสวนเพื่อฉีดสี มีความปลอดภัยสูงสะดวกสบาย ไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวใดๆทั้งก่อนและหลังการตรวจ และสามารถกลับบ้านได้ทันที 
4.MRI of Abdomen สามารถตรวจช่องท้อง ท่อทางเดินน้ำดี และถุงน้ำดี (Magnetic Resonance Cholangiopancreatography,MRCP) ซึ่งให้ภาพที่ชัดเจนและเหมาะสำหรับการตรวจหาโรค เช่น นิ่วในทางเดินน้ำดี เนื้องอก หรือมะเร็งในท่อน้ำดีและบริเวณโดยรอบซึ่งทำให้เกิดการอุดตัน ตลอดจนสามารถแยกแยะเนื้องอกในช่องท้องได้ดี
 

ข้อพึงระวังก่อนเข้ารับการตรวจ MRI

นับตั้งแต่ที่มีการใช้ MRI ไม่พบ รายงานถึงผลข้างเคียง แต่การใช้ MRI ก็มีข้อควรระวัง ดังนี้
 
1. ควรหลีกเลี่ยงในผู้ที่กลัวที่จะอยู่ในที่แคบๆ ไม่สามารถนอนในอุโมงค์ตรวจได้ (claustrophobic) เพราะ MRI มีลักษณะเป็นโพรง

2. ควรหลีกเลี่ยงในรายที่มีโลหะฝังอยู่ในร่างกาย เช่น 
  • ผู้ที่ผ่าตัดติดคลิปอุดหลอดเลือดในโรคเส้นเลือดโป่งพอง (Aneurism Clips ) (คลิปรุ่นใหม่มักเป็นรุ่น MRI compatible สามารถตรวจ MRIได้)   metal plates ในคนที่ดามกระดูก
  • คนที่เปลี่ยนข้อเทียม
  • คนที่ใส่ลิ้นหัวใจเทียม (Artificial Cardiac valve)
  • ผู้ที่ผ่าตัดใส่เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจให้เป็นจังหวะ
  • ผู้ที่ผ่าตัดใส่อวัยวะเทียมภายในหู
  • ผู้ป่วยที่ใส่ Stent ที่หลอดเลือดหัวใจต้องสอบถามจากแพทย์ที่ใส่ Stent ว่าเป็น Stent ชนิดใดจะทำ MRI ได้หรือไม่หรือต้องรอกี่สัปดาห์ค่อยทำ ปัจจุบัน Stent ที่หลอดเลือดหัวใจถ้าเป็นรุ่น MRI compatible สามารถทำได้ทันทีไม่มีผลเสียใดๆ
3. ควรหลีกเลี่ยงในคนที่ เตรียมตัวเข้ารับการผ่าตัด สมอง ตา หรือ หู ซึ่งจะต้องฝัง เครื่องมือทางการแพทย์ไว้ (medical devices)

4. ใส่เหล็กดัดฟัน ถ้าต้องทำ MRI ตรวจในช่วงบริเวณ สมองถึงกระดูกคอควรต้องถอดเอาเหล็กดัดฟันออกก่อน เพราะจะมีผลต่อความชัดของภาพ

5. ผู้ที่ รับการตรวจร่างกายด้วย MRI จะต้องนำโลหะต่างๆ ออกจากตัว เช่น กิ๊ฟหนีบผม ฟันปลอม ต่างหู เครื่องประดับ ATM บัตรเครดิต นาฬิกา thumbdrive Pocket PC ปากกา ไม่เช่นนั้น อาจจะทำให้ สิ่งของได้รับความเสียหาย และอาจถูกฉุดกระชาก นอกจากนี้ยังทำให้ภาพที่อยู่บริเวณโลหะไม่ชัด

6. ไม่ควรใช้อายชาโดว์ และมาสคาร่า เพราะอาจมีส่วนผสมของโลหะ ทำให้เกิดเป็นสิ่งแปลกปลอมในภาพได้

7. จากข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่พบว่าการตรวจ MRI มีอันตรายต่อทารกในครรภ์ แต่ถ้าไม่จำเป็นจริงๆไม่ควรตรวจในระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์

8. ห้องตรวจ MRI มีสนามแม่เหล็กแรงสูงตลอดเวลา มีผลต่อการทำงานของเครื่องมือที่ไวต่อแม่เหล็ก เช่น เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจให้เป็นจังหวะ ดึงดูดวัตถุที่เป็นโลหะทุกชนิดที่เหนี่ยวนำแม่เหล็ก เช่น เหล็กโลหะอื่น ๆ ที่มีส่วนประกอบของเหล็ก ลบข้อมูลจากเทปแม่เหล็ก การ์ดที่ใช้แถบแม่เหล็ก เช่น ATM , บัตรเครดิต , นาฬิกา , thumbdrive หรือ พวกเครื่อง Pocket PC
 

ขั้นตอนการเข้ารับการตรวจ MRI

 
1.   หลังจากเปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดเพื่อที่พร้อมสำหรับการตรวจ ผู้รับการตรวจจะได้รับการพาเข้าสู่ห้องตรวจ

2.   ผู้รับการตรวจจะนอนบนเตียงตรวจ และมีการทำเครื่องจับสัญญาณคลื่นแม่เหล็กมาวางบนร่างกาย โดยน้ำหนักโดยรวมของเครื่องจับสัญญาณนี้ประมาณ 1 กิโลกรัม

3.  ผู้รับการตรวจนอนสบายๆ นิ่งๆ บนเตียงตรวจ และทำตามเสียงที่บอก เช่น ให้หายใจเข้าแล้วกลั้นใจ หรือว่าอย่ากลืนน้ำลาย

4.  ตัวเราจะเคลื่อนไปยังศูนย์กลางของสนามแม่เหล็ก เราอาจจะรู้สึกสั่นสะเทือนและไถลเล็กน้อยระหว่างที่มีการถ่ายภาพ 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด