ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

อาชีวเวชศาสตร์คืออะไร ประวัติอาชีวเวชศาสตร์ และ แพทย์อาชีวเวชศาสตร์

อาชีวเวชศาสตร์คืออะไร ประวัติอาชีวเวชศาสตร์ และ แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ Thumb HealthServ.net
อาชีวเวชศาสตร์คืออะไร ประวัติอาชีวเวชศาสตร์ และ แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ ThumbMobile HealthServ.net

แรกเริ่มเรียนรู้ อาชีวเวชศาสตร์ โดย วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์ จุฑารัตน์ จิโน นวพรรณ ผลบุญ กล่าวถึง การแพทย์ด้านอาชีวเวชศาสตร์ แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ และประวัติอาชีวเวชศาสตร์

         "อาชีวเวชศาสตร์" (occupational medicine) เป็นวิชาการแพทย์แขนงหนึ่ง ว่าด้วยเรื่องการดูแลสุขภาพของคนทํางาน วิชาอาชีวเวชศาสตร์นี้ครอบคลุม ตั้งแต่การป้องกันโรค การรักษาโรค และการฟื้นฟูสุขภาพของคนทํางาน แต่เนื่องจากปัญหาโรคจากการทํางานส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาที่ป้องกันได้องค์ความรู้ ของวิชานี้ในปัจจุบันจึงเน้นหนักไปทางการป้องกันโรคเป็นหลัก แพทย์เฉพาะทาง ที่มีความเชี่ยวชาญในวิชาอาชีวเวชศาสตร์นั้นเราเรียกว่า "แพทย์อาชีวเวชศาสตร์" (occupational physician)
 
         ในอดีตก่อนที่จะมีการใช้คําว่าอาชีวเวชศาสตร์ (occupational medicine) เป็ น คํารวมนั้น ศาสตร์ในการดูแลสุขภาพคนทํางานโดยแพทย์จะมุ่งเน้นไปที่คนทํางาน ในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นหลัก วิชาดังกล่าวจึงเรียกว่า "เวชศาสตร์อุตสาหกรรม" (industrial medicine) ต่อมามีการขยายความสนใจไปในกลุ่มคนทํางานกลุ่มอื่นๆ ด้วย เช่น กลุ่มเกษตรกร ก็ จะเรียกวิชาที่ดูแลสุขภาพของเกษตรกรว่า "เวชศาสตร์ เกษตรกรรม" (agricultural medicine) ในที่สุดศาสตร์ในการดูแลสุขภาพของ คนทํางานนี้ก ็ได้รับความสนใจครอบคลุมไปถึงคนครบทุกอาชีพ ไม่ว่าจะเป็ น  คนงานในโรงงาน เกษตรกร งานบริการ นักวิชาการ ผู้บริหาร ก็ ล้วนแล้วแต่มีโอกาส เกิดโรคจากการทํางานขึ้นมาด้วยกันทั้งหมด เพื่อตัดปัญหาความหลากหลายของ  ชื่อวิชาที่จะใช้เรียก จึงใช้คําว่า "อาชีวเวชศาสตร์" (occupational medicine) ซึ่ง เป็ นคํารวม หมายถึงศาสตร์ในการดูแลสุขภาพของคนทํางานทุกอาชีพแทน
 
 
         วิชาอาชีวเวชศาสตร์ถูกจัดว่าเป็นแขนงหนึ่งของวิชาเวชศาสตร์ป้องกัน (preventive medicine) ซึ่งปัจจุบันมีการเปิดสอบรับรองในประเทศไทยโดย แพทยสภาอยู่ทั้งหมด 8 สาขา ได้แก่ ระบาดวิทยา อาชีวเวชศาสตร์สาธารณสุข ศาสตร์เวชศาสตร์ป้องกันคลินิก สุขภาพจิตชุมชน เวชศาสตร์การบิน เวชศาสตร์ ทางทะเล และเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว สาเหตุที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มวิชา เวชศาสตร์ป้องกันนั้นก็  เนื่องจากโรคจากการทํางานส่วนใหญ่เป็นโรคที่รักษาไม่ได้  แต่ป้องกันได้จึงต้องใช้การป้องกันเป็นหลักในการลดจํานวนผู้ป่วย อย่างไรก็ตาม มีโรคจากการทํางานบางโรคที่สามารถรักษาได้บางโรคสามารถฟื้นฟูให้ดีขึ้นได้ งานด้านอาชีวเวชศาสตร์จึงมีส่วนคาบเกี่ยวกับการรักษา และการฟื้นฟูสุขภาพ ของคนทํางานที่ป่วยด้วย
 
         ส่วนคําว่า "อาชีวอนามัย" (occupational health) นั้นหมายความถึง ศาสตร์ การดูแลสุขภาพอนามัยของคนทํางาน โดยผู้ดําเนินการคือผู้มีความรู้ทางด้าน สาธารณสุขจากสาขาวิชาชีพใดก็  ตาม จะเห็ นว่า คําว่า "อาชีวเวชศาสตร์" (occupational medicine) มีความหมายจําเพาะกว่า เนื่องจากหมายถึงการ ดําเนินการดูแลสุขภาพของคนทํางานโดยแพทย์เท่านั้น โดยใช้ศาสตร์ทางด้าน การแพทย์เฉพาะทาง ซึ่งจะต้องมีการตรวจร่างกายผู้ป่วย การส่งตรวจทาง ห้องปฏิบัติการ และการให้การรักษารวมอยู่ด้วย
 
         หากจะเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของวิชา "อาชีวอนามัย" กับวิชา "อาชีวเวช ศาสตร์" กับกรณีของศาสตร์ทางการแพทย์สาขาอื่นๆ เราอาจเปรียบเทียบได้กับ ความสัมพันธ์ของวิชา "นิติวิทยาศาสตร์" กับ "นิติเวชศาสตร์" และความสัมพันธ์ ของวิชา "จิตวิทยา" กับ "จิตเวชศาสตร์" ก็ได้

แพทย์อาชีวเวชศาสตร์


เรียบเรียงโดย นพ.วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์

         แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ (occupational physician) คือแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่งที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลสุขภาพของคนทํางาน อภิไธยเต็มของแพทย์ เฉพาะทางสาขานี้ที่กําหนดโดยแพทยสภาคือ "แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน (อาชีว เวชศาสตร์)" สาเหตุที่ต้องมีคําว่า "เวชศาสตร์ป้องกัน" อยู่ในอภิไธยด้วย เนื่องจาก วิชาอาชีวเวชศาสตร์นั้น ถูกจัดเป็นแขนงย่อยหนึ่งของวิชาเวชศาสตร์ป้องกัน เช่นเดียวกับศาสตร์ด้านเวชศาสตร์ป้องกันสาขาอื่นๆ เช่น เวชศาสตร์ป้องกัน คลินิก เวชศาสตร์การบิน หรือสาธารณสุขศาสตร์
 
         อย่างไรก็ ตาม คําที่คนทั่วไปใช้เรียกแพทย์เฉพาะทางสาขานี้โดยปกติก็มักจะเรียกเพียงว่า "แพทย์อาชีวเวชศาสตร์" มากกว่า สําหรับในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อย่าง กฎกระทรวง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างฯ พ.ศ. 2547 ใช้คําเรียกที่สื่อถึงแพทย์เฉพาะทางสาขานี้ว่า "แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งที่ได้รับ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมด้านอาชีวเวชศาสตร์"
 
         แพทย์อาชีวเวชศาสตร์มีการเปิดสอบรับรองโดยแพทยสภามาตั้งแต่ พ.ศ. 2539 นับถึงปัจจุบันก็ กล่าวได้ว่า มีแพทย์เฉพาะทางสาขานี้ทํางานอยู่ในประเทศไทยมา เป็นเวลาประมาณ 20 ปีแล้ว แต่หากเทียบกับศาสตร์การแพทย์เฉพาะทางสาขา อื่นที่มีมาก่อน เช่น สูติศาสตร์อายุรศาสตร์ศัลยศาสตร์ก็ นับว่ายังเป็นสาขาที่ ใหม่อยู่มาก
 
         การสํารวจจํานวนของแพทย์อาชีวเวชศาสตร์โดย พุทธิชัย แดงสวัสดิ์และคณะ ในปี พ.ศ. 2557 พบว่าประเทศไทย มีแพทย์อาชีวเวชศาสตร์อยู่จํานวนทั้งสิ้น 142 คน โดย พบว่าแพทย์อาชีวเวชศาสตร์มีทั้งเพศชายและเพศหญิง (เพศชายร้อยละ 77.5 และ เพศหญิงร้อยละ 22.5) มีอายุเฉลี่ย 50.3 ปีส่วนใหญ่ทํางานอยู่ในกรุงเทพมหานคร (ร้อยละ 46.4) รองลงมาคือภาคกลาง (ร้อยละ 21.8) และภาคตะวันออก (ร้อยละ 10.6)
 
         การสํารวจโดย วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์และคณะ ในปี พ.ศ. 2551 พบว่าแพทย์ อาชีวเวชศาสตร์ส่วนใหญ่ทํางานอยู่ในภาครัฐ เช่น ในโรงพยาบาลของรัฐ ใน มหาวิทยาลัย ในกระทรวงสาธารณสุข (ร้อยละ 71.7) ทํางานในโรงพยาบาลเอกชน (ร้อยละ 4.0) ทํางานเป็นแพทย์ประจําสถานประกอบการ (ร้อยละ 9.1) ที่เหลือ เป็นแพทย์อิสระ แพทย์เกษียณอายุ หรือเจ้าของกิจการ (ร้อยละ 15.2)

ประวัติของวิชาอาชีวเวชศาสตร์


เรียบเรียงโดย พญ.จุฑารัตน์ จิโน

 
         วิชาอาชีวเวชศาสตร์นั้น แม้ว่าจะเป็นวิชาที่ค่อนข้างใหม่สําหรับวงการแพทย์แต่ แท้ที่จริงแล้ววิชานี้มีประวัติมายาวนานหลายร้อยปีในอดีต แพทย์และนักวิชาการ หลายท่านให้ความสนใจในเรื่องผลของการทํางานที่ทําให้เกิดโรค รวมถึงการดูแล สุขภาพของคนทํางาน ความรู้ในวิชาอาชีวเวชศาสตร์นั้นถูกสะสมมาตั้งแต่ยุค โบราณ เฟื่องฟูขึ้นในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม และพัฒนามาจนถึงยุคปัจจุบัน บุคคล สําคัญในประวัติศาสตร์ที่ผู้ศึกษาวิชาอาชีวเวชศาสตร์ควรรู้จักไว้มีดังนี้ 
 
         ฮิปโปเครตีส (Hippocrates; 460 – 377 ปีก่อนคริสตกาล) ได้สังเกตอาการของ ผู้ป่วยที่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม และมุ่งเน้นในเรื่องความสมดุลของสภาพร่างกาย กับสิ่งแวดล้อม เช่นน้ํา อากาศ และสถานที่นอกจากนี้ยังสังเกตพบอาการปวดร้าว ขา (sciatica) ในนักรบที่ขี่ม้าอยู่เป็นเวลานาน เป็นตัวอย่างของนักปราชญ์ในยุค โบราณที่ให้ความสําคัญในเรื่องสุขภาพกับสิ่งแวดล้อมและลักษณะการทํางาน
 
         พาราเซลซัส (Paracelsus หรือ Theophrastus Bombastus von Hoehenheim; ค.ศ. 1493 – 1541) ถูกยกย่องให้เป็นบิดาแห่งพิษวิทยา เขาเป็นผู้กล่าวประโยค อมตะประโยคหนึ่งไว้ว่า "All substances are poisons; there is none which is not a poison. The right dose differentiates a poison and remedy" แปลเป็นไทยได้ว่า "ทุกสิ่งในโลกนี้ล้วนเป็นพิษ ไม่มีสิ่งใดเลยในโลกนี้ที่ไม่เป็นพิษ ขนาดการรับสัมผัสเท่านั้นที่จะเป็นตัวกําหนดระดับความเป็นพิษของทุกสิ่ง" แนวคิดจากประโยคนี้ยังคงถูกใช้เป็นพื้นฐานของวิชาพิษวิทยามาจนถึงปัจจุบัน พาราเซลซัสเป็นผู้มีคุณูปการในวงการอาชีวเวชศาสตร์ในฐานะเป็นผู้ศึกษาโรค ระบบทางเดินหายใจในคนงานเหมืองถ่านหินและคนงานหลอมโลหะ
 
 
         รามาซซินี (Bernardino Ramazzini; ค.ศ. 1633 – 1714) แพทย์ชาวอิตาลี ได้รับการยกย่องจากทั่วโลกให้เป็นบิดาแห่งอาชีวเวชศาสตร์เขาเป็นผู้เขียนตํารา ด้านอาชีวเวชศาสตร์เล่มแรกของโลกที่ชื่อว่า "De Morbis Artificum Diatriba" ในปีค.ศ. 1700 ตํารานี้ต่อมาถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษในปีค.ศ. 1940 ในชื่อ "Diseases of Workers" หรือแปลเป็นไทยคือ "โรคของคนทํางาน" หนังสือนี้ ทําให้ชาวโลกได้รู้จักเขาในวงกว้างขึ้น รามาซซินีได้ทุ่มเททําการศึกษาเกี่ยวกับ โรคของคนอาชีพต่างๆ เช่น คนขุดแร่ ช่างทาสีช่างทอง ช่างเป่าแก้ว ช่างปั้น หม้อ หมอตําแย ไปจนถึงคนทํางานนั่งโต๊ะ และเขียนสิ่งที่ตรวจพบลงในหนังสือ "De Morbis Artificum Diatriba" แต่ละบทแยกไว้เป็นหมวดหมู่ ข้อศึกษาของ รามาซซินีพบว่าความเจ ็บป่วยของคนทํางานเหล่านี้มาจากไอควันที่เป็นพิษและ จากท่าทางการทํางานที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งความรู้ที่กล่าวมายังคงเป็นหลักการพื้นฐาน ที่ใช้ได้ในวงการอาชีวเวชศาสตร์มาจนถึงปัจจุบันนอกจากนี้เขายังค้นพบว่าช่าง เป่าแก้วที่ทํางานไปนานๆ จะมีปัญหาสายตา ช่างปั้นหม้อที่ใช้สารตะกั่วทาเคลือบ หม้ออาจได้รับพิษจากงานที่ทํา และคนไข้ที่ได้รับการรักษาโดยการฉีดปรอทเหลว เข้าในร่างกายอาจเกิดอาการพิษทางระบบประสาท ข้อความรู้ที่กล่าวมาทั้งหมด ยังคงเป็นความจริงมาจนถึงปัจจุบันนี้ 
 
         ผลงานของรามาซซินีเป็นจุดเริ่มต้นที่ทําให้แพทย์ทั่วโลกหันมาสนใจปัญหาโรคที่ เกิดจากการทํางานและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น คําถามหนึ่งที่รามาซซินีเสนอให้แพทย์ ทุกคนถามผู้ป่วยเพื่อหาสาเหตุของการเกิดโรคก็ คือ "What is your occupation?" หรือแปลเป็นไทยได้ว่า "คุณทํางานอะไร?" ประโยคคําถามนี้ยังคงเป็นคําถามที่มี ประโยชน์สําหรับแพทย์ที่จะช่วยในการค้นหาสาเหตุของโรคและรักษาผู้ป่วยมา จนถึงทุกวันนี้ 
 
         เพอร์ซิวาล พอตต์ (Percival Pott; ค.ศ. 1714 – 1788) เป็นผู้ค้นพบว่าโรคมะเร็ ง ถุงอัณฑะ (scrotal cancer) มีความสัมพันธ์กับการสัมผัสเขม่าในเด็ กที่ทํางาน ทําความสะอาดปล่องไฟ (chimney sweep) ในเมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ พอตต์เชื่อว่าเขม่า (soot) ที่ติดสะสมอยู่ที่ถุงอัณฑะเป็นสาเหตุทําให้เกิดมะเร็งขึ้น จึงนับว่าเป็นแพทย์คนแรกที่ค้นพบการเกิดโรคมะเร็ งจากการทํางาน
 
         โทมัส มอร์ริสัน เลก (Thomas Morrison Legge; ค.ศ. 1863 – 1932) แพทย์ชาว อังกฤษ เป็นอีกผู้หนึ่งที่มีบทบาทสําคัญในการพัฒนางานทางด้านอาชีวเวชศาสตร์ เขาเป็นแพทย์ที่ทําหน้าที่ผู้ตรวจสอบโรงงาน (medical inspector) คนแรกของ โลก และยังได้ทําการศึกษาความรู้เกี่ยวกับพิษของตะกั่ว ฟอสฟอรัส สารหนูและ ปรอท เพิ่มเติมขึ้นนอกจากนี้ยังเป็นผู้เสนอให้บรรจุวิชาอาชีวเวชศาสตร์เข้าไว้ใน หลักสูตรของโรงเรียนแพทย์อีกด้วย
 
         อลิซ ฮาร์มิลตัน (Alice Hamilton; ค.ศ. 1869 – 1970) แพทย์หญิงผู้ได้รับการ ยกย่องว่าเป็นแพทย์ผู้บุกเบิกงานด้านอาชีวเวชศาสตร์คนแรกของประเทศ สหรัฐอเมริกา ฮาร์มิลตันเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคพิษตะกั่ว เธอได้ศึกษา อันตรายจากสารตะกั่วในโรงงานหลายแห่งในประเทศอเมริกานอกจากนี้ยังได้ ศึกษาพิษของสารอื่นๆเช่น พิษของฟอสฟอรัสที่ทําให้เกิดการย่อยสลายของกระดูก ขากรรไกร (phossy jaw) ในคนงานทําไม้ขีดไฟ พิษของแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ ที่เกิดในคนงานโรงหลอมเหล็ ก พิษของไนโตรกลีเซอรีนที่พบในคนงานทํากระสุน ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 หรือกลุ่มอาการนิ้วตาย (dead finger) ที่พบในคนที่ใช้ เครื่องเจาะหิน (jackhammer) ยุคเริ่มแรก ฮาร์มิลตันยังเป็นนักกิจกรรมสังคม และเป็นนักเคลื่อนไหวเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการดูแลสุขภาพคนทํางาน ให้ดีขึ้น เธอได้เขียนหนังสือที่มีชื่อเสียงไว้สองเล่มชื่อ "Industrial Poisons" และ "Exploring the Dangerous Trades"
 
 
         สําหรับประเทศไทยนั้น ผู้บุกเบิกงานด้านอาชีวเวชศาสตร์ให้เกิดขึ้นได้คือ ศาสตราจารย์แพทย์หญิง มาลินีวงศ์พานิช (หรือ ฮัจญะ มาเรียม อะมัน; ประมาณ พ.ศ. 2475 – 2545 หรือ ประมาณ ค.ศ. 1932 – 2002) ท่านจบการศึกษาด้าน อาชีวเวชศาสตร์จาก London school of hygiene and tropical medicine และกลับมาทํางานที่มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ก่อตั้งภาควิชาอาชีวอนามัย คณะ สาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลขึ้น ซึ่งภาควิชานี้เป็นแหล่งผลิตนักวิชาการ ด้านอาชีวอนามัยและเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยให้กับประเทศออกมาเป็นจํานวน มาก แพทย์หญิงมาลินีวงศ์พานิช ยังเป็นผู้วางรากฐานหลักสูตรแพทย์อาชีวเวช ศาสตร์และพยาบาลอาชีวอนามัย โดยดําเนินงานร่วมกับกรมการแพทย์อีกทั้งยัง เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งชมรมแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ที่มีชื่อว่า "ชมรมแพทย์อาชีวเวช ศาสตร์แห่งประเทศไทย" ขึ้น




แรกเริ่มเรียนรู้ อาชีวเวชศาสตร์ 
วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์  จุฑารัตน์ จิโน นวพรรณ ผลบุญ
 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด