ประโยชน์ของรากเทียม
1. ใช้ทดแทนรากฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป
2. ให้แรงในการบดเคี้ยวได้ดีใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ ทำให้การบดเคี้ยวมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
3. ช่วยคงสภาพของสันกระดูกและสันเหงือก ลดการยุบตัวของกระดูกขากรรไกร
4. ไม่ต้องกรอฟันข้างเคียงเพื่อใส่ฟันปลอม ทำให้ไม่สูญเสียเนื้อฟันธรรมชาติที่ดี
5. มีความสวยงามและใช้งานได้คล้ายฟันธรรมชาติ
รากฟันเทียมใส่ฟันปลอมแบบไหนได้บ้าง
1. รากเทียมรองรับครอบฟัน เป็นการใส่ฟันเป็นซี่เดี่ยวๆโดยไม่ต้องสูญเสียเนื้อฟันซี่ข้างเคียง
2. รากเทียมรองรับสะพานฟัน เป็นการใส่ฟันหลายขี้เหมือนกับสะพานฟัน
3. รากเทียมรองรับฟันปลอมทั้งปาก เป็นการฝังรากเข้าไปเพื่อช่วยให้ฟันปลอมมีความ stable และ
ปลอดภัยมากขึ้น
ส่วนประกอบรากฟันเทียม
1. ครอบฟัน (Crown) วัสดุที่ใช้แทนฟันธรรมชาติทำมาจากเซามิค (Porcelain) ที่ทำให้มีรูปร่าง ลักษณะและสีเหมือนฟันธรรมชาติ
2. เดือยรองรับครอบฟัน (Abutment) เป็นส่วนที่รองรับครอบฟันที่เชื่อมกับส่วนของรากเทียม
3. รากเทียม ( Fixture) ทำมาจากโลหะไททาเทียมซึ่งมีความเข้ากันกับเนื้อเยื่อ ใช้สำหรับฝังในกระดูกขากรรไกรซึ่งมีความแข็งแรง
ข้อพิจารณาสำหรับการใส่รากเทียม
1. ต้องเป็นผู้ที่หยุดการเจริญเติบโต ขากรรไกรเจริญเดิบโตเต็มที่แล้ว
2. ต้องมีพื้นที่ขากรรไกรเพียงพอต่อการปักรากเทียม
3. มีร่างกายแข็งแรงที่ไม่มีโรคที่ห้ามทำการผ่าตัด
4. เป็นผู้ที่สามารถกลับมาติดตามผลการรักษาได้อย่างต่อเนื่องและเป็นผู้ที่สามารถดูแลรักษาความสะอาดช่องปากได้ดี
ผู้ที่ควรเข้ารับการทำรากฟันเทียม
ผู้ที่มีการสูญเสียฟันแท้ไปสามารถรับการรักษาด้วยรากฟันเทียมได้ทุกคนโดยไม่กำหนดช่วงอายุ แต่ไม่ควรทำในเด็กที่อายุยังไม่ถึง 18 ปี เนื่องจากกระดูกขากรรไกรยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ สำหรับหญิงที่ตั้งครรภ์ ควรคลอดบุตรก่อน หรือผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมได้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งที่ต้องได้รับการฉายรังสีบริเวณใบหน้า และขากรรไกร ผู้ป่วยที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบรุนแรง ผู้ป่วยที่เป็นลูคิเมีย ผู้ป่วยไฮเปอร์ไทรอยด์ควรได้รับการรักษาเพิ่มเติมก่อนทำการฝังรากเทียม
อาการอย่างไร แพทย์จึงพิจารณาให้ทำรากฟันเทียม
ปัจจัยสำคัญ คือ คนไข้ต้องการฟันเทียมที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด ต้องการยิ้ม และพูดคุยอย่างมั่นใจ ต้องการการบดเคี้ยวที่ดี หรือทดแทนฟันที่เหลืออยู่ซึ่งไม่แข็งแรง ไม่เหมาะเป็นฟันหลักยึดให้กับฟันเทียมชนิดอื่นๆ แม้แต่ในรายที่ทำฟันปลอมแบบถอดได้แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ รากฟันเทียมมีส่วนช่วยได้อย่างมากในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ปัจจุบันการใส่รากฟันเทียมในกรณีที่ฟันหายไป รากฟันเทียม ถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดในกรณีที่มีฟันหายไป 1 - 2 ซี่ รวมถึงรากฟันเทียมก็มีส่วนช่วยให้ฟันเทียมชนิดถอดได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เรียกได้ว่ารากฟันเทียมมีส่วนช่วยในการทำฟันเทียมเกือบทุกกรณี
ผู้ที่ไม่เหมาะกับการทำฟันแบบรากเทียม
โดยทั่วไปผู้ที่สูญเสียฟันแท้ไปสามารถรักษาด้วยรากเทียมได้ทุกคนและทุกช่วงอายุ แต่ไม่แนะนำให้ทำในเด็กที่อายุยังไม่ถึง 18 ปีเพราะกระดูกขากรรไกรยังเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ ในกรณีที่คนไข้ตั้งครรภ์ ควรคลอดบุตรก่อนทำรากเทียม โรคประจำตัวบางอย่าง เช่น คนไข้โรคเบาหวานชนิดที่ไม่สามารถควบคุมได้ คนไข้โรคมะเร็งที่รับการรักษาด้วยการฉายรังสีบริเวณใบหน้าและขากรรไกร คนไข้โรคปริทันต์อักเสบรุนแรง คนที่เป็นป่วยเป็นโรคลูคิเมีย หรือป่วยด้วยโรคไฮเปอร์ไทรอยด์จำเป็นต้องได้รับการรักษาเพิ่มเติมก่อนทำการฝังรากเทียม
นอกจากนี้คนไข้ที่รับการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน หรือป่วยด้วยโรคทางจิตเภท หรือมีอาการไขข้ออักเสบรุนแรง รวมถึงผู้มีปัญหาเรื่องการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ทำให้ประสบปัญหาการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากเองได้ คนไข้ที่ทานยาบางชนิด เช่น ยารักษากระดูกพรุนบางตัว หรือผู้ที่สูบบุหรี่จัด ไม่ควรเข้ารับการทำรากเทียม เพราะจะมีผลต่อความสำเร็จในการรักษา
วิธีทำรากฟันเทียม
1. ทันตแพทย์จะตรวจสภาพช่องปากอย่างละเอียด, ตรวจ x-ray หรือถ้าจำเป็นก็จะทำ CT Scan เพื่อประเมินความหนาของกระดูกขากรรไกรและเนื้อเยื่อบนสันเหงือก อาจทำการพิมพ์ปากเพื่อใช้วางแผนการรักษา และกำหนดตำแหน่งที่เหมาะสมของรากฟันไทเทเนียม
2. การฝังรากฟันไทเทเนียม ทันตแพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่ให้ก่อน จากนั้นจะทำการผ่าตัดฝังรากฟันไทเทเนียมลงไปในกระดูกขากรรไกร และเย็บปิดแผล จากนั้น 7-14 วัน จึงมาตัดไหมที่เย็บออก รอประมาณ 3-6 เดือน เพื่อให้รากฟันเทียมยึดติดกับกระดูกขากรรไกร
3. ทันตแพทย์จะใส่เครื่องมือที่ช่วยสร้างร่องเหงือก จากนั้น 1-2 สัปดาห์ จะทำการพิมพ์ปากเพื่อส่งทำครอบฟัน
4. ทันตแพทย์จะใส่ครอบฟันให้ ก็จะได้ฟันที่สวยงามและมีประสิทธิภาพการใช้งานใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ
การดูแลรักษารากเทียม
รากฟันเทียมจะไม่ผุ แต่เกิดโรคเหงือกอักเสบได้หากดูแลได้ไม่ดี หลังการฝังรากเทียมแล้ว คนไข้สามารถดูแลรักษาสุขภาพช่องปากและฟันได้เหมือนการดูแลปกติทั่วไป ด้วยการแปรงฟันร่วมกับการใช้ไหมขัดฟันหรือแปรงซอกฟัน และควรได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากกับทันตแพทย์เป็นประจำทุกๆ 6 เดือนหรือตามที่ทันตแพทย์แนะนำ ซึ่งการรักษารากฟันเทียมนี้หากได้รับ การดูแลถูกต้องอย่างสม่ำเสมอ ก็จะมีอายุการใช้งานได้เหมือนฟันแท้อื่นๆ เช่นกัน