ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

แง้ม 4 ร่างยุทธศาสตร์ กระทรวงอว. 2566 – 2570

แง้ม 4 ร่างยุทธศาสตร์ กระทรวงอว. 2566 – 2570 Thumb HealthServ.net
แง้ม 4 ร่างยุทธศาสตร์ กระทรวงอว. 2566 – 2570 ThumbMobile HealthServ.net

เป้าหมายเด่นน่าสนใจสุดท้าทายของร่างยุทธศาสตร์ฉบับนี้ ได้แก่ พัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง เร่งพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า สร้างดาวเทียมที่วิจัย/พัฒนาโดยคนไทยและส่งไปโคจรสำรวจรอบดวงจันทร์ภายใน 6 ปี

เมื่อ 13 ธันวาคม คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566 – 2570 [(ร่าง) กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ฯ พ.ศ. 2566 – 2570] ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ


ความเป็นมา

สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 มีมติเห็นชอบ (ร่าง) กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566 – 2570

บนวิสัยทัศน์ ที่ว่า 

"สานพลังการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมไทย พลิกโฉมให้ประเทศมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและยั่งยืน ยกระดับความสามารถในการแข่งขันด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่า และพร้อมก้าวสู่อนาคต"


เป้าประสงค์ ได้แก่

1) คนไทยมีสมรรถนะและทักษะสูงเพียงพอในการพลิกโฉมประเทศ ให้ยกระดับความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน

2) เศรษฐกิจไทยมีความสามารถในการแข่งขันด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพิ่มความมั่นคงของเศรษฐกิจฐานราก และพึ่งพาตนเองได้ ยั่งยืน พร้อมสู่อนาคต

3) สังคมไทยมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนสามารถแก้ปัญหาท้าทายของสังคมและสิ่งแวดล้อม ปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก


โดยมีกรอบแนวทางการดำเนินงานภายใต้ 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้มีความสามารถในการแข่งขันและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน พร้อมสู่อนาคต โดยมีแผนงานภายใต้ยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์ที่ 2 :   การยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อมให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถแก้ไขปัญหาท้าทายและปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยมีแผนงานภายใต้ยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรมระดับขั้นแนวหน้าที่ก้าวหน้าล้ำยุค เพื่อสร้างโอกาสใหม่และความพร้อมของประเทศในอนาคต โดยมีแผนงานภายใต้ยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การพัฒนากำลังคนสถาบันอุดมศึกษา และสถาบันวิจัยให้เป็น ฐานการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดและอย่างยั่งยืน



 

แผนงานที่สำคัญ (Flagship)


แผนงาน ภายใต้ยุทธศาสตร์ เช่น
 
1) พัฒนาและผลิตวัคซีนป้องกันโควิด 19 และเป็นศูนย์กลางด้านวัคซีนในระดับอาเซียนภายใน 5 ปี 
 
2) พัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง ให้เป็นอันดับหนึ่งของอาเซียนภายใน 5 ปี
 
3) เร่งพัฒนาการผลิตและการส่งออกอาหารและผลไม้ไทยคุณค่าสูงให้ไทยเป็นผู้นำของโลก โดยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและประเทศที่สั่งซื้อ โดยมีเป้าหมายว่า ประเทศไทยเป็นผู้นำของโลกในการผลิตและส่งออกอาหารและผลไม้ไทยคุณค่าสูง โดยมีมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นและจำนวนประเทศที่สั่งซื้อมากขึ้นหนึ่งเท่าตัว 
 
4) เร่งพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า โดยมุ่งเน้นแบตเตอรี่และชิ้นส่วนสำคัญที่ก้าวหน้าและล้ำยุคสู่อนาคต ให้ประเทศเป็นศูนย์กลางการผลิตของอาเซียน โดยมีเป้าหมายว่า ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของอาเซียน ด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าภายใน 5 ปี 
 
5) เพิ่มศักยภาพและโอกาสสำหรับผู้สูงวัย ให้ประเทศมีผู้สูงอายุที่สามารถพึ่งตนเองได้ สร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้แก่สังคมในสัดส่วนสูงขึ้น โดยมีเป้าหมายว่า ผู้สูงอายุไทยที่สามารถพึ่งตนเองได้และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สังคมมีสัดส่วนที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญภายใน 5 ปี 
 
6) พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ก้าวหน้า ล้ำยุคสู่อนาคตและเทคโนโลยีอวกาศ เพื่อต่อยอดสู่อุตสาหกรรมอวกาศในอนาคต รวมทั้งการสร้างดาวเทียมส่งไปสำรวจดวงจันทร์ โดยมีเป้าหมายว่า ประเทศไทยสามารถสร้างดาวเทียมที่วิจัย/พัฒนาโดยคนไทย และส่งไปโคจรสำรวจรอบดวงจันทร์ภายใน 6 ปี 
 
7) พัฒนาการเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ (Hub of Knowledge) ของอาเซียน รวมถึงด้านศาสตร์โลกตะวันออกภายใน 5 ปี โดยใช้แผนงาน 2 ฉบับ ได้แก่ 
 
7.1) แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2566 – 2570 
 
7.2) แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566 – 2570

โดยมี อว. คณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม คณะกรรมการการอุดมศึกษา และคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา และหน่วยงานในระบบอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกลไกในการขับเคลื่อนตาม (ร่าง) กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ฯ พ.ศ. 2566 – 2570 โดยใช้งบประมาณจากแหล่งงบประมาณต่าง ๆ ได้แก่ กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา และงบประมาณแหล่งอื่น ๆ ได้แก่ งบประมาณที่จัดสรรโดยตรงจากสำนักงบประมาณ งบประมาณขององค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ จังหวัดและท้องถิ่น กองทุนของภาคส่วนการพัฒนาต่าง ๆ (เช่น กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน แหล่งทุนภาคเอกชน และแหล่งทุนต่างประเทศ)
 
 
 
 
สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในการประชุม ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2565 มีมติเห็นชอบในหลักการ (ร่าง) กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ฯ พ.ศ. 2566 – 2570 ของ อว. โดยให้ อว. รับความเห็นไปพิจารณาเพิ่มเติม เช่น ควรปรับปรุงตัวชี้วัดให้สามารถประเมินผลได้อย่างเป็นรูปธรรมทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ มีความท้าทายและสามารถสะท้อนความสำเร็จในระดับประเทศได้มากขึ้น และควรเพิ่มเติมแนวทางการขับเคลื่อนประเด็นสำคัญ เช่น การลดความเหลื่อมล้ำ โดยควรส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาในภูมิภาคมีบทบาทมากขึ้นในการช่วยสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรและพัฒนาภูมิภาคให้สอดคล้องกับความต้องการและศักยภาพของพื้นที่ และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ควรเพิ่มการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อบรรเทาและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ รวมถึงปัญหาภัยพิบัติเรื้อรังที่กระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน (น้ำท่วม ภัยแล้ง ไฟป่า ฝุ่นควัน) เป็นต้น

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด