เภสัชกรวีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวถึงข่าวออนไลน์ของสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (EPA) ประเทศนิวซีแลนด์ที่ได้เสนอให้รัฐบาลนิวซีแลนด์ยกเลิกการใช้สารเพอร์ฟลูออโรอัลคิลและโพลีฟลูออโรอัลคิล (perfluoroalkyl and polyfluoroalkyl substances : PFAS) ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพื่อให้สอดคล้องกับสหภาพยุโรป (EU) ภายในสิ้นปี 2568 นั้น การดำเนินการเรื่องดังกล่าวในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา อยู่ระหว่างการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง พ.ศ. 2566 ซึ่งมีสาร PFAS และอนุพันธ์ของสารจำนวน 13 รายการอยู่ในประกาศฉบับดังกล่าว โดยร่างประกาศฯ ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการเครื่องสำอางแล้ว อยู่ในขั้นตอนเสนอรัฐมนตรีลงนามประกาศฯ ต่อไป จากการตรวจสอบฐานข้อมูลเครื่องสำอางที่จดแจ้งเพื่อผลิต นำเข้าและจำหน่ายในประเทศไทย ไม่พบการใช้สารในกลุ่ม PFAS และอนุพันธ์ของสารทั้ง 13 รายการ เป็นส่วนผสม และ อย. มีแผนเก็บตัวอย่างเพื่อเฝ้าระวังสารห้ามใช้ หากพบการฝ่าฝืน ผู้กระทำผิดจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายทุกกรณี
สารเคมี PFASs
สารเคมีสังเคราะห์กลุ่มเพอร์ฟลูออโรอัลคิลและโพลีฟลูออโรอัลคิล (PFASs) ถูกผลิตและนำไป ใช้ในอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่างแพร่หลายมามากกว่าครึ่งศตวรรษ สาร PFASs จัดเป็น สารมลพิษชนิดใหม่ที่ปนเปื้อนและตกค้างยาวนานในสิ่งแวดล้อมหลายพื้นที่ทั่วโลก รวมทั้งสะสมใน เนื้อเยื่อสิ่งมีชีวิต และเป็นพิษต่อสุขภาพ ยืนยันด้วยผลการทดลองในสัตว์และผลการศึกษาทางระบาด วิทยาในมนุษย์ของสาร PFASs บางชนิด เช่น ผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ การเกิด ภูมิแพ้ การทำงานของไต โรคหัวใจและหลอดเลือด การเพิ่มขึ้นของระดับไทรอยด์ฮอร์โมนและระดับ คอเลสเตอรอล และมีโอกาสก่อมะเร็งในมนุษย์ เป็นต้น ความตระหนักด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพเริ่มต้นอย่างจริงจังตั้งแต่ปี 2000 นำมาซึ่งการศึกษาวิจัยในหลายประเทศ ส่งผลให้มีการ กำหนดมาตรการควบคุมการผลิตและใช้งานสาร PFASs เพื่อป้องกันผลกระทบต่อประชาชนในประเทศ เหล่านั้น แต่ในประเทศไทยที่ผ่านมามีเพียงการตรวจสอบสาร PFASs ในตัวอย่างสิ่งแวดล้อม ซึ่งผล การศึกษายืนยันการปนเปื้อนในตัวอย่างน้ำ ฝุ่นพื้นผิว และอากาศ คนไทยจึงมีโอกาสรับสัมผัสสาร กลุ่มนี้เข้าสู่ร่างกาย [
TCI-Thaijo]