ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สะพานลาดกระบังถล่ม คนเจ็บอื้อ มีผู้เสียชีวิต ผู้ว่าสั่งการด่วน

สะพานลาดกระบังถล่ม คนเจ็บอื้อ มีผู้เสียชีวิต ผู้ว่าสั่งการด่วน Thumb HealthServ.net
สะพานลาดกระบังถล่ม คนเจ็บอื้อ มีผู้เสียชีวิต ผู้ว่าสั่งการด่วน ThumbMobile HealthServ.net

10 ก.ค.2566 เวลา 18.08 น. มีรายงานว่าเกิดเหตุทางยกระดับถนนอ่อนนุช-ลาดกระบัง บนถนนหลวงแพ่ง เขตลาดกระบัง ช่วงบริเวณหน้าปั๊มปตท. ทรุดตัว ถล่มลงมา ระยะประมาณ 600 เมตร เบื้องต้นพบผู้บาดเจ็บ 4 ราย เร่งนำส่งโรงพยาบาลแล้ว ต่อมามีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิต และมีผู้บาดเจ็บที่ยังติดอยู่ใต้ซากที่ถล่มลงมาอีก เจ้าหน้าที่กู้ภัยเร่งช่วยเหลือ



สะพานลาดกระบังถล่ม คนเจ็บอื้อ มีผู้เสียชีวิต ผู้ว่าสั่งการด่วน HealthServ
สำนักข่าวข่าวสด รายงานอ้างการสัมภาษณ์ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ระบุว่า เหตุสะพานที่ถล่มลงมาว่า เกิดจาก "Beam Launcher สำหรับร้อยติดตั้งชิ้นส่วนคอนกรีต เซกเมนต์ (Concrete Segment) ซึ่งเป็นพื้นทางของทางยกระดับเกิดพลิกตัว ทำให้พื้นทางที่อยู่ระหว่างการติดตั้งช่วงดังกล่าวหลุดจากหัวเสาตอม่อถล่มลงมา"  ได้ประสานให้วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย เข้าตรวจสอบแล้ว [ข่าวสด]
 
เส้นทางนี้ มีกิจการร่วมค้าธาราวัญ-นภา เป็นผู้รับเหมา 

*ภาพจาก ThaiPBS




 
สะพานลาดกระบังถล่ม คนเจ็บอื้อ มีผู้เสียชีวิต ผู้ว่าสั่งการด่วน HealthServ

สถานการณ์ สะพานถล่ม 13 กรกฎาคม 66

 สจล.คาดเหตุสะพานถล่ม จากอุปกรณ์ตัวร้อยคานคอนกรีตพลิกตัวเพราะรับน้ำหนักไม่ไหว
 
สจล.ลงพื้นที่สำรวจจุดโครงสร้างสะพานยกระดับอ่อนนุช-ลาดกระบังพังถล่ม คาดสาเหตุจากอุปกรณ์ตัวร้อยคานคอนกรีต (Launcher) รับน้ำหนักไม่ไหวจึงพลิกตัว สงสัยเสริมเหล็กแข็งแรงไม่พอ แนะเร่งตรวจโครงสร้างป้องกันเหตุซ้ำ
 
ทีมวิศวกรและผู้เชี่ยวชาญวิศวกรรมโยธา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ประกอบด้วย รศ.ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดี รศ.สุพจน์ ศรีนิล รองอธิการบดีด้านกายภาพ สิ่งแวดล้อม และทรัพย์สิน และทีมงาน ลงพื้นที่สำรวจจุดเกิดเหตุ กรณีสะพานยกระดับอ่อนนุช-ลาดกระบัง พังถล่ม บริเวณหน้าโลตัสลาดกระบัง ถนนหลวงแพ่ง แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง มีผู้เสียชีวิต 2 ราย และบาดเจ็บอีกกว่า 10 ราย รถและอาคารพาณิชย์เสียหาย คาดการณ์สาเหตุมาจากลวดสลิงขาด อุปกรณ์ ตัวร้อยคานคอนกรีต หรือลอนเชอร์ (Launcher) รับน้ำหนักไม่ไหวจึงพลิกตัว ทำให้พื้นทางคอนกรีตที่อยู่ระหว่างการติดตั้งหลุดจากหัวเสาตอม่อถล่มลงมา พร้อมข้อเสนอแนะป้องกันปัญหา
 
โดยในวันเกิดเหตุ 10 ก.ค. 66 เวลา 18.08 น. เป็นช่วงที่คนเลิกงานกำลังเดินทางกลับบ้าน ในที่เกิดเหตุเป็นโครงการก่อสร้างทางยกระดับอ่อนนุช-ลาดกระบัง ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จในเดือน ธ.ค. 2567 ได้พังครืนทั้งตัวคานและเสาทรุดลงมาจากความสูงประมาณ 20 เมตร ทำให้เศษซากคอนกรีต โครงเหล็ก ตัวคาน เสาหล่นทับรถที่ผ่านไปมาบริเวณถนนอ่อนนุช-ลาดกระบังได้รับความเสียหาย มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ อุบัติเหตุครั้งนี้ทำให้การจราจรติดขัดเป็นพื้นที่กว้างจากการพังถล่มเป็นทางยาวกว่า 300 เมตร เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าฯ เข้าตัดกระแสไฟฟ้าและเคลียร์สายไฟเพื่อให้รถเครนสามารถเข้าไปเคลียร์พื้นที่
 
ทั้งนี้ สาเหตุที่แน่ชัดของสะพานพังถล่มที่ย่านลาดกระบังยังต้องรอการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 
แต่จากการคาดการณ์เบื้องต้น มีหลายสาเหตุที่มีความเป็นไปได้ โดยอาจเกิดจากตัวโครงเหล็กที่ยึดกับตอม่อสะพานเอียง แล้วล้มลงไปทางด้านซ้าย ทำให้ตัวโครงสร้างเหล็กสีฟ้า ที่เรียกว่า ‘ลอนเชอร์’ (Girder Launcher Crane) ที่ใช้ร้อยคานคอนกรีต ซึ่งทำหน้าที่นำเอาคานคอนกรีตหลายชิ้นมาต่อเรียงกันแล้วร้อยด้วยลวดสลิง ขณะกำลังดึงลวดสลิงนั้นเกิดเสียงดังลั่นคล้ายระเบิด จึงเป็นไปได้ว่าอาจมีลวดเส้นใดเส้นหนึ่งขาด แล้วเกิดแรงสั่นไหวทำให้ตัวร้อยคานคอนกรีต (Girder Launcher Crane) ซึ่งตั้งอยู่บนหัวเสาสะบัดแรงพลิกตัวหักลง และด้วยน้ำหนักที่มากส่งผลให้ตอม่อทั้งสองข้างบิดรุนแรง โดยชุดหนึ่งโค่นลง และตอม่ออีกชุดหนึ่งฉีกขาดออกจากกัน ทำให้โครงสร้างคานคอนกรีตที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์พังทลายลง
 
รศ.สุพจน์ ศรีนิล รองอธิการบดีฝ่ายกายภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพย์สิน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า ความจำเป็นเร่งด่วนขณะนี้คือการประเมินความปลอดภัยของโครงสร้างที่ได้รับความเสียหายมาก เพื่อมิให้เกิดการพังถล่มต่อเนื่อง ข้อควรระมัดระวังในการเคลียร์พื้นที่ตอนนี้ คือ สะพานลงมาอยู่ที่ชั้นพื้นดินแล้ว ห้ามคนเข้าไป ต้องเอาผู้เชี่ยวชาญมาตัดตัวสะพานเป็นชิ้นๆ แล้วค่อยยกออก ถึงจะดำเนินการต่อไปได้
 
ส่วนการตรวจสอบหาสาเหตุในรายละเอียดที่ต้องทำ เช่น ควรตรวจสอบการเสริมเหล็กกับคอนกรีต เนื่องจากในการออกแบบ ต้องออกแบบเผื่อ ‘การบิดตัว’ ซึ่งการบิดตัวที่กล่าวถึง เกิดจากตัวสะพานไม่อยู่ในจุดส่วนกลาง แต่เบี่ยงไปทางซ้าย พอเบี่ยงไปทางซ้าย ทำให้ตอม่อบิดไปด้วย จนเกิดการขาดของตอม่อ
 
หลังจากนี้ต้องมีการตรวจสอบว่าอุปกรณ์เครื่องมือไม่มีความพร้อมหรือไม่ เพราะปกติการก่อสร้างสะพานก็ใช้วิธีนี้ เป็นการทำทั่วไป แต่เพราะอะไรโครงยึดถึงเอียงตัวได้ อาจต้องไปตรวจสอบถึงการดีไซน์เสาตอม่อเสริมเหล็กเป็นอย่างไร เพราะขาดหลุดไปเลย ความบางความหนาไม่เกี่ยวกัน ขึ้นกับความแข็งแรงของการเสริมเหล็ก สำหรับการตรวจสอบความปลอดภัยของอาคารที่อยู่อาศัยโดยรอบ ต้องใช้เวลาตรวจสอบประมาณ 2-3 สัปดาห์
 
ส่วนข้อสังเกตเรื่องชั้นดินนั้น รศ.สุพจน์ ศรีนิล อธิบายว่า เสาเข็มที่รับตอม่อเป็นเข็มยาว 60 เมตร ถึงชั้นดินแข็ง เรื่องความบกพร่องของเข็มโดยทั่วไปจะมีการทดสอบก่อน แม้โอกาสที่จะเกิดปัญหาที่ชั้นดินมีน้อยแต่ก็ต้องใช้เวลาตรวจสอบอีกเช่นกัน ทั้งนี้ยังเป็นการวิเคราะห์เบื้องต้นและคาดการณ์ตามหลักวิศวกรรมเท่านั้น
 
@แนะหน่วยงานรัฐตรวจสอบควบคุม เข้มการทำงานของผู้รับจ้างต้องปลอดภัย
 
ผศ.ดร.อาทิตย์ เพชรศศิธร ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกายภาพ สิ่งแวดล้อมและทรัพย์สิน สจล. กล่าวสรุปถึงข้อเสนอแนะจาก สจล.ว่า หน่วยงานภาครัฐที่เป็นเจ้าของโครงการก่อสร้างต่างๆ ควรดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง โดยให้ผู้รับจ้างปฏิบัติตามแผนปฏิบัติงานความปลอดภัยในการก่อสร้างและควรต้องรายงานผลการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยดังกล่าวให้เจ้าของโครงการรับทราบตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ในขณะที่ผู้ประกอบการ หรือผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ควรจัดทำแผนปฏิบัติงานความปลอดภัยในการทำงานอย่างละเอียดและชัดเจน มีวิศวกรควบคุมงานที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างนั้นๆ ประจำอยู่ในสถานที่ก่อสร้างตลอดระยะเวลาที่มีการก่อสร้าง และควรจัดฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานให้แก่พนักงานทุกคนอย่างสม่ำเสมอ  

ผู้จัดการออนไลน์

สถานการณ์ สะพานถล่ม 12 กรกฎาคม 66

กทม. ยันไม่ได้สั่งให้มีการเปลี่ยนแปลงแบบในการก่อสร้าง แต่ทางผู้รับเหมาได้แจ้งขอเปลี่ยนรูปแบบการก่อสร้าง เมื่อเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา จากแบบเดิมการหล่อตัว Box Segment ทำในพื้นที่ แต่ขอเปลี่ยนแบบ Box Segment แบบสำเร็จ เพื่อให้การก่อสร้างเร็วขึ้น ลดการใช้พื้นที่ผิวการจราจร และยังสามารถควบคุมคุณภาพของ segment ได้ดียิ่งขึ้น 

ยืนยันรูปแบบดังกล่าว เป็นวิธีก่อสร้างที่มีการทำกันอยู่แล้ว มีการควบคุมตามหลักวิศวกรรม ไม่ได้มีความปลอดภัยน้อยลงแต่คาดว่าสาเหตุเกิดจากความผิดพลาดในการก่อสร้าง 
ส่วนบริษัทที่รับเหมายอมรับเพิ่งรับงานครั้งแรกกับทาง กทม. และประมูลตามขั้นตอนและเสนอราคาต่ำกว่าราคากลาง 4 แสนบาทเป็นผู้ชนะการประมูล ซึ่งนอกจากโครงการดังกล่าวแล้ว ในกทม.ไม่มีการก่อสร้างแบบในจุดเกิดอื่น

เริ่มปฏิบัติการรื้อถอนเศษซากตั้งแต่ช่วงเวลา 02:00 น.

 วันนี้ (11 ก.ค. 66) เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ เจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สน.จระเข้น้อย เจ้าหน้าที่กู้ภัยจากมูลนิธิกู้ภัยร่มไทร สำนักงานเขตลาดกระบัง สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย กรุงเทพมหานคร การไฟฟ้านครหลวง กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เข้ามาช่วยดูแลอำนวยความสะดวกในพื้นที่ ในการรื้อถอนเศษซากชิ้นส่วนของทางยกระดับอ่อนนุช - ลาดกระบัง ถนนหลวงแพ่ง เขตลาดกระบัง ที่ทรุดตัว และถล่มลงมาตั้งแต่เมื่อช่วงเย็นวานนี้ (10 ก.ค. 66)

โดยเจ้าหน้าที่เริ่มปฏิบัติการรื้อถอนเศษซากตั้งแต่ช่วงเวลา 02:00 น. ที่ผ่านมา ซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถรื้อถอนชิ้นส่วนแรกออกไปได้ เมื่อเวลา 06:15 น. คือส่วนบนสุดเป็นส่วนปลายซึ่งทำได้ง่าย และควบคุมโดยสำนักโยธา ก่อนจะเริ่มการรื้อถอนชิ้นส่วนต่างๆ ในลำดับถัดไป 
สำหรับการรื้อถอนเต็มไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากข้อจำกัดของพื้นที่ เนื่องจากสะพาน และถนนมีขนาดเพียง 2 ช่อง ซึ่งอยู่ติดกับเสาไฟฟ้า และปั้มน้ำมัน รวมทั้งยังมีซากรถที่ถูกทับอยู่ใต้คานสะพาน ทำให้จำเป็นต้องมีการใช้แก๊สตัดเหล็กในการแยกชิ้นส่วนของโครงสะพาน แล้วใช้รถเครนยกออกเป็นส่วนๆ แต่ต้องใช้ความระมัดระวังขั้นสูง เพราะสเก็ตไฟอาจจะไปกระทบกับไอระเหยน้ำมันของหัวรับน้ำมันปั้ม และไอระเหยน้ำมันของซากรถที่ติดอยู่ภายใน ทำให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงต้องคอยฉีดน้ำเพื่อระงับไอระเหย และประกายไฟอยู่เป็นระยะ
 
อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ยังคงปฏิบัติการรื้อถอนซากลอนเชอร์ออกจากพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยวันนี้จะมีการผลัดเปลี่ยนชุดทำงาน เพื่อลดอาการเหนื่อยล้าของเจ้าหน้าที่ และเพื่อการทำงานที่ต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าจะเป็นเส้นทางการจราจรได้ในวันศุกร์นี้
 
เรื่อง/ภาพ กิตติธัช วิทยาเดชขจร
The Reporter 

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ สั่งการให้เตรียมรื้อถอน เวลาประมาณ 00.00 น.

สถานการณ์เมื่อคืนเวลาประมาณ 00.00 น. ได้สั่งการให้เตรียมรื้อถอนก็พาบริษัทผู้รับเหมาเข้ามา ซึ่งมีอยู่ 3 ส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้รับเหมาหลัก ผู้รับเหมาทำ Truss หรือเรียกว่า Launcher และผู้รับเหมาที่ดึงลวด รวมทั้งหน่วยบรรเทาสาธารณภัยเข้าไปปูพรมตรวจอีกครั้งหนึ่ง ให้มั่นใจก่อนว่าไม่มีใครติดอยู่ข้างล่าง การดำเนินการใช้วิธียกเครนโดยเอาเครน 200 ตัน 3 ตัว มายกชิ้นส่วน Truss ด้านบนก่อน ชิ้นส่วนหนักประมาณ 7 ตัน 4 ชิ้น เมื่อเช้าเริ่มยกเวลาประมาณ 07.00 น. และจะทยอยยกไปคาดว่าวันนี้น่าจะแล้วเสร็จ ซึ่งในการรื้อถอนต้องระวังว่าสภาพที่ไม่เสถียร หากรื้อถอนแล้วอาจจะมีน้ำหนักที่เอาออก แล้วทำให้เกิดการเสียสมดุลอาจมีการหล่นลงมาอีก ต้องมีการค้ำยันให้ดีก่อนต้องทำในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป

กรุงเทพมหานคร แถลงข่าว

11 ก.ค. 2566 11.19 น. กรุงเทพมหานคร แถลงข่าวกรณีเหตุการณ์โครงการก่อสร้างทางยกระดับถนนอ่อนนุช-ลาดกระบังในพื้นที่เขตลาดกระบังถล่ม ณ อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ดินแดง) นำโดย ผู้ว่าฯ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์   รองผู้ว่าฯ วิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าฯ  ทวิดา กมลเวช  นายธวัชชัย นภาศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร 
 
ผู้ว่าฯ ชัชชาติ เริ่มต้น ชี้แจงว่า กรณีมีข่าวทีมชัชชาติให้เปลี่ยนแปลงแบบก่อสร้าง นั้นไม่จริง เป็นเรื่องกระบวนการก่อสร้างปกติ ที่ผู้รับเหมามีการทำและล่าช้า จึงขอเปลี่ยนวิธีการก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2565 แล้ว ไม่มีการสั่งเปลี่ยนแต่อย่างใด  ผู้ว่าเน้นว่า การสื่อสารควรดูให้มีความถูกต้อง หากนำเข้าข้อมูลที่เป็นเท็จทางออนไลน์จะมีความผิดทางกฏหมาย ขออย่าสร้างความสับสนกับสังคม และให้เป็นผู้เชี่ยวชาญจริงๆ ที่ออกมาให้ข้อมูล และขอยืนยันว่าเป็นกระบวนการขั้นตอนทางวิศวกรรม จริงๆ แล้วไม่มีต้องการเสี่ยงหรือสั่งให้ทำเพื่อให้เกิดความเสี่ยง เป็นไปไม่ได้
 
      
ผู้ว่าฯ ชัชชาติ  อธิบายสถานการณ์ ว่า เป็นกิจการร่วมค้า สิงหาคม 2564 งาน 2 ส่วน การไฟฟ้านครหลวง และกรุงเทพมหานคร เส้นทางยาว 3.5 กม. งานมีปัญหาความล่าช้า และสภากทม.ได้ตั้งกระทู้ในสภาและกทม.ได้เร่งรัดอยู่ 
 
เหตุเกิดหน้าปั๊มปตท. เวลา 5.40 น. โครงสร้างสะพานที่เป็นบล็อกเซคเม้นต์ โครงทรัสต์ด้านบน การดึงลวดอัดแรงเกิดการวิบัติ ทำให้พังลงมา มีความเสียหาย 1 ช่วงสะพาน กับอีก 2 เซคชั่น เสาพัง 2 ต้น (pier 83 และ 84) ชิ้นส่วนสะพานตกลงมาตรงกลางและทางด้านเลนซ้ายถนน มีคนงานได้รับบาดเจ็บ 7 คน มีผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ 1 คน เป็นวิศวกรที่ทำเรื่องดึงลวด อีก 1 คนเสียชีวิตที่โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 คาดว่าเป็นคนงาน
 
