ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

คำแนะนำเบื้องต้นในการ ดูแลบุตรหลาน หากติดเชื้อ rsv

คำแนะนำเบื้องต้นในการ ดูแลบุตรหลาน หากติดเชื้อ rsv Thumb HealthServ.net
คำแนะนำเบื้องต้นในการ ดูแลบุตรหลาน หากติดเชื้อ rsv ThumbMobile HealthServ.net

คุณหมอจิรรุจน์ กุมารแพทย์ แห่งรพ.มหาราชนครราชสีมา ให้คำแนะนำการดูแลบุตรหลาน ในช่วงเวลาที่เชื้อไวรัส RSV กำลังระบาดในประเทศไทยช่วงหน้าฝนขณะนี้ ดังนี้




สิ่งนี้ผมทำมาตลอด ใน การรักษาคนไข้ และดูแลลูกของผมเองเมื่อติดเชื้อ
 
ในเด็กอายุน้อยๆ เช่นต่ำกว่า 2 ปี หากสงสัยว่าติดเชื้อ rsv และมีน้ำมูกมาก

 
1. ** พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ยาลดน้ำมูกทุกชนิด***
เพราะยาจะทำให้น้ำมูกเหนียว และเสมหะเหนียว...
หากมีการติดเชื้อในหลอดลม เสมหะจะมีปริมาณมากและเหนียว ทำให้ไอออกยากมากขึ้น และอาจเป็นสาเหตุให้ต้องไปนอนโรงพยาบาลพ่นยาและดูดเสมหะ

 
2. ในเด็กเล็ก ที่ป่วยและมีประวัติสัมผัส ผู้ป่วย rsv ชัดเจน
หากอาการหลักอยู่ที่จมูกและคอหอย เช่นน้ำมูกมาก อาการไอส่วนใหญ่จะเป็นจากน้ำมูกไหลลงคอ หากยังไม่หายใจหอบ *** ควรหลีกเลี่ยงการพ่นยาละอองฝอย โดยไม่จำเป็น*** เพราะละอองฝอยขนาดเล็กนี้ อาจเป็นเหตุนำพาเชื้อ จากโพรงจมูกส่วนบน ลงไปยังจมูกส่วนล่าง... ผ่านการพ่นยา ยิ่งถ้าเด็กไม่ให้ความร่วมมือในการพ่น ร้องหรือสำลักระวังพ่นยา ก็ยิ่งมีโอกาส พาเชื้อลงสู่ทางเดินหายใจส่วนล่าง เว้นแต่มี อาการของหลอดลมหดเกร็ง หายใจมีเสียงวี๊ด จากการตรวจร่างกาย อันนี้ก็อาจจำเป็นจะต้องใช้ยาพ่นละอองฝอย ซึ่งขอให้อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ ผู้ดูแลณจุดนั้น
สิ่งสำคัญนั่นคือ ควรเน้นเรื่องการเคลียร์ น้ำมูกในโพรงจมูก.. ผมย้ำเรื่องนี้เสมอ ทันทีที่มีน้ำมูก

 
3. ในช่วงที่มีการติดเชื้อ อย่าให้ขาดน้ำเป็นเด็ดขาด
พยายามดื่มน้ำหรือจิบน้ำให้บ่อยๆ เพราะภาวะขาดน้ำ จะยิ่งทำให้เสมหะแห้งและเหนียว ทำให้การไอเอาเสมหะออกมาทำได้ยาก อาจเป็นเหตุให้เด็กต้องไปรับการรักษาในโรงพยาบาล

 
4. จัดการกับภาวะไข้สูง อย่างรวดเร็ว
ส่วนใหญ่ของเด็กที่ติดเชื้อ rsv จุดเริ่มต้นมักมีอาการไข้สูง ซึ่งไข้ที่สูง จะเป็นเหตุให้มีกระบวนการเมตาบอลิซึมที่สูงขึ้น มีการเพิ่มขึ้นของ คาร์บอนไดออกไซด์ หากการหายใจได้ไม่ดี อันเนื่องมาจากทางเดินหายใจ อักเสบบวมเสมหะมาก จากการติดเชื้อ การระบายก๊าซดังกล่าวจะทำได้แย่ลง และอาจทำให้อาการเด็กทรุดหนัก การลดไข้จึงเป็นสิ่งสำคัญ และควรรีบทำโดยเร็ว วิธีการก็คือพื้นฐานเลยครับ การเช็ดตัว การใช้ยาลดไข้ พาราเซตามอล ในขณะที่เหมาะสม จะสามารถบรรเทาอาการไข้ ช่วยลดความรุนแรงของตัวโรคลงได้ครับ


 
4 ข้อนี้ เป็นหลักการพื้นฐานในการดูแล ที่ผมแนะนำผู้ป่วย และใช้มาตลอดในระยะเวลานับ 10 ปี ที่ผมได้ดูแลผู้ป่วย  และดูแลลูกของผมเองเมื่อติดเชื้อ
 
หากทำได้ทุกอย่างแล้วไม่ดีขึ้น มีอาการหายใจหอบมากขึ้น หายใจอกบุ๋ม กินได้น้อย ไม่ยอมกินโดยเฉพาะน้ำและนม แนะนำว่าควรไปพบแพทย์โดยด่วนนะครับ

ผ่านมาเกือบ 2 อาทิตย์แล้ว สำหรับการระบาด ของเชื้อ rsv ในระลอกนี้ อดทนไว้ครับ ในอีก 2 อาทิตย์ข้างหน้า น่าจะเริ่มเบาบางลง ซึ่งก็จะตรงกับช่วงปิดเทอมพอดี เป็นลักษณะที่พบ มา นานแล้วครับ

หวังว่าข้อความ ข้างต้นนี้ จะเป็นประโยชน์กับคุณผู้ปกครองทุกท่าน สำหรับการดูแลบุตรหลานของตนเองนะครับ
 
ขอให้ทุกท่านปลอดภัย
 
#หมอจิรรุจน์
กุมารแพทย์เชี่ยวชาญโรคระบบหายใจ และเวชกรรมบำบัดวิกฤต
เพจ Jiraruj Praise 
13 กันยายน 2565
 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด