ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรคไข้เลือดออก โรคร้ายใกล้ตัวที่เป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่

โรคไข้เลือดออกจำแนกเป็น 3ระยะ ได้แก่ ระยะไข้ ระยะวิกฤต และระยะพักฟื้น

สร้างความตระหนักรู้ให้เท่าทันโรค โรงพยาบาลวิภาวดี โดย พญ.ปราณี สิตะโปสะ กุมารแพทย์โรคติดเชื้อ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับ “โรคไข้เลือดออก” โรคร้ายใกล้ตัวที่เป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยกล่าวว่าโรคไข้เลือดออกจำแนกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะไข้ ระยะวิกฤต และระยะพักฟื้น 
 
อาการที่สำคัญใน
 
ระยะไข้ 
คือ อาการไข้สูงลอยประมาณ 39 - 40°C นาน 2-7 วัน มักมีหน้าแดง ปวดศีรษะ ปวดตา ปวดเมื่อยตามตัว ปวดกระดูก คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดท้อง และอาจมีภาวะเลือดออกร่วมด้วย โดยอาการของผู้ป่วยไข้เลือดออกส่วนใหญ่ จะไม่ปรากฏพร้อมๆ กัน จึงต้องเฝ้าติดตามเป็นระยะๆ 
 
 
ระยะวิกฤต 
เมื่อผู้ป่วย มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น  มีอาการเพลีย ซึม ไม่ดื่มนํ้า ไม่รับประทานอาหาร ไม่มีกิจกรรมตามปกติ เมื่อไข้ลง (บางรายจะกระหายนํ้ามาก) อาเจียน ปวดท้องมาก เลือดออกผิดปกติ มีอาการช็อก (IMPENDING SHOCK) คือมือเท้าเย็นกระสับกระส่าย ร้องกวนมากในเด็กเล็ก ตัวเย็น เหงื่อออก ตัวลาย สีผิวคลํ้าลง ปัสสาวะน้อยลง หรือไม่ปัสสาวะ 4-6 ชม. ความประพฤติเปลี่ยนแปลง เช่น พูดไม่รู้เรื่อง เพ้อ เอะอะโวยวายเป็นระยะอันตรายของโรค เข้าสู่ระยะช็อก แม้อยู่ในภาวะช็อก ผู้ป่วยจะมีสติดี พูดจารู้เรื่อง ต้องรีบนําส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที และกระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มนํ้าเกลือแร่หรือนํ้าผลไม้ใส่เกลือเล็กน้อย โดยให้จิบครั้งละน้อยๆ บ่อยๆ ไม่ควรดื่มแต่นํ้าเปล่าอย่างเดียว  
 
       ภาวะช็อกส่วนใหญ่เกิดจากมีการรั่วของพลาสม่าออกนอกหลอดเลือด ทําให้ความเข้มข้นของเลือดเพิ่มขึ้น และบางรายอาจถึงขั้นมีความดันโลหิตตํ่าหรือที่เรียกว่าช็อกตามมา นอกจากนั้นภาวะช็อกอาจเกิดจากการที่เลือดออกในอวัยวะสําคัญได้แก่ เลือดออกในกระเพาะอาหาร ประจําเดือนมามากกว่าปกติ และเลือดออกจากแผลผ่าตัดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด ภาวะช็อก อาจทําให้เกิดภาวะล้มเหลวของอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะไตและตับ ซึ่งส่งผลรุนแรงถึงขั้นทําให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ 
 
 
ระยะพักฟื้น 
 
กรณีผู้ป่วยรับการรักษาแล้วแพทย์ให้กลับบ้านได้ ควรดูแลและปฏิบัติตนต่อไปคือไม่ควรให้ถูกยุงกัดภายใน 5 วันแรกของโรค เพราะผู้ป่วยยังมีไวรัสอยู่ในเลือดทําให้แพร่เชื้อไปให้คนอื่นได้ หากมีคนในบ้านมีไข้สูง ให้พามาตรวจควรเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ระมัดระวังภาวะเลือดออกต่อไปอีกประมาณ 1 สัปดาห์ ควรหลีกเลี่ยงการแคะจมูก การแปรงฟัน การออกกําลังกายหรือเล่นกีฬาที่มีความรุนแรงหากมีอาการผิดปกติควรรีบพามาพบแพทย์ทันทีให้ยาลดไข้พาราเซตามอล ควรหลีกเลี่ยงยาแอสไพริน หรือ ยากลุ่ม NSAID เช่น ไอบูโปรเฟน เนื่องจากทําให้เกิดเลือดออกทางเดินอาหารมากขึ้น หรือมีผลต่อตับได้ แนะนำให้ 
 
              ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคไข้เลือดออก มีเพียงรักษาตามอาการเท่านั้น ดังนั้นการป้องกัน กําจัดลูกนํ้า ภาชนะใส่นํ้าภายในบ้านควรปิดฝาให้มิดชิด กําจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทั้งที่บ้าน ที่ทํางาน และที่โรงเรียน  และอีกวิธีหนึ่งคือ การฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก ซึ่งในตอนนี้วัคซีนป้องกันไข้เลือดออกตัวแรกของโลก ได้เข้าสู่ประเทศไทยแล้วซึ่งวัคซีนนี้สามารถใช้ได้ในเด็กอายุตั้งแต่ 9 ปีถึง 45 ปี  และพบว่านอกจะสามารถป้องกันโรคไข้เลือดออกได้แล้ว ยังสามารถลดการเกิดไข้เลือดออกชนิดรุนแรงได้ถึง 93.2%  และสามารถลดการนอนโรงพยาบาลโรคไข้เลือดออกได้ 80.8%
 
 
วัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก
 
 
ปัจจุบันมีวัคซีนโรคไข้เลือดออก 4 สายพันธุ์(DEN 1-4) แนะนำให้ฉีดในกลุ่มอายุ 9-45 ปี ฉีด 3 เข็ม ( เดือนที่ 0,6 และ 12 เดือน) ในผู้ที่เคยมีการติดเชื้อมาก่อน ไม่แนะนำให้ฉีดในผู้ที่ไม่เคยมีการติดเชื้อมาก่อน
 
จากงานวิจัยทวีปเอเชียแปซิฟิกและแถบละตินอเมริกาในอาสาสมัครอายุ 9-16 ปี พบว่า วัคซีน CYD-TDV มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันไข้เลือดออกเดงกี้ ดังนี้
 
  • สามารถป้องกันโรคไข้เลือดออกเดงกีทุกสายพันธุ์ได้ 65%
  • ลดการนอนโรงพยาบาลได้ถึง 80.8%
  • ป้องกันการติดเชื้อไวรัสเดงกีได้ถึง 92.9%
 
ผู้ที่ไม่สามารถฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกเดงกี ได้แก่
 
  • ผู้ที่แพ้หรือไวต่อการแพ้ต่อสารออกฤทธิ์หรือส่วนประกอบอื่น ๆ ในวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก
  • ผู้ที่เกิดการแพ้หลังได้รับวัคซีนไข้เลือดออกเข็มแรก โดยอาการแพ้ที่เกิดขึ้น ได้แก่ ผื่นคัน หายใจถี่หอบ หน้าและลิ้นบวม
  • ผู้ที่กำลังป่วยด้วยโรคใดก็ตามที่ทำให้มีไข้ ตั้งแต่ระดับต่ำจนถึงไข้สูง หรือกำลังเจ็บป่วยแบบเฉียบพลัน แพทย์จะทำการเลื่อนนัดการฉีดวัคซีนออกไปก่อนจนกว่าจะหายเป็นปกติ
  • ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ความผิดปกติทางพันธุกรรม การติดเชื้อเอดส์(HIV) หรือรับยากดภูมิคุ้มกันเช่น ยา Prednisone หรือเทียบเท่า 20 มก.หรือ :2 มก/กก. ของน้ำหนักตัวเป็นเวลา ตั้งแต่ 4 สัปดาห์ขึ้นไปเป็นต้น
  • สตรีมีครรภ์หรืออยู่ระหว่างช่วงให้นมบุตร
 
                                     
ด้วยความปรารถนาดี
พญ.ปราณี  สิตะโปสะ กุมารแพทย์ สาขาโรคติดเชื้อ  ประจำ รพ.วิภาวดี

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด