ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ลงทุนยืดอายุขัย? สู้ลงทุนเพิ่มคุณภาพชีวิต สุขภาพจิต ดีกว่าไหม?

ลงทุนยืดอายุขัย? สู้ลงทุนเพิ่มคุณภาพชีวิต สุขภาพจิต ดีกว่าไหม? Thumb HealthServ.net
ลงทุนยืดอายุขัย? สู้ลงทุนเพิ่มคุณภาพชีวิต สุขภาพจิต ดีกว่าไหม? ThumbMobile HealthServ.net

นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา เผยแพร่บทความผ่านเพจของท่านเรื่อง "ตายอย่างมีศักด์ศรี" ตั้งคำถามต่อเป้าหมายของระบบสาธารณสุขในความพยายามการทำไห้อายุขัยของคนยืนยาวขึ้นนั้น ถูกทางแล้วจริงหรือ โดยข้อมูลอายุขัยจากรายงานบ่งบอกถึงขีดจำกัดของชีวิตตามธรรมชาติ พร้อมกับข้อเสนอที่มุ่งไปยังการพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆขณะมีชีวิตอยู่ ควรเป็นทางที่เหมาะสมกว่าหรือไม่



ตายอย่างมีศักด์ศรี

จุดประสงค์หลัก ของระบบสาธารณสุข และคนที่ทำงานดูแลคนไข้ ก็คือการทำไห้อายุขัยของคนในประเทศยืนยาวขึ้นและอยู่ได้นานขึ้นและแข็งแรง
 
แต่ถูกทางแล้ว จริงหรือ?
 
ใน 100 ปีที่ผ่านมา อายุขัยก็ได้สูงขึ้นมามากกว่าเดิมถึง 30 ปีหรือมากกว่าในหลายๆ ประเทศ 
 
จนขณะนี้ขึ้นศตวรรษใหม่ ซึ่ง มียา และวิธีการรักษาใหม่ๆ เยอะขึ้นมาก รวมถึงการเรียนรู้เรื่องยีนส์ที่ลึกซึ้งขึ้น จึงมียาที่จำเพาะสำหรับโรคที่ก่อนหน้านี้รักษาไม่ได้ เพื่อหวังว่าจะยืดอายุได้เป็นร้อยๆปีอย่างในหนัง
 
แต่ไม่ง่ายอย่างงั้นเพราะ การวิจัยเรื่องยีนส์ในวารสาร Nature ได้ชี้ว่าคนเราจะมีอายุได้ยืนยาวเต็มเหนี่ยวอยู่ประมาณ 115 ปี เท่านั้น และส่วนมากก็จะอยู่ได้ถึงแค่ 90 ปี
 
แล้วอายุมากขึ้นโอกาสสี่ยงมะเร็งก็มากขึ้น แต่ตอนนี้ยาหรือวิธีตรวจหาก็สามารถทำไห้กำจัดมันออกไปได้เร็วขึ้น 
 
แต่การพัฒนานี้อาจไม่ได้ช่วยยืดอายุไปมาก
 
ถ้า ธรรมชาติกำหนดอายุขัยมาไห้แค่นี้
สุดท้ายก็ได้แค่นี้อยู่ดี แถมยัง คงต้องลงทุนรักษาโรคภัยไข้เจ็บที่ตามติดมาอีกมาก
 
ควรจะแบ่งไปลงทุนเพิ่มคุณภาพชีวิต สุขภาพจิต และการสิ้นลมหายใจอย่างไม่ทรมาน และมีศักด์ศรีของความเป็นคนดีกว่าหรือไม่?
 
ลงทุนยืดอายุขัย? สู้ลงทุนเพิ่มคุณภาพชีวิต สุขภาพจิต ดีกว่าไหม? HealthServ
 
* อย่างแรกก็คือ อายุเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นคือการพัฒนาทางด้านสังคน เศรษฐกิจ และการเมือง ซึ่งทำให้เด็กในท้องและเด็กที่เกิดมามีทุนมากกว่า เพราะอาหารการกินที่ดีกว่า และสุขลักษณะ ที่ดีขึ้น น้ำ และอาหารที่สะอาด ซึ่งทำให้การติดเชื้อน้อยลงมาก สิ่งนี้คือเหตุผลหลักเลยละที่ทำไห้อายุเฉลี่ยเพิ่มขึ้นขนาดนี้
 
* อย่างที่สองก็คือ ในช่วงปี 1900 ถึง 1950 อายุเฉลี่ยของคนอเมริกันเพิ่มจาก 47 เป็น 68 ซึ่งเพิ่มมา 42% เลยทีเดียว แต่จาก 1950 ถึง 2000 อายุเฉลี่ยเพิ่มจาก 68 เป็น 77 คิดเป็นแค่ 13% เท่านั้นเอง แล้วหลังจากปี 2000 ล่ะ ผลสำรวจในปี 2014 อายุเฉลี่ยเท่าเดิม แต่ใน 2016 อายุเฉลี่ยเริ่มลดลง 
 
* นักวิทยาศาสตร์ มองว่าในอีก 30 ปีข้างหน้า อายุเฉลี่ยคงจะอยู่ประมาณนี้ละ คงจะไม่เพิ่มขึ้นในเร็วๆ นี้แน่
 
* เหตุผลสุดท้าย ก็คือคนสูงอายุถึงจะได้รับการรักษาที่ล้ำลึกและแพงที่สุด ก็จะได้ปีที่แข็งแรง เพิ่มขึ้นมาไม่เยอะเท่าไหร่ และแสดงไห้เห็นว่าเราได้เข้าสู่ยุคที่การลงทุนทางการแพทย์จะได้รับผลตอบแทนทางสุขภาพน้อยลงเรื่อยๆ 

 
ข้อมูลของยามะเร็ง 71 ชนิดที่ออกมาระหว่างปี 2001-2012 ชี้ว่าเพิ่มอายุเฉลี่ยไห้คนไข้ได้แค่ 2.1 เดือน ส่วน การรักษามะเร็งชนิดเจาะจงบุคคล (Personalized cancer medicine) ก็เพิ่มได้ไม่ต่างกันเท่าไหร่
 
เราใช้เงินไปมาก แต่ไม่เห็นมีความก้าวล้ำอันใดชัดเจน ที่ดูจะเข้าท่า ที่จะมาเพิ่มอายุเฉลี่ยไห้เราได้ 
 
เงินส่วนหนึ่งจากการ ศึกษาวิจัย และอีกส่วนที่ไปต่อชีวิตในห้องไอซียู ซึ่งสุดท้ายก็ไม่ฟื้นอีกเลย รอปาฏิหารย์หรือ อภินิหาร ยังไงก็ไม่รอด ก็ยังยื้ออยู่ จะเพราะเหตุผลส่วนตัว ของครอบครัว และอื่นๆ นั้นก็ตามแต่ 
 
* เอาเงินที่ใช้จากจุดหมายนี้ มาเพิ่มการศึกษา การปฎิบัติที่ทำให้ใช้ได้จริงๆตอนนี้และสามารถเห็นผลมีประโยชน์ชัดๆจับต้องได้ ก็คือ
 
ทำไห้สุขภาพประชากรโดยรวมดีขึ้นไม่ดีกว่าหรือ นอกจากสุขภาพแล้ว เงินก้อนใหญ่นี้ก็สามารถนำมาลงทุนกับการศึกษา อาหารสุขภาพ สวนสาธารณะ การขนส่งสาธารณะ บ้าน ที่อยู่ และการลดความต่างของชนชั้น ซึ่งจะส่งผลดีโดยตรงต่อสังคมเราทันที 
 
การลงทุนกับสิ่งที่กล่าวมานี้จะช่วยลดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่นเบาหวานซึ่งอาจนำไปถึงความพิการทางสายตา หรือ ไตวายเป็นต้น 
 
ที่พูดมานี้ไม่ได้บอกว่าหยุดเงินทั้งหมดที่ไห้กับการทำวิจัยทางการแพทย์ เพราะการวิจัย เพื่อป้องกันโรค หรือรักษาโรคก็สำคัญไม่แพ้กัน แต่เราอยากไห้มีวิจัยซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต ไม่ใช่จะมุ่งเน้นเพิ่มอายุเฉลี่ยอย่างเดียว
 
ไปพัฒนาคุณภาพชีวิตไห้กับชีวิตคน เช่นการป้องกันหรือยับยั้งโรคเช่น โรคไขข้อเสื่อม โรคสมองเสื่อม หรือ โรคม่านตาเสื่อม น่าจะดีกว่าไปพยายามต่ออายุในคนที่เป็นโรคที่รักษาไม่ได้แล้ว

 
เราต้องรับรู้และเข้าใจแล้วนะครับว่าตอนนี้เราใกล้ถึงอายุขัยของสายพันธุ์มนุษย์แล้ว และตอนนี้การแพทย์ต้องการวิธีรับมือคนไข้ที่ถึงเวลาไปแล้ว และการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Palliative care) นั้นจำเป็นที่จะต้องทำไห้ดี เพราะช่วงเวลานี้คือช่วงที่สำคัญมากที่ต้องทำระบบของเราไห้รองรับได้ 
 
การตายไม่ใช่ความล้มเหลวทางการแพทย์ แต่การที่คนไข้ต้องทุกข์ทรมานนั้นแหละคือความล้มเหลว 
ฉะนั้นการตระหนักว่าคนไข้คนนี้ได้มาถึงจุดที่ไม่สามารถประคองได้แล้วจึงจำเป็นมาก ณ ขณะนี้ เพราะจะทำให้การดูแลระยะสุดท้ายเป็นไปอย่างรอบคอบ และคุณภาพสูงที่สุด 
 
สุดท้ายนี้ มาพยายามหาวิธีทำให้สังคมเรามีโรคป่วยเรื้อรังน้อยที่สุดและสั้นที่สุดกันดีกว่าครับ



เรียบเรียง และเพิ่มเติม จากบทความในวารสาร Annals of Internal Medicine ในชื่อว่า Dying Healthy: Public Health Priorities for Fixed Population Life Expectancies โดย George J. Annas, JD, MPH และ Sandro Galea, MD, DrPH  


ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha
11 มีนาคม 2566

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด