ภัยออนไลน์ 3 เรื่องใหญ่ ที่ต้องระวัง
ซึ่งจากสถิติพบว่า มี 3 เรื่อง ที่มิจฉาชีพหลอกลวงเอาทรัพย์สินจากประชาชน ได้แก่
1. หลอกลวงให้ร่วมลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์
โดยมิจฉาชีพจะสร้างเพจปลอม ไลน์ปลอม แอบอ้างเป็นบุคคล หรือบริษัทที่มีชื่อเสียง หลอกลวงให้ผู้เสียหายลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ใช้คำพูดที่โน้มน้าวใจและน่าเชื่อถือ อ้างเป็นการลงทุนของผู้สูงวัยใกล้เกษียณอายุราชการ ให้ผลตอบแทนสูง
2. หลอกลวงให้รักแล้วโอนเงิน (Romance Scam)
โดยมิจฉาชีพสร้างโปรไฟล์ที่ดูดี หลอกลวงให้ผู้เสียหายเชื่อใจ ไว้ใจ หรือหลงรัก อ้างว่าอยากมาใช้ชีวิตร่วมกับผู้เสียหาย หลอกว่าจะส่งสิ่งของมาให้ แต่ให้ผู้เสียหายจ่ายค่าขนส่ง ค่าภาษีก่อน เป็นต้น
3. หลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันเพื่อควบคุมโทรศัพท์มือถือ
โดยมิจฉาชีพจะโทรศัพท์ไปยังผู้เสียหายที่เป็นวัยเกษียณ แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่จากกรมบัญชีกลาง หรือหน่วยงานต่างๆ แจ้งว่าจะได้รับเงินประกันบำนาญ ให้ทำการอัปเดตข้อมูลและหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอม จนสามารถโอนเงินออกไปได้
.
ข้อควรระวัง
- ระมัดระวังการชักชวนจากคนที่เพิ่งรู้จัก มาชวนให้ลงทุน โดยอ้างผลกำไรที่สูง
- หลีกเลี่ยงการลงทุนหรือข้อเสนอที่เกินกว่าจะเป็นไปได้
- ระวังการกดลิงก์ที่แนบมากับข้อความสั้น (SMS)
- ระวังการรับสายจากเบอร์ที่ไม่รู้จัก โดยแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ
- ไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวกับบุคคลอื่น ไม่กรอก หรือเปิดเผยข้อมูลบนสื่อออนไลน์
- ให้ทำการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันจาก App Store หรือ Play Store เพราะมีความปลอดภัยมากกว่า
จำไว้ให้มั่น ท่องให้ขึ้นใจ
❌ไม่เชื่อ ❌ไม่รีบ ❌ไม่โอน
.
วิธีสังเกตโฆษณาปลอมหลอกลงทุน
ปัจจุบันมักจะมีข่าวหลอกลงทุนหลากหลายรูปแบบ และมีคนสูญเงินไปไม่น้อยมิจฉาชีพมักจะมีข้อเสนอจูงใจชวนให้ร่วมลงทุน รวยเร็ว รวยจริง โดยสร้างโปรไฟล์เป็น CEO เจ้าของธุรกิจ โพสต์ภาพอวดความร่ำรวยให้คนหลงเชื่อ
วิธีสังเกตโฆษณาปลอมหลอกลงทุน
1. แอบอ้างชื่อ ภาพ โลโก้หน่วยงาน บริษัท หรือบุคคลที่มีชื่อเสียงและน่าเชื่อถือในการโฆษณาชวนเชื่อ
2. เสนออัตราผลตอบแทนการลงทุนที่จูงใจและสูงเกินจริง ที่มาของผลตอบแทนไม่ชัดเจน
3. ช่องทางการติดต่อส่วนใหญ่เป็นการคลิกเข้าสู่แชท messenger ไม่มีแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออย่างชัดเจน
หากพบเห็นโฆษณาปลอมหลอกลงทุน อย่าคลิก อย่าแชร์ ช่วยกันกด report ปิดกั้นการมองเห็นโฆษณาเหล่านั้น
ปรึกษาสอบถามโทร 1441 หรือ 081-866-3000
Line:@police1441 แชทบอทกับหมวดขวัญดาว ตลอด 24 ชั่วโมง
ด้วยความห่วงใย จากตำรวจไซเบอร์ "ตำรวจไซเบอร์ ให้ความรู้ รู้ทันความคิดมิจฉาชีพ"
ติดต่อตำรวจ PCT
มีปัญหาถูกหลอก ต้องรีบติดต่อตำรวจโดยเร็ว ติดต่อพี่ๆ ตำรวจ PCT POLICE ที่ทางช่องทางเหล่านี้
สแกน QR code อย่างไรให้ปลอดภัย
การใช้ชีวิตแบบสแกน QR code ไม่ว่าจะจ่ายเงิน อ่านข้อมูลต่าง ๆ หรือลงทะเบียนรับสิทธิใด ๆ ก็มักจะพบเห็นได้ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สะดวกมากขึ้น แต่ใครหลายคนก็มักจะละเลย ไม่ตรวจเช็กให้ถี่ถ้วนก่อนทำการสแกน เพราะมิจฉาชีพก็สามารถทำ QR code ปลอมขึ้นมาหลอกเอาเงิน หรือข้อมูลส่วนตัวได้ง่าย ๆ เช่นกัน
????ดังนั้น
✅ทุกการสแกนจะต้องตรวจสอบชื่อผู้รับโอนและยอดเงินทุกครั้ง
✅ถ้าจะจ่ายหรือโอนเงินให้หน่วยงาน เช่น มูลนิธิ ราชการ ชื่อผู้รับควรเป็นชื่อหน่วยงานนั้นโดยตรง หากสแกนแล้วเป็นชื่อบุคคล ควรตรวจสอบหรือโทรถามให้แน่ใจก่อนกดโอน
✅หากสแกนเพื่อจุดประสงค์อื่น เช่น เพื่ออ่านข้อมูลเพิ่มเติม หรือรับสิทธิพิเศษต่าง ๆ เมื่อสแกนแล้ว ต้องสังเกตลิงก์ URL ว่าถูกต้องและปลอดภัยหรือไม่ ขั้นตอนนี้มิจฉาชีพจะ “ยัง” ไม่สามารถดูดเงินในบัญชีเราออกไป
✅ถ้าไม่แน่ใจอย่าคลิกต่อ
‼️ทั้งนี้ ลิงก์ URL ของมิจฉาชีพมักเป็นเว็บไซต์ธนาคาร “ปลอม” หลอกให้กรอกชื่อผู้ใช้/รหัสผ่าน หรือเป็นเว็บไซต์หลอกให้ดาวน์โหลดมัลแวร์ต่าง ๆ ซึ่งหากเราเผลอกรอกข้อมูลสำคัญ หรือกดดาวน์โหลด จะโดนดูดเงินในบัญชีออกไปได้
ฉลาดโอน.com ChaladOhn.com ศูนย์ช่วยเหลือประชาชน LINK
ChaladOhn.com โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ร่วมกับ กองกำกับการสืบสวน กองบังคับการตำรวจนครบาล 8 สนับสนุนโดยกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ
ศูนย์ช่วยเหลือประชาชน ติดต่อผ่านไลน์ @chaladohn เพื่อขอความช่วยเหลือ ขอคำปรึกษาได้ตลอดเวลา
ติดต่อตำรวจ PCT POLICE ช่องทางใหม่ Line VOOM LINK
ช่องทางสื่อสารข่าวสารเตือนภัยออนไลน์ จาก พี่ๆ ตำรวจ PCT POLICE มาช่วยให้พวกเราทุกคนรู้ทันกลโกงมิจฉาชีพ
• ปรึกษาสอบถามโทร 1441 หรือ 081-866-3000
• แจ้งความออนไลน์ www.thaipoliceonline.com
• Line:@police1441 แชทบอทกับหมวดขวัญดาว ตลอด 24 ชั่วโมง
ด้วยความห่วงใย จากตำรวจไซเบอร์ "ตำรวจไซเบอร์ ให้ความรู้ รู้ทันความคิดมิจฉาชีพ"