    ส่วนบุคคลทั่วไป มีบาดเจ็บ แต่คาดว่าไม่มีผู้เสียชีวิต 
 
    เหตุการณ์โชคดี ผู้รอดมาได้จากรถที่ถูกทับ เหตุคนขับเห็นท่าไม่ดีจึงรีบหนีออกมาทัน ก่อนรถโดนทับที่ฝากระโปรง 
 
    สถานการณ์ ก่อนเที่ยงคืนวันที่ 10 ก.ค. ผู้ว่าฯ ได้สั่งการให้เตรียมรื้อถอน นำบริษัทรับเหมาเข้ามา 3 ส่วนได้แก่ ผู้รับเหมาหลัก ผู้รับเหมาที่ทำตัวทรัสต์ หรือเรียก Launcher ผู้รับเหมาที่ดึงลวด เนื่องจากเหล็กอยู่บนสุด แล้วเป็นคอนกรีต และเสา จึงต้องเอาตัวเหล็กออกก่อน โดยเมื่อคืนได้ให้หน่วยบรรเทาสาธารณภัย ค้นปูพรมว่าไม่มีใครติดอยู่ใต้ซากอย่างแน่นอนก่อน ให้มั่นใจ เพราะหากมี ต้องกู้ชีพก่อน ตรวจแล้วไม่มี จึงได้ดำเนินการรื้อ โดยวิธียกเครน 200 ตัน 3 ตัว มายกส่วนทรัสต์ด้านบนก่อน  ชิ้นส่วนหนักประมาณ 7 ตัน 4 ชิ้น การยกเริ่มเช้านี้เวลา 7.00 น. และทยอยยกไปเรื่อยๆ คาดว่าวันนี้น่าจะเสร็จ
 
     รองผู้ว่าวิศณุ ทรัพย์สมพล กล่าวถึงสาเหตุการเกิด ดึงลวดระหว่างเสาร 84 และ 83 เสาที่หักคือเสา 84  ผู้รับจ้างทำแผนการรื้อถอน และให้บศท.ให้ความเห็น 
 
    ประเด็นการก่อสร้าง ในการประกวดราคา กำหนดเป็นการหล่อในที่ แต่ใน TOR เปิดเสนอแบบหล่อสำเร็จก็ได้ ช่วงแรกผู้รับเหมาได้ใช้วิธีการหล่อในที่ แต่เนื่องจากเป็นวิธีเก่า มีผลกระทบกับการจราจร และใช้เวลานาน กอปรกับการก่อสร้างล่าช้า ผู้รับจ้าง จึงขอเปลี่ยนมาเป็นแบบหล่อสำเร็จในภายหลัง ซึ่งเป็นการก่อสร้างปกติทั่วไป ทำเรื่องขอเปลี่ยนเมื่อกันยายน และพิจารณาแบบเดือนตุลาคม 2565 
 
     ผู้ว่าชัชชาติ เสริมว่า การก่อสร้างแบบหล่อสำเร็จเป็นการก่อสร้างทั่วไป ทำให้ควบคุมคุณภาพดีขึ้น ทำได้เร็วขึ้น ในการทำมาตั้งแต่กันยายน ทำหลายสแปนไม่มีปัญหาอะไร จึงมองว่าเป็นขั้นตอนการก่อสร้างที่มีความผิดพลาดมากกว่า
 
         การก่อสร้างจะะงับไปจนกว่าจะมีการทำแผนการก่อสร้างมาใหม่ โดยวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วศท.) ร่วมพิจารณา 
 
    มีคำถามว่าจะแบล็คลิสต 2 บริษัทนี้หรือไม่ ผู้ว่าฯ ระบุว่าต้องกระบวนการทางกฏหมาย สรุปสาเหตุให้ได้ก่อน กทม.ต้องการผู้รับเหมาคุณภาพอยู่แล้ว การก่อสร้างในพื้นที่สาธารณมีความเสี่ยงกับประชาชนทั่วไปอยู่แล้ว ถ้าเป็นความผิดพลาดเลินเล่อของผู้รับเหมาอย่างแท้จริง แล้วมีช่องทางทางกฏหมายจะไม่ให้เข้ามาประมูลงานได้ ก็ต้องหาทางให้เข้มข้นที่สุด เพื่อไม่ให้ผู้ทำผิดแล้ว คราวหน้าจะมาทำใหม่ แต่ว่าต้องทำตามกรอบกฏหมาย ระเบียยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำตามใจไม่ได้ 
 
 
   การสั่งปิดการก่อสร้างตลอดเส้นทางทั้งหมดแล้ว เพื่อเตรียมตรวจสอบ 
 
   กรณีมีคนสูญหาย แจ้งโทร 199 พร้อมช่วยเหลือเยียวยาเต็มที่ 
 
      
    
 
 
 
 

รองปลัดฯ ติดตามการแก้ปัญหาสะพานถล่มตามข้อสั่งการผู้บริหาร

นายณรงค์ เรืองศรี รองปลัดกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่จุดเกิดเหตุสะพานยกระดับอ่อนนุช-ลาดกระบัง ถล่มระหว่างก่อสร้าง ร่วมกับ นายชัชชญา ขำจันทร์ ผู้อำนวยการเขตลาดกระบัง เพื่อติดตามการดำเนินการบรรเทาและแก้ไขปัญหาตามข้อสั่งการของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยได้หารือร่วมกับสำนักการโยธาและผู้รับจ้างวางแผนการรื้อถอนโครงสร้างที่เสียหายให้มีความปลอดภัยต่อประชาชนโดยรอบและสามารถคืนผิวจราจรโดยเร็ว และมอบหมายให้ผู้อำนวยการเขตลาดกระบังประสาน สน.จรเข้น้อยจัดเจ้าหน้าที่อำนวยการจราจรและประชาสัมพันธ์เส้นทางเลี่ยง ประสานการไฟฟ้านครหลวงแก้ไขระบบไฟฟ้าให้สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าในบริเวณที่เกิดเหตุ และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนทั้งนี้ กรุงเทพมหานครได้ตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุอยู่ที่บริเวณโลตัสลาดกระบัง สำหรับประชาชนเพื่อแจ้งเหตุหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ภาพชิ้นส่วนโครงงานก่อสร้างพังลงมาบริเวณปั๊มปตท. และหน้าหมู่บ้านสัมมากร

เปิดชื่อผู้เสียชีวิต 2 ราย สะพานถล่ม เป็นวิศวกรกับคนงานโครงการ

11 ก.ค. 66 ล่าสุดรายงาน ผู้เสียชีวิต 2 ราย สะพานถล่ม เป็นวิศวกรกับคนงานโครงการ 
นายฉัตรชัย ประเสริฐ วิศวกรโครงการ เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ
และนายอรัญ สังขรักษ์ อายุ 24 ปี คนงานของโครงการ เสียชีวิตที่ รพ.จุฬารัตน์ 9 [ข่าวสด]

รายชื่อผู้บาดเจ็บ 8 ราย

 รายชื่อผู้บาดเจ็บ 8 ราย นำส่งรักษาตัวที่ รพ.ลาดกระบัง 
1. นายพรรษา พวงยี่โถ
2. นายศรศักดิ์ เหมือนพร้อม
3. นายสุเพท สุวรรณทา
4. นายวิสิทธ์ แจ้งทา
5. นายทัศนัย รัตนแสง
6. นส.มัจฉา เสียวสุข
7. นายณัฐพงษ์ มัคยุโก๊บ
8. นายอารักษ์ กิ่งดำ

รายชื่อผู้บาดเจ็บ รักษาที่รพ.จุฬารัตน์ 9

1. นส. รัชนี นาคทรงแก้ว
2. นายธนดล คลังจินดา
3. นส.อุไรวรรณ วะเรืองรัมย์ 
4. นายศุภชัย พวงยี่โถ
5. นายอรัญ สังข์รักษ์

ผู้ว่าฯชัชชาติ ลงพื้นที่ตรวจสอบ เหตุสะพานลาดกระบังถล่ม

ผู้ว่าฯชัชชาติ ลงพื้นที่ตรวจสอบ เหตุสะพานลาดกระบังถล่ม โดยกล่าวว่า จากข้อมูลที่ได้รับในขณะนี้ (เวลาประมาณ 20.00 น. ) พบผู้เสียชีวิต 1 ราย เบื้องต้นทราบว่าเป็นวิศวะกร มีผู้บาดเจ็บสาหัส 4 ราย บาดเจ็บ 4 ราย รวมผู้บาดเจ็บ 8 ราย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง กำลังเร่งประชุมวางแผนกู้ซากและหาสาเหตุของการถล่ม [อีจัน] *ภาพจากไทยรัฐ

นายชัชชาติสั่งการ 
  • ให้รองปลัดสำนักโยธาและประสานวิศวกรรมสถานเข้าตรวจสอบพื้นที่ เอาผู้รับเหมา คนคุมงานทั้งหมด มาประเมินสถานการณ์ 
  • ยังไม่แน่ใจว่ามีคนติดค้างใต้ซากอีกหรือไม่ แต่ก่อนเข้าไป ต้องให้แน่ใจว่าโครงสร้างจะไม่พังทลายซ้ำ 
  • ด้านผู้บาดเจ็บ ให้ศูนย์เอราวัณ ผอ.รพ.ลาดกระบัง เป็นผู้รวบรวม หากมีผู้สูญหาย ญาติโทรแจ้ง 199
  • การดูแลผู้ประสบภัย อยู่ที่วัดพลมณี ลาดกระบัง [แผนที่] หากต้องก 
  •  มอบหมายผอ.เขต ดูแลผู้อยู่อาศัย จะต้องมีการตัดไฟในบางพื้นที่ รับผิดชอบด้านการคมนาคม เข้าออกพื้นที่อยู่อาศัย เร่งรีบให้เข้าสู่ภาวะปกติ ขณะเดียวกันต้องกันคน เพราะยังมีความไม่ปลอดภัยอยู่ 
  • ขอประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้องอย่าเข้าพื้นที่เสี่ยง เพราะอาจมีชิ้นส่วนที่อาจตกลงมาอีก
  • การกู้ภัยยังไม่สามารถทำได้ทันที ต้องฟังจากวิศวกร ต้องดูว่าต้องการอุปกรณ์หนักชนิดใดบ้าง ต้องดำเนินการคู่ขนานกันไป
  • โครงการนี้เป็นโครงการต่อเนื่อง 3 ปี คู่สัญญากับกทม. มูลค่ากว่า 1,664,550,000 ล้าน ระยะทาง 3,500 เมตร จำนวน 4 ช่องจราจร เดิมกำหนดเสร็จสิงหาคม 66 แต่ต่อสัญญาถึง 17 ธันวาคม 2567 จากเหตุโควิด 
  • งานนี้ต้องมีคนรับผิดชอบ เพราะมีคนเจ็บ คนตาย และไม่น่าใช่เหตุสุดวิสัย เพราะเป็นโครงการก่อสร้างปกติ ไม่มีเหตุสุดวิสัย ตามหลักไม่ควรมีการพังทลายเกิดขึ้น ต้องมีคนรับผิดชอบ

กทม.เร่งช่วยเหลือเหตุทางยกระดับอ่อนนุช-ลาดกระบัง ถล่ม ยึดความปลอดภัยของประชาชนเป็นหลัก หากสงสัยมีญาติสูญหาย โทร.แจ้ง 199

10 ก.ค. 66 เวลา 21.00 น. นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงเหตุการณ์โครงการก่อสร้างทางยกระดับถนนอ่อนนุช-ลาดกระบัง ในพื้นที่เขตลาดกระบังถล่ม ว่า ขณะนี้ยังคงต้องประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของโครงสร้างก่อนเพราะโครงสร้างได้รับความเสียหายมาก มีความไม่เสถียรอยู่ อาจมีการพังต่อเนื่องได้ การเข้าพื้นที่ต้องประเมินความปลอดภัยทางวิศวกรรมก่อน ต้องมั่นใจว่าเมื่อเข้าไปจะไม่เสียหายมากขึ้น
 
ตอนนี้ได้มอบหมายรองปลัดกทม.ร่วมกับผอ.สำนักการโยธา และวิศวกรรมสถานฯ วิศวกรและผู้รับเหมามาประเมินสถานการณ์ก่อนว่ามีความปลอดภัยแค่ไหนในการเข้าไป ซึ่งตอนนี้มีศพผู้เสียชีวิตติดอยู่ข้างใน 1 ศพ และยังไม่แน่ชัดว่ามีผู้ติดค้างอยู่ข้างในซากอีกหรือไม่ การเข้าไปกู้ภัยไม่สามารถเข้าได้ทันที ต้องประเมินทางวิศวกรรมด้วย และมอบให้ผอ.เขตดูแลการคมนาคมการเข้าออกพื้นที่ การตัดไฟในบางจุด เร่งจัดการเพื่อให้กลับสู่สถานการณ์ปกติโดยเร็ว ทุกส่วนต้องดูคู่ขนานกันไป
 
สำหรับผู้บาดเจ็บ มอบให้ทางศูนย์เอราวัณ และผอ.โรงพยาบาลลาดกระบัง เป็นผู้รวบรวมตัวเลขผู้บาดเจ็บ สูญหาย และหากใครมีญาติ หรือคนรู้จักที่คาดว่ายังไม่ได้กลับบ้าน ติดต่อไม่ได้ หรือสูญหายจากเหตุการณ์ ให้โทรไปที่เบอร์ 199 และได้มีการตั้งศูนย์ช่วยเหลืออยู่ที่วัดพลมานีย์ สำหรับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ
 
“เป็นเรื่องไม่ควรจะเกิด ต่อไปต้องดูโครงการต่างๆให้รอบคอบ ดูเรื่องความปลอดภัยของประชาชนเป็นหลัก เรื่องนี้คงต้องมีคนรับผิดชอบเพราะไม่ใช่เหตุสุดวิสัย” ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าว

กทม.ประกาศ หลีกเลี่ยงเส้นทาง ถนนหลวงแพ่ง - ลาดกระบัง (หน้าโลตัส ลาดกระบัง)

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ เปิดเผย ภายหลังลงพื้นที่เกิดเหตุ  ระบุในขณะนี้จะต้องเน้นเรื่องความปลอดภัยในพื้นที่ การกู้ซากจะต้องให้วิศวกรเข้ามาประเมินขั้นตอนเพิ่มเติมว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป เพื่อให้การกู้ภัยเป็นไปอย่างปลอดภัย และไม่เกิดเหตุซ้ำซ้อนขึ้น 
สำหรับสถานการณ์ในวันพรุ่งนี้ (11 ก.ค.66) ขอแนะนำให้ประชาชนวางแผนการเดินทาง โดยหาเส้นทางเลี่ยงไว้ก่อน เนื่องจากการกู้ซากโครงสร้างต้องใช้เวลา เพราะเป็นโครงสร้างชิ้นส่วนขนาดใหญ่
โดยทาง สน.จรเข้น้อย ได้แจ้งเส้นทางเลี่ยงการปิดการจราจร ดังนี้
  • ขาเข้าเมือง ปิดการจราจรเด็ดขาด ตั้งแต่หน้าเทสโก้โลตัสหลวงแพ่ง ถึง ทางเข้า สน.จรเข้น้อย
  • เส้นทางเลี่ยง มาตลาดหัวตะเข้ - ลาดกระบัง ขาเข้า 
  • เข้า ซอยสหมิตร 2 , ซอยหลวงแพ่ง 6 , ซอยทางเข้าหมู่บ้านร็อคการเด้น มาออก ซอยหลวงแพ่ง 4 เลี้ยวซ้ายขึ้นสะพานหัวตะเข้
  • เลี้ยวขวาแยกวัดพลมานีย์ ออกคู่ขนานมอเตอร์เวย์ สามารถไปถนนลาดกระบัง ทางออก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หรือ ออกแอร์พอทลิ้งลาดกระบัง
  • เลี้ยวขวาแยกวัดพลมานีย์ เลี้ยวขวาคู่ขนานมอเตอร์เวย์ ออกถนนฉลองกรุง 
ทั้งนี้ตั้งแต่เวลา 05.00 น. ของวันที่ 11 ก.ค. 66 เป็นต้นไป จนกว่าจะแล้วเสร็จ

บช.น.แจ้งปิดการจราจร วันที่ 11 ก.ค.66 ตั้งแต่ 05.00 น. เป็นต้นไป จนกว่าจะแล้วเสร็จ

บช.น.แจ้งปิดการจราจร จากเหตุสะพานทรุดตัว - เส้นทางเลี่ยง วันที่ 11 ก.ค.66 ตั้งแต่ 05.00 น. เป็นต้นไป จนกว่าจะแล้วเสร็จ 
 
1. เส้นทางที่ปิดการจราจร 
ถ.หลวงแพ่ง ฝั่งขาเข้า ตั้งแต่หน้าห้างเทสโก้โลตัสหลวงแพ่ง ถึงทางเข้า สน.จรเข้น้อย
 
2. เส้นทางแนะนำ
1. ถ.ฉลองกรุง
2. ถ.คู่ขนานมาเตอร์เวย์ กรุงเทพ-ชลบุรีสายใหม่
3. ถ.หลวงแพ่ง ฝั่งขาเข้า ยกเว้นช่วงหน้าห้างโลตัสหลวงแพ่งถึงสน.จรเข้น้อย
4. ถ.หลวงแพ่ง ฝั่งขาออก ใช้งานได้ปกติ
5. ถ.โยธาธิการ
6. ถ.ลาดกระบัง 

พื้นที่เกิดเหตุ

 

กู้ภัยขอความร่วมมือ!!! หลีกเลี่ยงเส้นทาง

 กู้ภัยขอความร่วมมือ!!!  ผู้ใช้รถตอนนี้ ให้หลีกเลี่ยงเส้นทาง บริเวณสะพานข้ามแยก บริเวณหน้าโลตัส ลาดกระบัง ถนนหลวงแพ่ง แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง กทม. โดยแนะนำให้ใช้ ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 กรุงเทพฯ - บ้านฉาง เนื่องจากเกิดเหตุสะพานถล่ม เจ้าหน้าที่ระหว่างประชุมวางแผน ค้นหาผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต [อีจัน]

ผบ.ตร.สั่งด่วนให้ บช.น.เร่งช่วยเหลือเหตุสะพานข้ามแยกทรุด

ผบ.ตร.สั่งด่วนให้ บช.น.เร่งช่วยเหลือเหตุสะพานข้ามแยกทรุด จัดการจราจร ประสานส่วนเกี่ยวข้องช่วยเหลือผู้บาดเจ็บและตกค้าง พร้อมเตรียมทีมสอบสวนคดี แนะประชาชนเลี่ยงพื้นที่เกิดเหตุ 
 
เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2566  พล.ต.ท.อาชยน ไกรทอง โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ  กล่าวว่า จากกรณีเมื่อช่วงค่ำที่ผ่านมา เกิดเหตุสะพานข้ามแยกทรุดตัว บริเวณหน้าโลตัส ลาดกระบัง ถนนหลวงแพ่ง แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง กทม. จนเป็นเหตุมีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บนั้น
 
พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร.ได้สั่งการให้ พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น. พร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจเร่งลงพื้นที่ตรวจสอบ ช่วยเหลือประชาชน อำนวยความสะดวกด้านการจราจร เร่งช่วยเหลือผู้บาดเจ็บและตกค้าง พร้อมเตรียมทีมพนักงานสอบสวนไว้คอยอำนวยความสะดวกด้านคดี การสอบสวนต่างๆ โดยประสานการปฏิบัติกับเจ้าหน้าที่ กทม. เจ้าหน้าที่กู้ภัยและส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
 
ทั้งนี้ ขอความร่วมมือพี่น้องประชาชนหลีกเลี่ยงเส้นทางการจราจรบริเวณดังกล่าว ซึ่งขณะนี้ตำรวจจราจรกลาง และตำรวจทางหลวงได้ขึ้นป้ายประชาสัมพันธ์หลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าวแล้ว และขอให้ประชาชนให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในเรื่องการจราจร เพื่อเร่งช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ และตกค้างบริเวณดังกล่าวซึ่งเป็นภารกิจสำคัญและเร่งด่วน ที่กำลังดำเนินการ

หากมีบุคคลสูญหายจากเกตสะพานลาดกระบังถล่ม โทร.สายด่วน 199

กทม.ประชาสัมพันธ์ช่องทางรับแจ้งบุคคลสูญหาย หรือขาดการติดต่อ หรืออยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง ในช่วงที่เกิดเหตุ #สะพานถล่มลาดกระบัง สามารถติดต่อเพื่อแจ้งคนหายได้ ที่สายด่วน โทร. 199 [เพจอีจัน]

สถานการณ์ สะพานถล่มวันเกิดเหตุ 10 กรกฎาคม 66

10 ก.ค.2566 เวลา 18.08 น.  ทางยกระดับถนนอ่อนนุช-ลาดกระบัง บนถนนหลวงแพ่ง เขตลาดกระบัง ช่วงบริเวณหน้าปั๊มปตท. 

เผยคลิปขณะสะพานถล่ม (สํานักข่าวไทย TNAMCOT) LINK

เผยคลิปขณะสะพานถล่ม (สํานักข่าวไทย TNAMCOT) สะพานลาดกระบังถล่ม คนเจ็บอื้อ มีผู้เสียชีวิต ผู้ว่าสั่งการด่วน
เผยคลิปขณะสะพานถล่ม (สํานักข่าวไทย TNAMCOT) สะพานลาดกระบังถล่ม คนเจ็บอื้อ มีผู้เสียชีวิต ผู้ว่าสั่งการด่วน
สํานักข่าวไทย TNAMCOTเผยคลิปขณะเกิดเหตุคานสะพานโครงการก่อสร้างทางยกระดับลาดกระบัง พังถล่ม เริ่มถล่มตั้งแต่โลตัส ลาดกระบัง ไล่ไปจนถึงช่วงปั๋มปตท. 

ย้อนโพสต์ ดร.เอ้ สุชัชวีร์ เคยเตือน โครงการก่อสร้างนี้ เมื่อปี 65

กรรมกรข่าว โพสต์  ดร.เอ้ สุชัชวีร์ สิงหาคมปีที่แล้ว เคยเตือน โครงการก่อสร้าง ‘สะพานข้าม ถนนอ่อนนุช-หัวตะเข้’ ก่อนเกิดเหตุสะพานข้ามแยกถล่มวันนี้ 
เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 65 ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อดีตนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊คระบุว่า
"กลับบ้านวันศุกร์ ไม่สุข ไม่ปลอดภัย" 
     ผมขอแสดงความเป็นห่วงจากใจ โครงการก่อสร้างสะพานข้าม ถนนอ่อนนุช-หัวตะเข้ เขตลาดกระบัง เห็นปัญหาชัดเจน
     1. เครื่องจักรใหญ่ทำงาน ไม่มีแนวป้องกัน เสี่ยงอุบัติเหตุของหล่น ประชาชนเดือดร้อนทเสี่ยงชีวิต
     2. ถนนยุบจากการก่อสร้าง เสี่ยงอุบัติเหตุ โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ ของเด็กนักศึกษา ห่วงจริงๆ
     3. รถติดสาหัส เพราะก่อสร้างกินพื้นที่ บางช่วงก่อสร้างเสร็จแล้ว ต้อง คืนพื้นที่ให้ประชาชนผู้สัญจรได้
    เพราะอุบัติเหตุจากการก่อสร้างสะพาน เกิดขึ้นบ่อยครั้ง หลายครั้งมีผู้เสียชีวิต มีทรัพย์สินเสียหาย
    ขออย่าให้เกิดที่ใด กับใคร อีกเลยครับ
    เป็นห่วงจริงๆ ครับ”

ภาพความเสียหายจาก เพจกรรมกรข่าว

ภาพความเสียหายจาก เพจกรรมกรข่าว สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว
*ภาพจากกรรมกรข่าว 

ภาพรถถูกทับ ลักษณะแบบแพนเค้ก (ไทยรัฐ) LINK

ภาพรถถูกทับ ลักษณะแบบแพนเค้ก (ไทยรัฐ) สะพานลาดกระบังถล่ม คนเจ็บอื้อ มีผู้เสียชีวิต ผู้ว่าสั่งการด่วน
ภาพรถถูกทับ ลักษณะแบบแพนเค้ก (ไทยรัฐ) สะพานลาดกระบังถล่ม คนเจ็บอื้อ มีผู้เสียชีวิต ผู้ว่าสั่งการด่วน
เจ้าหน้าที่ร่วมกตัญญูรายงานสด ผ่านไทยรัฐ เผยภาพสะพานที่พังถล่มลงมา ทับรถลักษณะแพนเค้ก มีรายงานว่าเห็นผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ 1 ราย บาดเจ็บจำนวนมาก [ไทยรัฐ on Youtube]

The Reporter ย้อนกระทู้สด ส.ก.ลาดกระบัง ความคืบการก่อสร้างเมื่อ มกราคม 66

The Reporter UPDATE: ย้อนกระทู้ถามสด ส.ก.ลาดกระบัง ทวงถามความคืบหน้าการก่อสร้างสะพานยกระดับอ่อนนุช-ลาดกระบังเมื่อมกราคม 66 ตั้งข้อสังเกตไร้ชื่อบุคลากรเขตเป็นผู้คุมงาน พบก่อสร้างช้ากว่ากำหนด วางอุปกรณ์ขวางบนถนน กระทบความปลอดภัยประชาชน  

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากเหตุคานสะพานข้ามแยก บริเวณหน้าโลตัส ลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ที่กำลังทำการก่อสร้าง เกิดการทรุดตัวพังถล่มลงมา เป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บ 13 ราย หากย้อนกลับไปในวันที่ 18 มกราคม 2566  ในการประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยประชุมสามัญ สมัยแรก (ครั้งที่ 3) ประจำปีพุทธศักราช 2566 ณ ห้องประชุมสภากรุงเทพมหานคร อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ดินแดง นายสุรจิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา ส.ก.เขตลาดกระบัง ได้เคยตั้งกระทู้ถามสดไว้  เรื่องความคืบหน้าโครงการก่อสร้างทางยกระดับถนนอ่อนนุช-ลาดกระบัง 
 
นายสุรจิตต์ ระบุว่าตามที่กรุงเทพมหานคร โดยสำนักการโยธาได้ดำเนินโครงการก่อสร้างทางยกระดับถนนอ่อนนุช-ลาดกระบัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การสัญจรมีความรวดเร็วและเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของชุมชน ซึ่งจะเพิ่มศักยภาพและรองรับปริมาณการจราจรบนถนนอ่อนนุช-ลาดกระบัง ระยะเวลาดำเนินการ 900 วัน เริ่มสัญญาวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 และสิ้นสุดสัญญาวันที่ 11 สิงหาคม 2566 ปัจจุบันการก่อสร้างไม่มีความคืบหน้า รวมทั้งมีการตั้งวางวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างบนถนนกีดขวางการจราจร ทำให้การจราจรติดขัดเพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่สัญจรผ่านถนนสายนี้ได้รับความเดือดร้อนและไม่ปลอดภัย
ถนนลาดกระบัง 54 ระยะทาง 600-700 ม. พื้นที่ส่วนหนึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานเขตลาดกระบัง และอีกส่วนอยู่ในความรับผิดชอบของจังหวัดใกล้เคียง โครงการนี้มีวงเงินก่อสร้าง กว่า 1,600 ล้านบาท แต่จะเห็นได้ว่ารายชื่อของผู้ควบคุมงานไม่มีบุคลากรของสำนักงานเขตพื้นที่หรือผู้อำนวยการเขตร่วมเป็นเจ้าหน้าที่โครงการด้วย นอกจากนี้ความก้าวหน้าของโครงการยังช้ากว่าที่กำหนดถึง 45.69% ส่งผลให้เกิดปัญหาการจราจรในพื้นที่ ซึ่งเมื่อลงพื้นที่โครงการจริงพบมีคนงานเพียงไม่กี่คน และคาดว่าจะเสร็จไม่ทันตามสัญญาในวันที่ 16 ธันวาคม 2567 
 
“โครงการนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในสมัยผู้ว่าฯ ชัชชาติ แต่ปัญหานี้ส่งผลกระทบต่อประชาชนคนกรุงเทพมหานคร เราจึงต้องร่วมกันแก้ไขปัญหาจึงขอสอบถามผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับความคืบหน้าโครงการก่อสร้างทางยกระดับถนนอ่อนนุช-ลาดกระบัง และการที่หน่วยงานในพื้นที่ไม่ได้เข้าร่วมในโครงการจะทำให้ปัญหาแก้ไขได้ถูกจุดหรือไม่ มีความคุ้มค่าในการลงทุนอย่างไร” นายสุรจิตต์ กล่าว
 
ในที่ประชุมนายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า สำนักการโยธาและสำนักงานเขต จะนำข้อร้องเรียนไปปรับปรุง เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชน นอกจากนี้จะส่งข้อมูลความก้าวหน้าของโครงการให้สำนักงานเขตประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่รับทราบเป็นระยะ ส่วนการก่อสร้างได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการก่อสร้างเป็นการหล่อแผ่นคอนกรีตจากโรงงานและนำมาติดตั้งในพื้นที่ โดยจะเร่งรัดให้ผู้รับจ้างดำเนินการโดยเร่งด่วน ด้านการจราจรจะกั้นพื้นที่ก่อสร้างเกาะกลางถนนให้เหลือช่องจราจร 2 เลน เพื่อลดปัญหาการจราจร รวมทั้งจะติดตั้งป้ายเตือน ไฟฟ้าส่องสว่าง และขีดสีตีเส้นทางม้าลายให้ชัดเจน ปัญหาฝุ่นจะใช้รถบรรทุกน้ำฉีดพ่นในพื้นที่วัดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และตรวจวัดควันดำเป็นระยะ รวมถึงงดการก่อสร้างที่ทำให้เกิดเสียงดังในช่วงเวลากลางคืน เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนในพื้นที่ให้ได้มากที่สุด
 UPDATE: นายกรัฐมนตรีกำชับหน่วยงานเกี่ยวข้องเร่งดูแลผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตกรณีเหตสะพานข้ามแยกย่านลาดกระบังทรุดตัว แนะทุกหน่วยงานอยู่ระหว่างการก่อสร้างคุมเข้มความปลอดภัย
 
10 ก.ค. 66 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม มีความห่วงใยผู้ประสบเหตุสะพานข้ามแยก บนถนนหลวงแพ่ง  เขตลาดกระบัง เกิดการทรุดตัวและถล่มเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บหลายราย  
 
นายกรัฐมนตรีแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของผู้เสียชีวิต และกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการเร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือเยียวยาครอบครัวผู้เสียชีวิตตามกฎหมาย  และดูแลรักษา เยียวยาผู้ได้รับบาดเจ็บให้เร็วที่สุด  
 
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเหตุการณ์อุบัติเหตุจากการก่อสร้างได้เกิดขึ้นหลายครั้ง ขอให้หน่วยงานเกี่ยวข้องตรวจสอบสาเหตุของอุบัติเหตุโดยละเอียดว่ามีสาเหตุจากอะไร เกิดจากสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ก่อสร้าง หรือความประมาทระหว่างการปฏิบัติงาน หากเกิดจากความประมาทขอให้มีการดำเนินการทางกฎหมายให้ถึงที่สุด  
 
"นายกรัฐมนตรีเห็นว่าได้เกิดเหตุลักษณะนี้แล้วหลายครั้งและทุกครั้งก็เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และคนงาน ขอให้ทุกหน่วยงานที่อยู่ระหว่างดำเนินโครงการก่อสร้างกำชับผู้รับเหมา ผู้ดำเนินโครงการใช้ความระมัดระวัง ปฏิบัติตามมาตรฐานการก่อสร้างอย่างเข้มงวดด้วย" น.ส.ไตรศุลี กล่าว 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด