ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพ รวมโปรแกรมสุขภาพ บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิดบริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event Health Economy ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สถาบันโรคหัวใจ บำรุงราษฎร์ ตอบโจทย์เทรนด์ผู้สูงอายุ ด้วยเทคโนโลยีระดับเวิลด์คลาส

สถาบันโรคหัวใจ บำรุงราษฎร์ ตอบโจทย์เทรนด์ผู้สูงอายุ ด้วยเทคโนโลยีระดับเวิลด์คลาส Thumb HealthServ.net
สถาบันโรคหัวใจ บำรุงราษฎร์ ตอบโจทย์เทรนด์ผู้สูงอายุ ด้วยเทคโนโลยีระดับเวิลด์คลาส ThumbMobile HealthServ.net

สถาบันโรคหัวใจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อยกระดับความเป็นเลิศทางการแพทย์ในการรักษาโรคหัวใจอย่างครอบคลุม รวมถึงผู้ป่วยที่มีอาการซับซ้อนเกี่ยวกับโรคหัวใจ ด้วยความมุ่งมั่นเพื่อให้เกิดการดูแลรักษาที่ดีที่สุดให้กับผู้ป่วยทั้งในระดับภูมิภาคเอเชียและในระดับสากล และเพื่อตอบโจทย์เทรนด์ผู้สูงอายุของประเทศไทยและอีกหลายประเทศในเอเซียและทั่วโลก

สถาบันโรคหัวใจ บำรุงราษฎร์ ตอบโจทย์เทรนด์ผู้สูงอายุ ด้วยเทคโนโลยีระดับเวิลด์คลาส HealthServ
ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ในปี 2562 มีจำนวนประชากรสูงอายุ ประมาณ 11% และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 35% ของประชากรทั้งหมดในปี 2593 ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด (Super-aged society) หมายถึงสังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งแน่นอนว่าด้วยจำนวนประชากรสูงอายุที่มากขึ้นและมีอายุขัยที่มากขึ้น ย่อมส่งผลให้มีแนวโน้มของผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขของทั่วโลก 
 
 
สถาบันโรคหัวใจ บำรุงราษฎร์ ตอบโจทย์เทรนด์ผู้สูงอายุ ด้วยเทคโนโลยีระดับเวิลด์คลาส HealthServ
สถาบันโรคหัวใจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จึงได้ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อยกระดับความเป็นเลิศทางการแพทย์ในการรักษาโรคหัวใจอย่างครอบคลุม รวมถึงผู้ป่วยที่มีอาการซับซ้อนเกี่ยวกับโรคหัวใจ ด้วยความมุ่งมั่นเพื่อให้เกิดการดูแลรักษาที่ดีที่สุดให้กับผู้ป่วยทั้งในระดับภูมิภาคเอเชียและในระดับสากล 
 
 

ศ. นพ. กุลวี เนตรมณี ผู้อำนวยการสถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์

ศ. นพ. กุลวี เนตรมณี ผู้อำนวยการสถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์ และผู้อำนวยการสถาบันวิจัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ แปซิฟิกริม ลอสแองเจลีส สหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า “ย้อนไปสัก 7-8 ปีที่แล้ว ผู้บริหารบำรุงราษฎร์ได้ทาบทามผม ซึ่งในขณะนั้นบำรุงราษฎร์มีความพร้อมในทุกด้านแล้ว แต่ยังมีอีกสิ่งที่ต้องการพัฒนาให้มากขึ้น คือ ‘การวิจัย’ เพื่อส่งเสริมให้ ‘สถาบันโรคหัวใจ’ เกิดการดูแลรักษาที่ดีที่สุดให้กับผู้ป่วยในภูมิภาคของเราหรือผู้ป่วยในระดับสากล และมุ่งมั่นเพื่อก้าวสู่ผู้นำโรงพยาบาลเอกชนของประเทศไทยที่ทัดเทียมกับมาตรฐานโลก จึงได้นำโมเดลของสถาบันวิจัยของผมที่สหรัฐอเมริกา มาสร้างที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ แต่ได้มีการพัฒนามากขึ้นไปอีกและต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน”
 
 
สถาบันโรคหัวใจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำในการให้บริการสุขภาพระดับสากลของการรักษาโรคหัวใจผิดปกติเพื่อให้บริการดูแลสุขภาพแก่ผู้ป่วยทั่วโลก ซึ่งมาจากที่ใดก็ได้บนโลก แล้วก็โรคใดก็ได้ที่เกี่ยวกับหัวใจเต้นผิดปกติ ซึ่งหากที่ใดบนโลกทำได้ สถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์ ก็ทำได้แล้วก็ต้องทำให้ดีที่สุด ขณะเดียวกันผมก็ได้รับมอบหมายจากบำรุงราษฎร์ให้ทำวิจัยเพื่อที่จะหาแนวทางการรักษาใหม่ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในการรักษาที่ดีขึ้น และรักษาได้ดีกว่าที่ผ่านมา และหวังว่าจะเป็น ‘ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์’ ในการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดปกติ รวมถึงทุกปัญหาของโรคหัวใจได้อย่างครอบคลุม และต้องพิสูจน์ได้จริง และอีกประการสำคัญคือ บำรุงราษฎร์ลงทุนในเรื่องอุปกรณ์เทคโนโลยีทางการแพทย์สูงมาก ซึ่งบางอย่างก็ไม่อาจจะได้ผลตอบแทนอะไรกลับมา      
 
 
 
ในปัจจุบัน ผมเชื่อว่าเราบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ร่วมกับบำรุงราษฎร์แล้ว ก็คือ การค้นพบวิธีการรักษาใหม่ๆ ที่เราได้นำมาใช้แล้ว แล้วก็มีหลายประเทศให้ความสนใจเรื่องที่เราทำและมาขอดูงานของจริงที่บำรุงราษฎร์ ทั้งญี่ปุ่น ยุโรป และอเมริกา ซึ่งเรามีงานวิจัยหลายอย่างที่บำรุงราษฎร์ แล้วก็มีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เข้ามาใช้ ซึ่งการที่จะพิสูจน์ว่างานวิจัยใช้ได้ผลจริงหรือไม่ จะต้องนำมาปฏิบัติจริงด้วย ซึ่งที่สถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์แห่งนี้ ได้นำมาปฏิบัติทุกวันและหมั่นฝึกฝนเพื่อให้เกิดแนวทางการรักษาผู้ป่วยให้ดีที่สุด โดยมีงบประมาณสำหรับการทำวิจัยอย่างจริงจัง ยกตัวอย่าง ผู้ป่วยที่ใหลตาย แล้วเราก็เจอว่ามีความผิดปกติอย่างไร เรามีวิธีการรักษาอย่างไร ด้วยการจี้พังผืดบริเวณพื้นผิวของหัวใจห้องข้างล่างข้างขวา ซึ่งผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะมีไม่เงินรักษา ซึ่งบำรุงราษฎร์ก็ช่วยรักษาผู้ป่วยในกลุ่มนี้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และเพื่อเป็นงานวิจัยควบคู่กันไปด้วย โดยก่อนหน้านี้เป็นเรื่องที่ยากมากที่จะวินิจฉัยพบความผิดปกติในส่วนนั้น ทำให้ไม่รู้ว่าผิดปกติจากส่วนไหน ซึ่งพบได้ในงานวิจัยนี้ ซึ่งเป็นผลงานจากเมืองไทย และเป็นคนแรกของโลกที่เราทำการรักษาด้วยการจี้แล้วเป็นผลสำเร็จ ทำให้มีผู้คนสนใจและขอเข้ามาดูผลงานที่บำรุงราษฎร์      
 
ซึ่งโรคหัวใจบางกลุ่มบางชนิด อาจมีความเชื่อมโยงกับพันธุกรรม แต่บางโรคบางภาวะ เช่น ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (atrial fibrillation) ซึ่งกรรมพันธุ์ในปัจจุบันนี้เริ่ม advance ขึ้น มีการกลายพันธุ์เกิดขึ้น ปัจจุบันทางโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ก็ได้ร่วมกันทำ Whole Genome Sequencing เทคโนโลยีถอดรหัสพันธุกรรมนำมาใช้ในการวิเคราะห์ DNA (สารพันธุกรรม) หาความเสี่ยงในการเกิดโรค และก็มีผลงานตีพิมพ์ขึ้นมา 
 
 
ปัจจุบัน สถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์ เรามีบุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทางที่พรั่งพร้อม สามารถรักษาผู้ป่วยที่มีอาการซับซ้อน ต้องการการรักษาขั้นสูง รวมถึงการทำงานร่วมมือกันอย่างแข็งแกร่งทีมแพทย์และทีมสหสาขาวิชาชีพหลากหลายสาขาที่มีเป้าหมายเดียวกัน คือ ความปลอดภัยสูงสุดของผู้ป่วยและการทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ดีที่สุดและมีคุณภาพมากที่สุด โดยให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจได้อย่างครอบคลุม อาทิ โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหัวใจล้มเหลว โครงสร้างของหัวใจผิดปกติ โรคหัวใจที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และการคัดกรองและการส่งเสริมสุขภาวะของหัวใจ โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการซับซ้อน หรือผู้ที่ต้องการการรักษาขั้นสูง ด้วยทีมแพทย์และสหสาขาวิชาชีพทำงานร่วมกันแบบไร้รอยต่อ
 

ปัจจัยที่จะทำให้สถาบันโรคหัวใจบรรลุเป้าหมายเทียบเท่ามาตรฐานโลก

ศ. นพ. กุลวี กล่าวต่อว่า ในฐานะที่ผมคลุกคลีและทำงานในประเทศที่ให้ความสำคัญทางการแพทย์ระดับโลก มากกว่า 30 ปี ผมมองว่าปัจจัยที่จะทำให้สถาบันโรคหัวใจบรรลุเป้าหมาย และเทียบเท่ามาตรฐานโลกนั้น ต้องมีองค์ประกอบหลายอย่างที่เข้ามาสนับสนุนกัน ไม่ว่าจะเป็นวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร, การ recruit ทีมแพทย์ที่ชำนาญการและมีประสบการณ์ บุคลากรทางการแพทย์ที่เก่ง, การมีศูนย์ฝึกอบรม ให้แพทย์ได้ฝึกฝน, เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย, มีผลงานวิจัยที่พิสูจน์ได้ รวมถึงมีผลลัพธ์ทางคลินิกที่น่าพึงพอใจ และมีสถิติผลสำเร็จในการรักษาที่ดี ที่สำคัญต้องมี partnership ที่ส่งเสริมซึ่งกันและกัน ซึ่งทุกปัจจัยล้วนทำให้สถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์ ยังคงมาตรฐานอยู่ในระดับเวิลด์คลาสและเป็นที่ยอมรับในระดับสากลจนถึงทุกวันนี้
 
ทั้งนี้ หัวใจสำคัญที่จะช่วยให้ผลลัพธ์ในการรักษาผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากขึ้น ยังประกอบด้วย การทำงานร่วมกันของแพทย์ผู้ชำนาญการในหลากหลายสาขา (Many subspecialties), การทำงานที่สอดประสานกันระหว่างทีมแพทย์และสหสาขาวิชาชีพ (Team approach is needed) และการทำงานที่ใกล้ชิดแบบไร้รอยต่อระหว่างแพทย์สาขาต่างๆ (Multiorgan involvement) เนื่องจากหัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญ หากหัวใจทำงานได้ไม่ดี จะมีผลกระทบต่ออวัยวะอื่นๆ ตามมา ทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น ไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมองหรือมีเส้นเลือดอุดตันบริเวณต่างๆ ของร่างกาย ดังนั้นการดูแลรักษาที่มีประสิทธิภาพต้องอาศัยการทำงานที่ใกล้ชิดและการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
 
ที่ผ่านมา สถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์ รักษาผู้ป่วยโรคหัวใจเฉลี่ย 40,000 รายต่อปี หรือมากกว่า 1 ล้านคนนับตั้งแต่ก่อตั้งโรงพยาบาลฯ โดยมีสถิติความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจอื่นๆ ยกตัวอย่าง  
1. รักษาผู้ป่วยด้วยวิธีการทำบอลลูน มากกว่า 350 รายต่อปี 
2. ฉีดสีเพื่อดูเส้นเลือดหัวใจ มากกว่า 600 รายต่อปี  
3. อัตราการเกิดหลอดเลือดตีบและแตกขณะทำบอลลูน 0% (สถิติประเทศไทย 0.22%) 
4. ใส่ห้องไฟฟ้าหัวใจ มากกว่า 30 รายต่อปี และตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ มากกว่า 80 รายต่อปี 
5. อัตราการเสียชีวิตจากการจี้ไฟฟ้าหัวใจ (AF & VT) = 0
6. อัตราการเสียชีวิตจากเปลี่ยนลิ้นหัวใจเออร์ติกด้วยเทคโนโลยี TAVI ตั้งแต่ปี 2559 = 0 
7. ผ่าตัดหัวใจแบบเปิด มากกว่า 70 รายต่อปี 
 
 
สำหรับทิศทางการดำเนินงานในอนาคตของ ‘สถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์’ ยังคงเดินหน้ามุ่งคัดสรรทีมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ มุ่งพัฒนางานวิจัยใหม่ๆ เพื่อก่อให้เกิดแนวทางการรักษาใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง รวมถึงสรรหาโรงพยาบาลพันธมิตรที่มีเป้าหมายเดียวกัน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างดีที่สุด บวกกับความมุ่งมั่นของผมที่ได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์และนำความรู้ความสามารถที่สั่งสมมาในระดับโลกตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี มาถ่ายทอดองค์ความรู้เทคนิคการรักษาใหม่ๆ และนำมายกระดับความเป็นเลิศด้านการแพทย์ของสถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์ รวมถึงแบ่งปันความรู้และเทคนิคการรักษาให้แก่ศูนย์โรคหัวใจ ให้แก่นักศึกษาแพทย์ และแพทย์ทั้งจากในประเทศไทยและทั่วโลก โดยใช้ ‘สถาบันโรคหัวใจ’ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้จัดฝึกอบรมให้แก่แพทย์ด้านโรคหัวใจ เพื่อช่วยยกระดับวงการแพทย์ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก และอยากเห็นผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น   
 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด