ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ศึกโควิดที่ทำท่าจะซบเซาไปแล้ว กำลังกลับมาโงหัวฟาดหาง - นิธิพัฒน์ เจียรกุล

ศึกโควิดที่ทำท่าจะซบเซาไปแล้ว กำลังกลับมาโงหัวฟาดหาง - นิธิพัฒน์ เจียรกุล Thumb HealthServ.net
ศึกโควิดที่ทำท่าจะซบเซาไปแล้ว กำลังกลับมาโงหัวฟาดหาง - นิธิพัฒน์ เจียรกุล ThumbMobile HealthServ.net

สถานการณ์โควิดในช่วงเดือนพฤษภาคม 66 นี้ ไม่สู้ดี มีการระบาดเกิดขึ้นมาก ตามที่นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล แห่งรพ.ศิริราช แจ้งเตือนว่าตัวเลขผู้ป่วยโควิดรอรับเข้าโรงพยาบาลกลับเพิ่มมากขึ้นใหม่ รวมทั้งผู้ป่วยอาการหนักในโรงพยาบาลและผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ ก็เพิ่มจำนวนมากขึ้นมากเช่นกัน สอดคล้องกับรายงานจากกรมควบคุมโรคว่าพบการระบาดมากขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มเด็ก

ศึกโควิดที่ทำท่าจะซบเซาไปแล้ว กำลังกลับมาโงหัวฟาดหาง - นิธิพัฒน์ เจียรกุล HealthServ
 
นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล  ได้โพสต์เตือนผ่านเพจของท่านเกี่ยวกับสถานการณ์ระบาดของโควิดที่กำลังกลับมาใหม่ ไว้ โดยกล่าวถึงการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยโควิด ในสัปดาห์ที่ 19 คือระหว่างวันที่ 1-7 พฤษภาคม 66 ไว้ดังนี้

ผมคาดผิดว่าสถานการณ์โควิดจะเริ่มทรงตัวหรือลดลง แต่ตัวเลขสัปดาห์ล่าสุดที่ 19 ของปี (เผยโฉมออกมาช้าหน่อยเพราะคนทำงานคงรอลุ้นผลเลือกตั้ง) ยอดผู้ป่วยต้องเข้าโรงพยาบาล ผู้ป่วยอาการหนัก และผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจ เพิ่มขึ้นกันยกแผงราว 40-50% จากสัปดาห์ที่ 18 ก่อนหน้า แถมด้วยยอดผู้เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นไป 120% นั่นหมายความว่าช่วงหลังสงกรานต์มาจนถึงโค้งสุดท้ายก่อนเลือกตั้ง ขณะนี้มีผู้ติดเชื้ออาจสูงถึงวันละสองหรือสามหมื่นคน ยิ่งสัปดาห์นี้โรงเรียนก็ทยอยเปิดเทอมแล้ว มาช่วยกันควบคุมโรคให้แข็งขันขึ้นอีกหน่อย และเร่งไปรับวัคซีนเข็มกระตุ้นตามความจำเป็น



และล่าสุด วันที่ 22 พฤษภาคม 2566 ท่านกล่าวถึงการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วย ในสัปดาห์ที่ 20 (วันที่ 14 – 20 พฤษภาคม 2566)   ไว้อย่างน่ากังวลว่า 



ขอเตือนกันดังๆ อีกครั้งว่า อย่ามัวสนใจกันแต่เรื่องจัดตั้งรัฐบาลหลังเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว ศึกโควิดที่ทำท่าจะซบเซาไปแล้ว กำลังกลับมาโงหัวฟาดหางประเทศเราเป็นการใหญ่


ณ บ้านริมน้ำ (รพ.ศิริราช) ตัวเลขผู้ป่วยโควิดรอรับเข้าโรงพยาบาลกลับเพิ่มมากขึ้นใหม่ นอกจากจะเป็นผู้ใหญ่กลุ่มเปราะบางแล้ว เริ่มมีผู้ป่วยเด็กให้เห็นประปรายด้วย ในภาพรวมประเทศสัปดาห์ล่าสุดที่ 20 ของปี ยังมีการเพิ่มขึ้นไปต่อของยอดผู้ป่วยต้องเข้าโรงพยาบาล ผู้ป่วยอาการหนัก และผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจ โดยเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ 19 ก่อนหน้าราว 12%, 26%, และ 39% ตามลำดับ ส่วนยอดผู้เสียชีวิตซึ่งพุ่งตามหลังมาเพิ่มขึ้นไปถึง 200% ที่ต้องระวังคือ ยอดผู้ป่วยอาการหนักสะสมรวมเข้าใกล้แนวรับศักยภาพตึงมือภาคการแพทย์ที่ 500 คนแล้ว และผู้เสียชีวิตก็ใกล้จะถึงแนวรับที่ 10 คนต่อวันแล้วเช่นกัน


 
ปัจจัยหลักน่าจะมาจากผู้คนมีกิจกรรมนอกบ้านแบบไม่ระมัดระวังกันมากขึ้น ส่วนปัจจัยรองอาจมาจากสายพันธุ์ย่อยทั้งหลายที่สืบตระกูลของโอไมครอน XBB ซึ่งถือโอกาสรุกคืบเข้ายึดครองตลาดในช่วงที่ภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติและจากวัคซีนของคนไทยเราเริ่มตกลง แถมยังเป็นช่วงที่มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองกันอย่างหนักทั้งในที่ลับและในที่แจ้ง ดังนั้นการรวมตัวของกลุ่มคนจำนวนมากในที่สาธารณะช่วงนี้จึงควรหลีกเลี่ยง และขอให้เคร่งครัดการใส่หน้ากากในพื้นที่ที่การระบายอากาศไม่ดี



 
ศึกโควิดที่ทำท่าจะซบเซาไปแล้ว กำลังกลับมาโงหัวฟาดหาง - นิธิพัฒน์ เจียรกุล HealthServ
 



กรมควบคุมโรครายงานผู้เสียชีวิต 64 ราย

ทั้งนี้ สอดคล้องกับการรายงาน จาก  กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข  โดยนายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค  กล่าวถึงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ในประเทศไทย ว่า ปัจจุบันผู้เสียชีวิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยในสัปดาห์ที่ 20 (วันที่ 14 – 20 พฤษภาคม 2566) พบจำนวนผู้เสียชีวิต 64 ราย เฉลี่ยวันละ 9 ราย ส่วนใหญ่อายุมาก 70 ปีขึ้นไป และไม่ยอมรับวัคซีน กลุ่มผู้ป่วยอาการรุนแรงเป็นผู้ป่วยปอดอักเสบ 401 ราย ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ 226 ราย ซึ่งมักไม่ได้รับวัคซีนและยังพบการระบาดลักษณะเป็นกลุ่มก้อนในกลุ่มวัยทำงาน นักเรียน และในครอบครัวเพิ่มมากขึ้น มีการกระจายของผู้ป่วยในหลายจังหวัด จังหวัดที่ยังคงพบผู้ป่วยได้สูงที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร รองลงมา ได้แก่ ชลบุรี สมุทรสาคร ส่วนกลุ่มผู้ป่วยอาการรุนแรง พบว่า เป็นผู้สูงอายุมากกว่า 70 ปี และส่วนใหญ่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนหรือบางรายพบฉีดวัคซีนเพียง 2 เข็ม แต่ยังไม่ได้รับเข็มกระตุ้น ทำให้ระดับภูมิคุ้มกันหมู่ในประชากรลดลงมาก สายพันธุ์ที่พบการระบาดเป็นสายพันธุ์ใหม่/สายพันธุ์ย่อยอื่นจากต่างประเทศ มีการระบาดเพิ่ม ทั้งในเมืองและชนบท ตามมาด้วยจำนวนผู้ป่วยอาการหนักที่เพิ่มมากขึ้น

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด